Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home ข้อคิดสำหรับพ่อแม่ นิทานเสริมความฉลาดให้ลูกรัก

นิทานเสริมความฉลาดให้ลูกรัก

คัดจาก สรุปการดำเนินงาน ห้องสมุดเด็กและครอบครัว เรียบเรียงโดย เรืองพิลาศ ธรรมวิเศษ

เมื่อเด็กมีพื้นฐานจิตใจที่ดี ส่งผลให้พร้อมจะเรียนรู้โลกกว้างด้วยจิตใจที่ร่าเริงเบิกบานสนุกสนาน หนังสือไม่เพียงเป็นเครื่องมือสร้างความอบอุ่นในครอบครัว  หากเนื้อหาในหนังสือประกอบกับคำอธิบายEinsteinNeverUsedFlashCards.jpgพิ่มเติมของผู้ใหญ่ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ให้เด็กเป็นอย่างดี

หนังสือ Einstein Never Used Flash Cards เขียนโดย ดร.สามท่าน ที่มีประสบการณ์และได้รับการยอมรับในงานด้านการเสริมสร้างสติปัญญาของเด็ก ได้แก่ Dr. Kathy Hirsh-Pasek, Dr. Roberta Michnick Golinkoff และ Dr. Diane Eyer

"ปัญญาของเด็ก เกิดจากเรื่องราวในชีวิตประจำวันของเด็ก" ประโยคง่ายๆ นี้เป็นข้อสรุปของนักวิทยาศาสตร์สามคนที่ศึกษาเรื่องการเรียนรู้ของเด็กและได้เขียนหนังสือเล่มนี้ออกมา

เรื่องหนึ่งที่หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงและให้ความสำคัญว่าเป็น "เรื่องราวปกติในชีวิต" ที่จะพัฒนาปัญญาของเด็ก ก็คือการพูดคุยกับเด็กธรรมดาๆ นี่เอง ซึ่งอาจจะรวมการเล่านิทานเอาไว้ด้วย พวกเขากล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่าแบบทดสอบไอคิวส่วนใหญ่แล้วก็คือการตรวจสอบความร่ำรวยมากน้อยของคำศัพท์ที่เด็กมีใช้อยู่นั้นเอง คำศัพท์ทำให้โลกของเด็กกว้างใหญ่ขึ้นและร่ำรวยขึ้นและหนทางที่จะเพิ่มพูนคำศัพท์นั้นมาก็โดยผ่านการพูดคุยระหว่างเด็กกับคนอื่นๆในครอบครัว

มีนักจิตวิทยากลุ่มหนึ่งได้คิดแบบทดสอบสำหรับวัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศภายในบ้านว่าเกื้อกูลต่อการก่อเกิดปัญญาของเด็กเพียงใดหรือไม่โดยเรียกแบบทดสอบนี้ว่า HOME ชื่อเต็มว่า Home Observation for the Measurement of Environment แบบทดสอบนี้ถ้าได้คะแนนต่ำ แสดงว่าสิ่งแวดล้อมภายในบ้านหลังนั้นอาจจะมีส่วนลดทอนไอคิวเด็กได้ถึง 15-20 แต้ม ส่วนคะแนนสูงย่อมมีส่วนเสริมสร้างปัญญาให้แก่เด็กอย่างแน่นอน แบบทดสอบนี้จะรวบรวมข้อมูลจากคุณภาพชีวิตของเด็กภายในบ้าน โดยวิธีสังเกตการณ์และสัมภาษณ์พ่อแม่ คะแนนที่ได้จะเกี่ยวกับว่ามีความเอาใจใส่ดูแล การให้กำลังใจ และการเข้าร่วมกับเด็กจากผู้ใหญ่ขนาดไหน? พวกเขายอมรับเด็ก ไว้วางใจเด็กขนาดไหน? เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญในการเสริมสร้างปัญญาของเด็ก

AlbertEinstein.jpg

ผลจากการเล่านิทานอ่านหนังสือให้เด็กฟังโดยใช้หนังสือภาพที่ดี เด็กๆได้รับอะไรมากกว่าความสนุกสนานและความอบอุ่นจากผู้ใหญ่ เรื่องราวและภาพประกอบที่น่าสนใจดึงดูดให้เด็กมีสมาธิที่จดจ่อกับหนังสือ เด็กจะมีสมาธิยาวขึ้น คำศัพท์มากมายจากนิทานถูกเก็บไว้ในคลังสมองของเด็ก ทำให้เด็กมีพื้นฐานภาษาที่เข้มแข็ง เมื่อเด็กๆคุ้นเคยกับการใช้สัญลักษณ์จากหนังสือภาพ สัญลักษณ์ในจินตนาการนี้จะช่วยให้เด็กเรียนภาษาและคณิตศาสตร์ได้ดี สามารถแทนค่าตัวเลขได้อย่างเข้าใจ  สิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานที่ทำให้เด็กประสบความสำเร็จทางการศึกษาในอนาคต

แม้แต่เรื่องราวนามธรรมเช่น ความรัก ความเหงา ความโศกเศร้า ซึ่งยากที่จะอธิบายให้เด็กๆเข้าใจได้ชัดเจน เรื่องราวในนิทานกลับสามารถอธิบาย สื่อให้เด็กเข้าใจได้  เพราะแม้ว่าเด็กๆจะไม่อาจสัมผัสจับต้องความเป็นนามธรรม แต่พวกเขาสามารถรู้สึกได้ ภาพประกอบที่ดีช่วยเพิ่มอรรถรสของเนื้อเรื่องให้มีสีสัน เด็กจะซึมซับศิลปะที่งดงามและสร้างสรรค์  ส่งผลให้มีรสนิยมทางศิลปะที่ดี  มีสุนทรีย์ในชีวิต

โลกของหนังสือและนิทาน โลกของหนังสือภาพสำหรับเด็กส่วนใหญ่เป็นเรื่องในจินตนาการของผู้เขียน โดยเอาแง่มุมความสนใจของเด็กเข้ามาใส่เพราะฉะนั้นการที่เราเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสกับโลกของจินตนาการมากๆ มันเป็นการขยายขอบข่ายของจินตนาการออกไปส่งผลถึงการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต

ไอน์สไตน์เจ้าของประโยคเด็ดที่ว่า “จินตนาการสำคัญมากกว่าความรู้ เพราะว่าจินตนาการนั้นไม่มีขีดจำกัด” เขาใช้จินตนาการขบคิดปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เขาสร้างเกมคำถามในจินตนาการอย่างเช่น จะเกิดอะไรขึ้นถ้าขึ้นขี่แสงอาทิตย์แล้วเดินทางไกลออกไปสุดจักรวาล? ถ้าเดินทางด้วยความเร็วของแสงไปจากใครสักคนเราจะหายตัวได้ไหม? แสงโค้งได้หรือเปล่า และถ้าโค้งได้จะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เห็นมันอยู่แห่งหนตำบลใด?   คำถามในจินตนาการเหล่านี้นำมาซึ่งการค้นพบทางวิทยาศาสตร์อันน่าอัศจรรย์ใจ

isaac_newton_hd.jpg

ผู้คนทราบว่า ไอแซค นิวตัน ผู้ค้นพบทฤษฎีแรงโน้มถ่วงได้แรงบันดาลใจจากลูกแอปเปิ้ลตกลงบนศีรษะ ตำนานเรื่องนี้เกือบถูกแต่ไม่ถูกทั้งหมด

ตามคำบอกเล่าของนิวตันเอง เขาเริ่มคิดทฤษฎีนี้เมื่อเขาเห็นแอปเปิ้ลตกลงมา(ไม่ใช่บนหัวของเขา!) พร้อมๆกับเห็นพระจันทร์อยู่บนท้องฟ้า คำถามแบบเด็กผุดขึ้นในหัวของเขาว่า “ทำไมแอปเปิ้ลตกลงมา?” และที่สำคัญกว่านั้นคือ “ทำไมพระจันทร์ไม่ตกลงมา?” “กฎเกณฑ์เดียวกันที่ทำให้แอปเปิ้ลตกลงมาจะประยุกต์ใช้กับพระจันทร์ได้ไหม”

การค้นคิดโดยเชื่อมโยงชะตากรรมของ “ลูกกลมๆ” ที่ต่างกันมากๆเป็นการจุดประกายความคิดเชิงสร้างสรรค์ของนิวตันและนำไปสู่การพัฒนาทฤษฎีของเขาซึ่งยังคงเป็นแก่นแกนของวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ส่วนใหญ่จนถึงทุกวันนี้

ตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นบอกถึงความคิดสร้างสรรค์ที่ได้จากจินตนาการเด็กที่มีจินตนาการก็เช่นกัน เขาสามารถคาดการณ์ข้างหน้าได้ จินตนาการหรือว่ามองภาพต่างๆออกมาอย่างชัดเจน และสามารถวางแผนการอย่างเป็นระบบ  ปกติเมื่อเราคิดแก้ไขปัญหาอะไรก็ตาม ส่วนมากเราจะใช้ความสามารถในการจินตนาการว่าเราจะดำเนินการหรือว่าจัดการกระบวนในการแก้ไขปัญหาอย่างไร ซึ่งศักยภาพตรงนี้เด็กได้รับโอกาสฝึกฝน ขบคิด จากเรื่องราวในนิทานเชื่อมโยงมาสู่ประสบการณ์ในชีวิตจริง