Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home โจโจเจ้าป่ากับมงกุฎรังนก

โจโจเจ้าป่ากับมงกุฎรังนก

โจโจเจ้าป่ากับมงกุฎรังนก
เรื่อง: เอริโกะ คิชิดะ ภาพ : จิโยโกะ นาคะทานิ แปล : ปาลิดา พิมพะกร สํานักพิมพ์ READING PARTY เขียนโดย ระพีพรรณ พัฒนาเวช กรรมการสมาคมไทสร้างสรรค์ (สงวนลิขสิทธิ์)
โจโจเจ้าป่ากับมงกุฎรังนก

โจโจเจ้าป่ากับมงกุฎรังนก

โจโจ คือเจ้าป่าผู้น่าเกรงขาม ใครๆ ต่างก็ยําเกรง แม้เพียงโจโจย่างกายผ่าน แต่ไม่มีสัตว์ตัวใดล่วงรู้ความลับของเจ้าป่า ว่าแท้จรงิโจโจเจ้าป่ากับมงกุฎรังนก เขากําลังอ่อนล้า หูตาฝ้าฟาง สิ้นเรี่ยวแรงและรู้สึกโดดเดี่ยวเหลือเกิน เวลาเดียวกันน้ันโจโจได้พบกับแม่นก ผู้เพิ่งสูญเสียไข่ฟองน้อยถึงหกฟอง

เมื่อผู้สูญเสียทั้งสองได้พบกัน ต่างแบ่งปันสิ่งที่เหลืออยู่ มิตรภาพอันยิ่งใหญ่จึงเร่ิมต้น กำลังกายและกำลังใจที่คล้ายจะเหือดหายกลับคืนสู่ทั้งคู่อย่างรวดเร็ว และพร้อมจะเร่ิมต้นชีวิตใหม่ที่เปี่ยมด้วยพลังและความหวัง

เนื้อหาของหนังสือเรื่องโจโจเจ้าป่าฯมีความลึกซึ้ง ให้ความรู้สึกที่ซาบซึ้งและอ่อนโยน เด็กๆจะได้เห็นผู้ยิ่งใหญ่ท่ีรู้จักรักและเอื้อเฟื้อต่อผู้ที่เล็กกว่ามาก ส่วนผู้น้อยเช่นแม่นกก็ได้วางไข่เล็กๆรุ่นใหม่บนมงกุฎ ที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์สูงสุดของอํานาจ หากแม่นกตัวเล็กๆ ไม่มีความกล้าหาญเสียแล้วเธอคงไม่อาจปกป้องไข่น้อยของตัวเองได้ดีเท่ากับฝากไว้บนมงกุฎของเจ้าป่า เด็กๆ สามารถเรียนรู้ในส่ิงที่อธิบายยากได้เข้าใจง่ายๆ ว่าหากทุกชีวิตเอื้อเฟื้อต่อกันแล้วก็จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

Untitled36.jpgจุดที่โดดเด่นที่สุดของหนังสือเล่มนี้ คือภาพท่ีมีพลังมีอารมณ์อันหลากหลาย หากมองเพียงผ่านๆ จะไม่เห็นรายละเอียดเท่าใดนัก จึงอยากแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ค่อยๆเปิดหนังสือช้าๆ ทีละหน้า จุดแรกที่น่าสังเกตคือ สายตาของเจ้าป่า ที่แสดงอารมณ์ในทุกๆหน้า ตั้งแต่เร่ิมเรื่อง เจ้าป่าแสดงสายตาของผู้แข็งแกร่งสมเป็นเจ้าป่าที่ใครๆ ต่างยําเกรง ส่วนหน้าถัดมาเมื่อเจ้าป่าเฝ้ามองเงาของตัวเองในน้ำ เป็นสายตาของเจ้าป่าผู้เหงาหงอยอย่างสิ้นเชิง

และหลังจากที่โจโจเจ้าป่าได้พบกับแม่นกแล้ว สายตาของเจ้าป่าก็เปลี่ยนแปลงไปนับแต่นั้น คงเหลือแต่สายตาและกริยาท่าทางที่อ่อนโยนตลอดจนจบเรื่อง ส่วนโครงสีที่ใช้ก็น่าสนใจมากเช่นกัน เราจะเห็นฉากที่มีสีระบายเข้มเต็มอยู่ถึงสามหน้าคู่ เป็นฉากที่เจ้าป่าเริ่มอาสาปกป้องไข่ฟองน้อย เป็นช่วงเวลาแห่งความระแวดระวังและความรับผิดชอบในบรรยากาศท่ีกดดันทั้งสภาพอากาศและสัตว์ที่คอยหมายจ้องจะมาขโมยกินไข่นก

จนเมื่อไข่ฟองน้อยฟักออกเป็นลูกนกน้อยๆ สีก็เปลี่ยนมาเป็นสว่างและสดใส ดูมีความหวังทันที พร้อมกับประโยคกินใจว่า “ลูกนกทั้งเจ็ดพากันส่งเสียงร้องเพลงอยู่รอบๆ แผงคอ....แม้เวลาน้ีโจโจเจ้าป่าจะมองไม่ค่อยเห็น...แต่เขายังสามารถได้ยินเสียงต่างๆอย่างชัดเจนโจโจเจ้าป่าจึงชอบ นั่งนิ่งๆคอยฟังบรรดาลูกนกส่งเสียงร้องจิ๊บๆอย่างสุขใจ”

โจโจเจ้าป่ากับมงกุฎรังนก โจโจเจ้าป่ากับมงกุฎรังนกเป็นหนังสือเก่าแก่ของประเทศญี่ปุ่น ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ หรือ ๕๐ มาแล้ว นับเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็กรุ่นกลางค่อนไปทางยุคเริ่มต้นของญี่ปุ่น ภาพวาดลงบนผืนผ้าใบซึ่งเป็นผลงานชั้นครู ขณะเดียวกันก็ดูเป็นภาพง่ายๆ คล้ายเด็กวาด มีการออกแบบจัดวางภาพและตัวหนังสือ อย่างลงตัวและดูทันสมัย แม้เวลาผ่านมาแล้วถึงครึ่งศตวรรษก็ตาม