Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home พัฒนาห้องสมุดโรงเรียน การแนะนำหนังสือในห้องสมุด

การแนะนำหนังสือในห้องสมุด

โดย ระพีพรรณ พัฒนาเวช กรรมการประชาสัมพันธ์ สมาคมไทสร้างสรรค์

การแนะนำหนังสือน่าอ่านในห้องสมุด การทำห้องสมุดในโรงเรียนให้ดึงดูดความสนใจของนักเรียน ไม่แตกต่างไปจากร้านหนังสือที่จัดตกแต่งมุมต่างๆ เพื่อให้ดึงดูดสายตาและความสนใจของผู้ซื้อ ฉันใดฉันนั้น ห้องสมุดในโรงเรียนก็สามรถทำได้ และสามารถทำได้หลากหลายวิธีกว่าร้านหนังสือ เพราะไม่มีข้อจำกัดด้านธุรกิจใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากเงื่อนไขเดียวที่ควรคำนึงถึง คือ จัดมุมหนังสือแนะนำในประเด็นใดที่คาดว่าเด็กๆ จะให้ความสนใจ

lbrdvlpt10การจัดมุมหนังสือแนะนำนี้ ห้องสมุดหลายแห่งหรือเกือบทุกแห่งทำกันอยู่แล้ว เช่น แนะนำหนังสือรางวัล แต่บรรณารักษ์ควรประเมินด้วยสายตาว่า เด็กๆ ให้ความสนใจหนังสือที่แนะนำหรือไม่ หรือการแนะนำของเราช่วยให้เกิดการยืมหนังสือมากขึ้นหรือไม่ แล้วจึงมองหาวิธี หรือเทคนิคต่างๆ มานำเสนอเพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียนต่อไป

การแนะนำหนังสือน่าอ่านในรูปแบบของสมาคมไทสร้างสรรค์ คือการไม่มีรูปแบบหรือกรอบปฏิบัติใดๆ ดังนั้น กลุ่มหนังสือที่ถูกยกขึ้นมาแนะนำจึงสามารถจัดแบ่งได้สารพัด เรียกว่า แนะนำกันตลอดทั้งปีก็ยังไม่หมดเลยทีเดียว ในที่นี้ จะนำเสนอตัวอย่างคร่าวๆ เพื่อให้เห็นภาพว่าจะจัดแบ่งหนังสือในห้องสมุดที่ท่านดูแลอยู่ได้อย่างไร บ้าง เพื่อเรียกร้องความสนใจจากนักเรียนที่เป็นลูกค้าคนสำคัญ

  • กลุ่มหนังสือสยองขวัญ (นักเรียนมัธยมชอบมากเป็นพิเศษ)
  • กลุ่มหนังสือที่เคยทำเป็นภาพยนตร์
  • กลุ่มหนังสือที่เขียนขึ้นจากชีวิตจริง
  • กลุ่มหนังสือติดอันดับขายดีในร้านหนังสือ
  • กลุ่มหนังสือที่ไม่เคยมีใครยืมอ่าน
  • กลุ่มหนังสือที่ถูกยืมมากที่สุด
  • กลุ่มหนังสือวรรณกรรมชายทะเล
  • กลุ่มหนังสือวรรณกรรมภูเขา
  • กุล่มหนังสือวรรณกรรมเด็กแก่นซน
  • กลุ่มหนังสือดีที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรท์ (แต่ไม่ได้รางวัล)
  • ฯลฯ

จะเห็นได้ว่า การจัดกลุ่มหนังสือเพื่อแนะนำนี้ ไม่มีรูปแบบใดๆ เลย แต่สิ่งที่สำคัญและดูเหมือนจะยากสักหน่อยก็คือ ตัวบรรณารักษ์จะต้องรู้จักหนังสือเป็นอย่างดี (ซึ่งต้องเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว) สามารถจัดกลุ่มให้หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดได้ และมีลูกเล่น มีอารมณ์ขันพอสมควร อีกทั้งยังต้องมีความรอบรู้ด้านวงการหนังสือบ้าง ซึ่งความรอบรู้นี้สามารถหาได้จากข่าวแวดวงวรรณกรรมในหน้าหนังสือพิมพ์ ข่าวการเปิดตัวหนังสือใหม่ๆ ตามหน้านิตยาสาร การเข้าร้านหนังสือบ่อยๆ หรือแม้แต่การติดตามอ่านคอลัมน์แนะนำหนังสือตามหน้านิตยสารก็เป็นวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยให้บรรณารักษ์รู้จักหนังสือได้เร็วขึ้น น่าเสียดายที่งานห้องสมุดในโรงเรียนหลายแห่ง เป็นเพียงงานฝาก กล่าวคือ ใครว่างก็มาเปิดห้องสมุด หรือใครพอจะสนใจแม้มีเวลาน้อยก็ให้มาดูแลห้องสมุด โดยไม่ได้คำนึงว่างานห้องสมุดนั้น ‘ต้องการทั้งเวลาและหัวใจ’