Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home โครงการสร้างนักอ่าน

เริ่มต้นโครงการสร้างนักอ่าน

โครงการสร้างสังคมแห่งการอ่าน ที่สมาคมฯ ดำเนินงานร่วมกับ เทศบาลนครขอนแก่น ได้สิ้นสุดลง ตั้งแต่วันที่ ๓๑ กันยายน ๒๕๕๖ โดยสำนักงานได้ส่งมอบกิจกรรมทั้งหมดต่อเทศบาลนครขอนแก่น กล่าวคือ ห้องสมุดเด็กสวนดอกคูน ห้องสมุดเด็กสวนรัชดานุสรณ์ ห้องสมุดเด็กไท จำนวน ๘ หลัง และโครงการพัฒนาห้องสมุดเด็กในโรงเรียนเทศบาลนครขอนแก่น ๔ โรง ซึ่งเทศบาลนครขอนแก่น ได้รับไปดำเนินงานเองจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น สมาคมฯยังได้มอบรถหนังสือพ่วงข้างให้แก่เทศบาลนครขอนแก่น จำนวน ๒ คัน เพื่อใช้ในกิจกรรมโครงการฯ

สำนักงานฯ ทำการทบทวนสรุปบทเรียนการทำงานด้านการพัฒนาเด็กด้วยการอ่าน ที่ดำเนินงานมาตั้งแต่ พ.ศ ๒๕๔๓ นั้น ซึ่งมีผลงานเชิงรูปธรรมคือ ห้องสมุดเด็กจำนวน ๒๘ แห่ง ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้  ห้องสมุดเด็กไท ๑๒ แห่ง โครงการพัฒนาเด็กด้วยการอ่านในพื้นที่ ๑๔๐ ชุมชน ห้องสมุดโรงเรียนกว่า ๑๐ แห่ง รถห้องสมุดเคลื่อนที่ จำนวน ๒ คัน และรถนิทานพ่วงข้าง ๖ คัน นอกเหนือจากการคัดกรองหนังสือ การรณรงค์การพัฒนาเด็กด้วยการอ่าน การจัดทำสิ่งพิมพ์ และดำเนินงานมอบหนังสือให้แก่สถานศึกษามากกว่า ๖๐๐ โรง ร่วมกับ ภาค ๓๓๔๐ สโมสรโรตารีสากล มาตั้งแต่ พ.ศ ๒๕๔๙

อาจกล่าวได้ว่าการดำเนินงานทั้งมวลตามภาระกิจดังกล่าว ประสบความสำเร็จในหลายมิติ ทั้งการสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของการส่งเสริมกิจกรรมการอ่านในเด็ก การสร้างความรู้ด้านหนังสือสำหรับเด็ก และการใช้กิจกรรมการอ่านเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การริเริ่มงานด้านการพัฒนาเด็กด้วยการอ่านของสมาคมฯ จึงส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง กระทั่งบุคคล และองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวนมาก ได้นำวิธีการและแนวทางดังกล่าวไปพัฒนาและดำเนินงานดังเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์ในภาพรวมแล้วพบว่า  แม้สังคมโดยรวมจะเคลื่อนไหวตอบรับแนวทางดังกล่าวอย่างกว้างขวาง แต่กลับพบว่าสามารถจับต้อง “ผลผลิต” เชิงความสำเร็จของเด็กจากกิจกรรมการอ่านได้เพียงเล็กน้อย และหากพิจารณาเฉพาะพื้นที่ “ห้องสมุดเด็ก” ที่สมาคมฯร่วมก่อตั้งและดำเนินงานนั้น ก็พบเพียงหนึ่งหรือสองแห่งที่ มีเด็กจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จทางการศึกษาอย่างชัดเจน กล่าวคือ สามารถเรียนรู้ในระบบโรงเรียนได้เป็นอย่างดี และมีความก้าวหน้าอย่างต่่อเนื่อง กระทั่งกลายเป็นทรัพยากรบุคคลของสังคมในท้ายที่สุด

จึงอาจกล่าวได้ว่า การดำเนินงานด้านการพัฒนาเด็กด้วยการอ่าน ทั้งที่สมาคมฯ เกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อม ส่วนใหญ่ สร้างรูปธรรมได้เพียงในมิติของการ“ส่งเสริมการอ่าน” ในฐานะกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ มิได้เกิดความสำเร็จทางการอ่านในแต่ละระดับขั้นอย่างเป็นรูปธรรม

ดังนั้นคณะทำงานจึงได้ออกแบบกิจกรรมการพัฒนาเด็กด้วยการอ่านขึ้นใหม่ โดยใช้กิจกรรม “อ่านให้ฟังอย่างต่อเนื่อง” เป็นแกนกลาง โดยกำกับให้เกิดการปฏิบัติการ

  1. การอ่านให้ฟังตามกำหนด
  2. อ่านให้ฟังในปริมาณที่เพียงพอ
  3. อ่านให้ฟังอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง

โดยกำหนดให้เด็กแต่ละคนได้ฟังอย่างต่ำ ๑,๐๐๐ ครั้ง

โครงการนำหนังสือสู่มือน้อง เริ่มดำเนินงาน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๗  ในพื้นที่ชุมชนชาวเขา พื้นที่ภาคเหนือ ๓ หมู่บ้าน กล่าวคือread2k.jpg

  1. บ้านแม่ฮ่าง(ชาวปกากะญอ) และบ้านห้วยจอน(ชาวอาข่า) ตำบลนาแก อำเภองาว จังหวัดลำปาง
  2. บ้านปางปูเลาะ ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา

โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสโมสรโรตารี Rotary Club of KOSHER ประเทศญี่ปุ่น จำนวน ๑๘๐,๐๐๐ บาท และ The Rotary Foundation รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท

ในการดำเนินงานระยะศึกษาทดลองนี้ โครงการฯได้จัดจ้าง “ผู้นำการอ่าน” หมู่บ้านละ ๑ คน ให้ทำหน้าที่อ่านหนังสือให้เด็กอายุ ๒-๔ ขวบหมู่บ้านละ ๑๕ คน รวม ๔๕ คน ฟังเป็นประจำ ต่อมาพัฒนาเป็น “เยาวชนนักอ่าน”  (ติดตามการทำงานได้ได้ที่ http://read2kids.taiwisdom.org )