หนูเจ็ดตัว
หนูเจ็ดตัว ดัดแปลงมาจากนิทานพื้นฐานพื้นบ้านของอินเดีย และเป็นสำนวนที่คนไทยรู้จักกันดี คือ ตาบอดคลำช้าง
วันหนึ่ง หนูตัวบอดทั้งเจ็ดตัวต้องตกใจ เมื่อมาพบอะไรอย่างหนึ่งเข้าที่แอ่งน้ำ หนูตาบอดทั้งเจ็ดตัวพากันวิ่งจู๊ดกลับไป แล้วจึงค่อยๆแยกกันออกมาสำรวจกันทีละตัวๆ วันแรกหนูตัวแรกบอกว่า มันคือเสาหิน หนูตัวที่สองบอกว่า งูต่างหา และหนูตัวที่สามบอกว่า เป็นพัด
หนูหกตัว ที่พากันออกมาสำรวจตัวละวันๆ นั้น ไม่มีตัวใดบอกเหมือนกันเลยสักตัว ดังนั้น หนูตัวที่เจ็ดเป็นตัวสุดท้าย ที่ออกมาเพื่อสำรวจตรวจตรา มันวิ่งไต่ไปตั้งแต่ข้างล่างขึ้นข้างบน จากหัวจรดท้าย วิ่งสำรวจจนทั่วทั้งตัว แล้วมันก็บอกกับเพื่อนๆว่า ที่แท้เจ้าตัวนี้ คือ ช้าง
หนูเจ็ดตัว เป็นหนังสือที่เน้นการออกแบบ ใช้เทคนิคตัดปะกระดาษ บนพื้นดำ แท้ความมืดบอดของหนู ทั้งเจ็ดตัว ในแต่ละวันที่หนูแต่ละตัวออกไปสำรวจเจ้าตัวประหลาดนี้ มีการใช้สีการทฤษฎีการผสมสีชั้นสูง