Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home อาหารกับเด็ก ของขวัญมีพิษ

ของขวัญมีพิษ

ของขวัญมีพิษ
คัดจาก กรุงเทพธุรกิจ ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ 8876 วันพฤหัสบดีที่ 10 มากราคม 2556 จุดประกาย "ของขวัญมีพิษ" อ่านฉบับเต็มที่ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20130110/485051/ของขวัญมีพิษ.html
ของขวัญมีพิษ

ของขวัญมีพิษ

รู้ทั้งรู้ว่า หวานไม่ดีต่อสุขภาพเด็ก แต่ทำไมผู้ใหญ่ชอบตามใจเด็ก เพราะมันเป็นเรื่องง่ายในการดูแล แต่ความง่ายนี่แหละ คือ พิษร้าย...


  • “ลูกอม” ขย่มฟันเด็ก

“การแจกลูกอมในงานวันเด็กไม่ใช่เรื่องดีเลย” คือทัศนะของคณะทำงานแผนงานรณรงค์เพื่อเด็กไทยไม่กินหวาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ด้วยเหตุนี้คณะทำงานดังกล่าวจึงออกมารณรงค์ให้ผู้ใหญ่ใจดีทั้งหลาย หยุดแจก หยุดให้ หยุดใจดี หากคิดจะนำลูกอม รวมทั้งขนมขบเคี้ยวที่มีรสหวานไปแจกในงานวันเด็กเพราะผลกระทบที่จะตามมานั้นมีมากมาย

jantana.jpgทญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ ตัวแทนเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน บอกว่า ลูกอม เป็นน้ำตาลร้อยเปอร์เซ็นต์ และเป็นน้ำตาลค้างอยู่ในปากได้นาน ในแง่ของหมอฟันจะกลัวที่สุด เพราะเป็นสาเหตุของการเกิดฟันผุโดยตรง ในแง่ของหมอทั่วไปจะกลัว เพราะคือก้อนน้ำตาล กินมากๆ จะทำให้อ้วนได้ เพราะฉะนั้นทางเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน จึงสนใจ "ลูกอม" เป็นพิเศษ

จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย พ.ศ. 2551-2552 โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข สำรวจเด็กอายุ 1-14 ปี รวม 9,740 คน พบว่า เด็กไทยอายุ 3 ปี ฟันผุร้อยละ 61.37 โดยฟันผุเฉลี่ย 3.21 ซี่ต่อคน และเด็กอายุ 5 ปี มีฟันผุเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 80.64 เฉลี่ย 5.43 ซี่ต่อคน จากการสำรวจนี้ยังพบด้วยว่า เด็กชนบทมีฟันผุมากกว่าเด็กในเมือง นอกจากนี้จากการสำรวจเดียวกันยังพบด้วยว่า เด็กไทยกินขนมกรุบกรอบทุกวันประมาณร้อยละ 30 และกินบางวันร้อยละ 42% ส่วนลูกอมมีเด็กกินทุกวันร้อยละ 15-20 และกินบางวันร้อยละ 42

เมื่อเปรียบเทียบการกินลูกอมและขนมกรุบกรอบจากการสำรวจเดียวกันเมื่อปี 2546 กับการสำรวจปี 2551-2552 ในเด็ก 6-14 ปี พบว่า เมื่อปี 2546 เด็กกินขนมกรุบกรอบทุกวัน 12% แสดงว่าเพิ่มจาก 12% ไปเป็น 30% (ในปี 2551-52) หรือเพิ่มขึ้น 2.3 ขณะที่เด็กกินลูกอมทุกวัน 10.3% เมื่อปี 2546 แสดงว่าเพิ่มจาก 10.3% ไปเป็น 20% (ในปี 2551-52) หรือเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว

ขณะเดียวกันข้อมูลการสำรวจจากเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ยังพบว่า เด็กเริ่มกินขนมตั้งแต่ 8.5 เดือน พ่อแม่และคนเลี้ยงดูซื้อขนมกรุบกรอบให้เด็กกิน เพื่อตัดปัญหาเด็กร้องงอแง ขนมกรุบกรอบ มักจะมี ไขมัน และโซเดียม เกินค่ามาตรฐานอาหารว่างที่แนะนำ บางชนิดที่มีรสหวาน ก็จะมีน้ำตาลเกิน

“ฟันผุไม่ใช่แค่ผุที่ฟันอย่างเดียว แต่ฟันผุทำให้เตี้ยได้ เหตุที่เตี้ยหรือที่เรียกว่า “ภาวะขาดสารอาหารเรื้อรัง” เพราะเขาเคี้ยวอะไรที่ไม่มีประโยชน์ เด็กจึงขาดสารอาหาร คนเราจะสูงได้ต้องได้สารอาหารครบถ้วน กินเนื้อได้กินผักได้ เมื่อไม่มีฟันก็เคี้ยวลำบาก ดังนั้น “ฟันดีเริ่มที่ซี่แรก” จึงเป็นจริง เพราะฟันจะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กทั้งหมด” หมอจันทนา ให้ความรู้

“ฟันผุไม่ใช่แค่ผุที่ฟันอย่างเดียว แต่ฟันผุทำให้เตี้ยได้ เหตุที่เตี้ยหรือที่เรียกว่า “ภาวะขาดสารอาหารเรื้อรัง” เพราะเขาเคี้ยวอะไรที่ไม่มีประโยชน์ เด็กจึงขาดสารอาหาร คนเราจะสูงได้ต้องได้สารอาหารครบถ้วน กินเนื้อได้กินผักได้ เมื่อไม่มีฟันก็เคี้ยวลำบาก ดังนั้น “ฟันดีเริ่มที่ซี่แรก” จึงเป็นจริง เพราะฟันจะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กทั้งหมด” หมอจันทนา ให้ความรู้

สำหรับพ่อแม่ในยุคปัจจุบันแล้ว ความรู้เหล่านี้ไม่ใช่สิ่งใหม่ ทุกคนทราบดีว่าน้ำตาลส่งผลเสียต่อฟันของลูกมากเพียงใด แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลของความเคยชิน ด้วยสิ่งที่เรียกว่าคิดไปเอง หรือเพื่อให้ลูกหยุดงอแง ลูกอมและขนมหวานจึงถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการเลี้ยงลูกอยู่เสมอๆ

ข้อเท็จจริงแล้ว ผู้ใหญ่คิดไปเอง ว่าเด็กชอบกินหวาน โดยดูจากกลไกการตอบสนองผ่านหน้าตาของเด็ก ซึ่งจะมีความสุขฉายออกมาทุกครั้งเมื่อกินหวาน แต่ในทางทฤษฏีการเรียนรู้แล้ว พบว่าเด็กจะไม่รู้เลย ว่า รสหวาน เผ็ด เค็ม เป็นอย่างไร รู้เพียงแค่ว่า นี่คืออาหาร เมื่อได้รับอาหาร เด็กจะแสดงออกว่ายินดี อย่างไรก็ตามก็ไม่มีผู้ใหญ่คนไหนที่จะนำอาหารเค็มจัด เผ็ดจัด ไปป้อน สุดท้ายก็เหลือแต่รสหวานที่ป้อนใส่ปากเด็ก รสชาตินี้จึงติดตัวไปจนโต

คำแรกของการกินจึงเป็นตัวกำหนด ว่ารสนิยมการกินของคนๆ นั้นเป็นอย่างไร

หมอจันทนา ยังอธิบายด้วยว่า บนลิ้นของมนุษย์ทุกคนจะมีต่อมรับรสหวาน เค็ม เปรี้ยว เผ็ด ซึ่งพัฒนาการของต่อมรับรส พบว่า รสหวานจะพัฒนาก่อนต่อมอื่นๆ ทั้งหมด ฉะนั้นทันทีที่ทารกคลอดออกมา ต่อมรับรสหวานได้รับการพัฒนาแล้ว ถ้าให้ทารกกินรสหวาน เขาจะรับรสได้ทันที สีหน้ามีความสุข นี่เป็นกลไกการพัฒนาการรับรสของมนุษย์ เพื่อรองรับนมแม่ เพราะจริงๆ แล้วนมแม่ก็มีรสหวานเล็กน้อย

  • ฟันผุซี่แรกกระทบถึงฟันซี่ล่าง

หากความหวานเป็นอันตรายต่อลูกน้อย ลูกอมน่าจะเป็นวัตถุแปลกปลอมที่ทำให้ฟันลูกน้อยหมดปากได้ ในเมื่อลูกอมเป็นน้ำตาล เด็กเล็กอมแล้วติด ก็จะอมเรื่อยไปๆ โอกาสฟันผุจึงมากกว่า แม้ว่าในความเป็นจริง คนทุกวัยถ้าติดลูกอม ล้วนส่งผลกระทบต่อฟันทั้งสิ้นตราบใดที่เป็นฟันธรรมชาติ-ก็ตาม

ทพ.ดร.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล อาจารย์ภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ฟันผุกับน้ำตาลจะขึ้นกับความถี่ หรือความบ่อย3.JPGในการกินน้ำตาล โดยการกินน้ำตาลหนึ่งครั้งจะเกิดกรดที่ทำลายฟันนาน 40 นาที จากนั้นจะกลับสู่สภาพปกติได้ตามธรรมชาติ ดังนั้นการกินบ่อยๆ เช่นการกินทุกชั่วโมง จะทำให้ฟันแช่อยู่ในกรดตลอดเวลา ทำให้ฟันผุเกิดขึ้นได้รวดเร็วและรุนแรง แต่อย่างไรก็ตาม ไม่กินลูกอมเลยจะดีกว่า ไม่ควรเริ่มให้เด็กกินหวานตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะจะทำให้ติดรสหวาน

จากประสบการณ์ของหมอฟันทุกคนล้วนเคยเจอเด็กที่มีฟันน้ำนมผุหมดปาก ซึ่งสาเหตุมาจากการเลี้ยงลูกแบบตามใจ และอีกสาเหตุเป็นประเด็นความเชื่อ ว่าฟันน้ำนมผุไม่เป็นไร อีกไม่นานฟันแท้ก็ขึ้น แต่หารู้ไม่ว่าถ้าปล่อยฟันน้ำนมผุ เด็กจะไม่ยอมเคี้ยวอะไร ไม่ยอมกินอาหารที่เป็นประโยชน์ แต่ถึงอย่างไรก็หิว เมื่อหิวก็จะยิ่งอมน้ำตาลมากขึ้น ฟันก็ยิ่งผุ และไม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์เข้าสู่ร่างกายเลย เด็กจึงผอม แกรน ไม่โต

ขณะเดียวกันเมื่อฟันน้ำนมผุจะส่งผลต่อฟันแท้โดยตรง เพราะหน่อของฟันแท้อยู่ด้านล่างของฟันน้ำนม หากฟันน้ำนมผุ จะเกิดการอักเสบ เป็นหนอง ลงไปถึงฟันแท้ด้านล่าง ทำให้ฟันแท้เจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ฟันน้ำนมผุยังทำให้ฟันแท้ขึ้นระเกะระกะ เป็นฟันเก เพราะฟันน้ำนมเป็นตัวเก็บที่ให้ฟันแท้ หรือจองที่ให้ฟันแท้ขึ้นได้ตรงตำแหน่งนั่นเอง

ฟันผุกับน้ำตาลจะขึ้นกับความถี่ หรือความบ่อยในการกินน้ำตาล โดยการกินน้ำตาลหนึ่งครั้งจะเกิดกรดที่ทำลายฟันนาน 40 นาที จากนั้นจะกลับสู่สภาพปกติได้ตามธรรมชาติ ดังนั้นการกินบ่อยๆ เช่นการกินทุกชั่วโมง จะทำให้ฟันแช่อยู่ในกรดตลอดเวลา ทำให้ฟันผุเกิดขึ้นได้รวดเร็วและรุนแรง แต่อย่างไรก็ตาม ไม่กินลูกอมเลยจะดีกว่า ไม่ควรเริ่มให้เด็กกินหวานตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะจะทำให้ติดรสหวาน
  • พ่อแม่ฝึกได้ ให้เด็กไม่รักหวาน

“ความหวานฝึกทานกันได้” อาจารย์หมอธงชัย ยืนยัน “อย่าเติมน้ำตาลลงในนมผง หากจะกินนมอื่นๆ ก็เลือกกินนมจืด พออายุครบหนึ่งขวบ ควรฝึกให้เขากินอาหารธรรมชาติ ไม่ใส่น้ำหวานในเครื่องดื่มของเด็กทุกประเภท”

สอดคล้องกับคำแนะนำของ หมอจันทนา ที่ว่าข้อปฏิบัติของพ่อแม่มีเพียงแค่สองประการเท่านั้น คือแปรงฟันให้ลูกวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน ข้อที่สองคือควบคุมการกินหวาน ถ้าเป็นเด็กเล็ก อย่าเลี้ยงลูกด้วยนมหวาน เลิกนมขวดให้เร็ว และห้ามเอาของหวานใส่ขวด ไม่ว่าจะเป็นนมหวาน น้ำผลไม้หวาน หรือน้ำอัดลม

“อยากแนะนำว่าเดี๋ยวนี้เลี้ยงเด็กไม่ต้องใช้ขวดนม กินนมแม่ไปเลย หลังจากนั้นฝึกดื่ม แล้วให้ กินเป็นเวลา” เป็นคำแนะนำของหมอฟันอีกคนหนึ่งอย่าง ทญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะผู้จัดการแผนงานรณรงค์เพื่อเด็กไทยไม่กินหวาน

อย่างไรก็ตาม หากพ่อแม่ฝึกลูกจนเคยชิน ไม่ชอบหวานอย่างที่ตั้งใจไว้ แต่เมื่อถึงวัยต้องศึกษาหาความรู้ในโรงเรียน โอกาสที่ลูกจะชอบลูกอม ขนมหวาน ก็มีความเป็นไปได้สูง เหตุนี้เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน จึงพยายามรณรงค์อย่างเต็มที่ในการป้องกันไม่ให้เด็กกินหวานมากเกินไป

ทญ.ปิยะดา อธิบายการทำงานว่า ใช้การทำงานระบบเครือข่าย ผ่านคนทำงานในพื้นที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข ให้คำแนะนำ ซึ่งตลอดเวลา 10 ปีที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ พบว่า มีโรงเรียนในเครือข่ายไม่มากนักที่ยังขายลูกอม หรือขนมหวานอยู่ แต่ช่วงหลังเริ่มนำลูกอมและทอฟฟี่มาขายมากขึ้น จึงต้องเริ่มรณรงค์ใหม่อีกครั้ง อย่างงานวันเด็กนี้ไม่ควรแจกลูกอมและขนมในงาน

“บางคนคิดว่าแม้ในโรงเรียน เด็กๆ จะไม่มีโอกาสกินลูกอม แต่พอกลับมาถึงบ้าน พ่อแม่ก็ซื้อให้เด็กกินอยู่ดี เรื่องนี้เป็นช่วงเวลา คือถ้าเขากินที่โรงเรียน และกินที่บ้านด้วย เด็กก็จะได้รับน้ำตาลหลายเท่า แต่ถ้าโรงเรียนหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ไม่แจกหรือไม่ให้กินเลย จนถึง 3-4 โมงเย็น กลับถึงบ้านก็อยู่กับพ่อแม่อีก 4-5 ชั่วโมง ดังนั้นโอกาสที่เด็กจะเรียกร้องหาลูกอมก็จะน้อยลง” หมอปิยะดา บอกและตั้งข้อสังเกตว่า “ทุกวันนี้พ่อแม่ ก็รู้ถึงพิษภัยของลูกอมบ้างแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะทนการรบเร้าจากเด็กได้มากน้อยแค่ไหน”