Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home หนังสือสำหรับเด็ก 'ชีวัน วิสาสะ' ในโลกแห่งนิทาน

'ชีวัน วิสาสะ' ในโลกแห่งนิทาน

'ชีวัน วิสาสะ' ในโลกแห่งนิทาน
Scoop 'ชีวัน วิสาสะ' ในโลกแห่งนิทาน โดย : อรุณรัตน์ เหมะนัค : รายงาน คัดจากจุดประกายวรรณกรรม หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๕ และกรุงเทพธุรกิจออนใลน์ และเผยแพร่ทาง(http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/read-write/20120429/448892/ชีวัน--วิสาสะ-ในโลกแห่งนิทาน.html )
'ชีวัน วิสาสะ' ในโลกแห่งนิทาน

ชีวัน วิสาสะ

ในโลกของเด็ก การได้อ่านหรือได้ฟัง ‘นิทาน’ ก่อนนอนดีๆ สักเรื่อง ก็มากพอที่จะทำให้พวกเขาเดินทางไปพบความสนุกสนานและหลับฝันอย่างมีความสุข

หากพูดถึงกิจกรรมที่เด็กๆ ชื่นชอบกัน  หนึ่งในนั้นต้องมี ‘ นิทาน’  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างความสนุกสนานให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี ประโยชน์ของนิทานนั้นมีมากกว่าความสนุกสนานเพราะเนื้อหาของนิทานแต่ละเรื่องเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้  ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการคิดเชื่อมโยงเรื่องราวได้ง่าย  และทำให้จดจำข้อมูลต่างๆ ได้มากขึ้น  นอกจากนี้นิทานยังช่วยสร้างจินตนาการให้แก่เด็กอีกด้วย

แต่มีใครรู้ไหมว่ากว่าจะเป็นนิทานสำหรับเด็กแต่ละเล่มให้เด็กๆ ได้อ่านกันนั้น  มีขั้นตอนและที่มาอย่างไร  และกว่าที่นักเขียนจะผลิตงานออกมานั้นเขาต้องลงทุนลงแรงในการเรียนรู้อะไรไปบ้าง ดังนั้นจุดประกายวรรณกรรมจึงอยากจะพาผู้อ่านไปพบกับเซียนนิทานผู้คร่ำหวอดอยู่กับงานสร้างสรรค์นิทานภาพสำหรับเด็กของเมืองไทย ที่เด็กๆ  เรียกกันในนามของ  "ครูชีวัน" ผ่านนิทานเรื่องนี้ที่ถูกถ่ายทอดจากเขาโดยตรง ดังนี้

การทำหนังสือสำหรับเด็กนั้นเราจะต้องมีความเข้าใจในตัวเด็กเพราะว่าเด็กมีความคิด และจินตนาการที่ใสบริสุทธิ์  เเต่ในฐานะคนที่ผ่านประสบการณ์ที่หลากหลายใช้ชีวิตมามากกว่า บางเรื่องเราต้องคิดแทนเพราะเด็กยังไม่ทันโลก  นอกจากนั้นเราต้องมั่นใจหรือรู้ตัวว่าเรามีความเป็นเด็กอยู่ในตัว  สิ่งที่เราคิดเราคิดด้วยความเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่  บางครั้งวลีที่พูดเราไม่สามารถวิพากษ์ได้ว่าถูกหรือผิด  ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันเด็กเริ่มฉลาดและเรียนรู้ด้วยตัวเองแต่บางเรื่องที่เด็กคิดเองแล้วก็เกิดความผิดพลาด  เราต้องมีแผนสำรองว่าเมื่อเกิดความผิดพลาดแล้วเราจะแก้ปัญหาอย่างไร เพราะสังคมทุกวันนี้ไม่ได้ใสซื่อบริสุทธิ์ บางทีเราต้องคิดช่วยเด็ก
กว่าจะมาเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็กเเต่ละเล่มนั้น  ชีวัน เล่าว่า   "การที่เราจะสร้างแรงบันดาลใจหรือหาประเด็นมาทำหนังสือเราต้องลงทุนในชีวิตของเรา เรียนรู้ตลอดเวลา  เวลาผ่านไปแต่ละนาที  วินาที เราได้ประสบการณ์เพิ่มขึ้น อายุเราน้อยลง นี่ละคือการลงทุน ลงทุนไปกับการพูดคุยกับผู้คน ลงทุนไปกับเดินทาง  การอ่านหนังสือ  และต้องคิดตลอดเวลา

(1)

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว... ด.ช.ชีวัน อาศัยอยู่ในครอบครัวที่เต็มไปด้วยศิลปะ  พ่อ ลุง  ล้วนเกี่ยวข้องกับศิลปะกันทั้งนั้น แม้กระทั่งแม่ของเขาถึงแม้จะประกอบอาชีพค้าขายแต่ก็มีความเป็นศิลปินอยู่ในตัวค่อนข้างสูง และเขาก็เติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติอันใสบริสุทธิ์เพราะในสมัยนั้นเทคโนโลยีความทันสมัยต่างๆ ยังไม่เข้ามามีบทบาทมากเหมือนเช่นปัจจุบัน

ชีวิตต่างจังหวัดที่นครปฐมดำเนินไปด้วยความสดใสตามวัย เขาก็มีเพื่อนเยอะทั้งเพื่อนละแวกบ้าน  เพื่อนที่โรงเรียน  และต่างจังหวัด  ทำให้มีประสบการณ์ในวัยเด็กที่หลากหลาย  ความซนตามประสาเด็กผู้ชายทำให้ได้สัมผัสกับเพื่อนในวัยเด็กด้วยกันมีเรื่องราวความขัดแย้งถือว่าเป็นประสบการณ์ที่สำคัญ

“ เรื่องของการเล่นตรงนี้สำคัญ เพราะเป็นตัวที่หล่อหลอม และปลูกฝัง ทำให้เรามีโอกาสสัมผัสสิ่งที่เป็นธรรมชาติ   ถือว่าเป็นวัตถุดิบที่สะสม และมีผลต่อวิธีคิดของเรา มีผลต่อความเข้าใจในตัวเด็กในปัจจุบัน ” นี่คือสิ่งที่ชีวันให้ความสำคัญ

(2)

เด็กๆ ทุกคนต้องไปโรงเรียน...เมื่อถึงวัยหนึ่งเด็กทุกคนต้องไปโรงเรียน   ด.ช. ชีวันก็เช่นกันเขาต้องไปโรงเรียน  หากแต่ในเรื่องของการเรียนนั้นทางครอบครัวของเขาไม่ได้ขีดเส้นว่าต้องเรียนอะไร  ถือว่าเป็นครอบครัวที่เปิดโอกาสให้เลือกเองว่าต้องการเรียนอะไร  ปล่อยให้คิดเองให้อิสระในการตัดสินใจ   ครอบครัวจะสนับสนุนไม่ว่าลูกๆ อยากเรียนอะไร

เนื่องจากครอบครัวต้นตระกูลเป็นศิลปะ  พี่ๆ น้องๆ ในครอบครัวต่างก็มีทักษะทางศิลปะกันทั้งนั้น  เพียงแต่ว่าจะใช้หรือไม่ใช้เท่านั้น   ส่วนชีวันแรกเริ่มนั้นเขาไม่ได้ตั้งใจที่จะเรียนศิลปะเพราะคิดว่ามีทักษะทางด้านศิลปะอยู่แล้วเขาจึงอยากจะไปเรียนสายอื่นบ้าง   ท้ายที่สุดก้าวไม่พ้นความเป็นศิลปะเขาจึงเลือกเรียนศิลปะที่วิทยาลัยครูที่นครปฐม

อีเล้งเค้งโค้งหลังจากเรียนจบเขาก็รับราชการครูสอนศิลปะอยู่ 9 ปี  จากนั้นก็เรียนต่อที่ มศว ประสานมิตร เรียนศิลปศึกษา เนื่องด้วยเขาเป็นคนชอบทำหนังสือจึงเลือกเรียนวิชาโทการทำหนังสือ  และฝันว่าอยากจะเป็นนักเขียน อยากเขียนเรื่องสั้น เขียนนวนิยาย

“เราไม่สามารถจะทำถึงขั้นนั้นได้หรอก  การเขียนเรื่องสั้น  เขียนนวนิยายนั้นมันยาวเกินไป  มันต้องใช้วัตถุดิบเยอะ ”

แต่ด้วยความที่มีใจรักทางด้านการทำหนังสือ  ประกอบกับความรู้ที่เรียนมาทางด้านศิลปะ  ไม่ว่าจะเป็นการวาดรูป อีกทั้งทักษะในการสื่อสารกับเด็ก ความรู้ในการทำหนังสือเกี่ยวกับวรรณกรรมเด็กซึ่งได้ครูที่ดีทำให้เขาศึกษาค้นคว้าต่อว่าหนังสือที่ดีสำหรับเด็กนั้นเป็นอย่างไร และมีโอกาสที่ดีได้เรียนกับครูทั้งคนไทยและญี่ปุ่น   เขาจึงไม่ได้ทิ้งความฝันไปเลยทีเดียว

(3)

“ ศิลปะเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้  ปลายทางไม่จำเป็นต้องเป็นศิลปะ แต่ระหว่างทางให้มีศิลปะไปเกี่ยวข้อง ศิลปะในที่นี้อาจหมายถึงการเขียน บอกเล่าเรื่องราว แต่ก่อนที่จะเขียนนั้นต้องอ่าน   หาข้อมูล ดูภาพไปสัมผัสกับของจริง  กลั่นกรองถ่ายทอดออกมา  และลองเขียน วาดดู เด็กนั้นเมื่อมีความประทับใจอะไรเขาก็วาดออกมาตามจินตนาการของเขา  เราต้องเชื่อว่าเด็กมีศิลปะนิสัย ในที่นี้หมายถึงการชอบวาด ขีดเขียน รูปที่เขามองเห็นรูปที่เขาประทับใจ พอทำบ่อยๆ ก็จะเกิดทักษะ พอโตขึ้นความลึกของข้อมูลก็จะมากขึ้น

ileng1.jpgแต่ศิลปะไม่ใช่ปลายทาง เป็นกระบวนการหนึ่งเท่านั้น  อย่างเช่นคนที่เป็นหมอ นักวิทยาศาสตร์ พวกนี้เขาก็มีศิลปะอยู่ในตัวเพียงแต่ว่าศิลปะไม่ใช่ปลายทางของเขา  ยกเว้นแต่คนที่สนใจศิลปะและให้ศิลปะเป็นปลายทาง  เช่นศิลปินซึ่งพวกเขาจะให้ศิลปะเป็นปลายทาง   ศิลปะจึงเป็นเครื่องมือการเรียนรู้อย่างดี เพราะทำให้เรามีความสุขอิ่มเอมใจระหว่างที่ศึกษาเรื่องนั้นเรื่องนี้  ”

จาก ด.ช.ชีวันในวันนั้น  เติบโตเป็นผู้ใหญ่มีคู่ชีวิตเป็นครูศิลปะเช่นเดียวกันกับเขาพบกันเมื่อครั้งที่เรียนที่ประสานมิตร   หลังจากนั้นก็สร้างครอบครัวที่อบอุ่นด้วยกัน  มีพยานรักที่เติบโตขึ้นมาด้วยการหล่อหลอมด้วยศิลปะ  หากแต่ลูกชายเลือกที่จะเรียนในสายวิทยาศาสตร์ ส่วนลูกสาวตอนนี้เรียนอยู่มัธยมต้น

การที่เราเคยเป็นลูกมาก่อนเราถูกเลี้ยงมาอย่างไร  มองย้อนกลับไปว่าอะไรคือข้อดี อะไรคือข้อเสีย   เราต้องดูว่าการเลี้ยงสมัยก่อนอาจใช้ในปัจจุบันที่สังคมเปลี่ยนไปไม่ได้  เช่นการปล่อยและให้อิสระที่เคยถูกปล่อยแต่สมัยก่อนมีสภาพแวดล้อมที่ดี พ่อแม่ปล่อยเรา เราก็ไม่ไปหาสิ่งที่ไม่ดี ...การเลี้ยงลูกเราต้องหาข้อมูลและดูสภาพแวดล้อม  อีกอย่างหนึ่งคือเราต้องดูแลอย่างใกล้ชิด  ดูสิ่งที่เขาสนใจเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ไหมและสนับสนุน

น้องส้มโอกับพี่หลอดไฟ ถ้าตอนเด็กๆ เราปูพื้นฐานให้เขาดีในเรื่องการเล่านิทาน ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้   เขาก็จะหาสิ่งที่เขาชอบ หาจุดยืนได้เจอ ไม่ต้องแข่งขันมากมาย เพราะในปัจจุบันการแข่งขันสูง เป็นที่น่าสังเกตว่าการแข่งขันจะเป็นแบบไม่รู้จุดหมายไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร ไม่ชัดเจนไม่มีเป้าหมาย  ถ้าเลี้ยงลูกให้เขารู้ว่าชอบอะไรตั้งแต่เด็ก เขาก็จะมีเป้าหมายการแข่งขันก็จะน้อยลง

หลังจากชีวันได้ทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัวและหน้าที่พ่อแล้วหน้าที่ทางการงานเขาก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปเลย  ในวัยผู้ใหญ่เขาเริ่มมีความคิดและมองโลกที่แตกต่าง

ในช่วงที่ทำงานใช้ชีวิตในวัยผู้ใหญ่เขาก็เริ่มมีความคิดบางอย่างและเริ่มตั้งคำถามว่า ทำไมคนเราตั้งแต่เกิดจนตายจะต้องประกอบอาชีพเพียงอาชีพเดียว   พ่อเป็นครูต้องเป็นครูจนเกษียณเลยเหรอ  แม่ต้องค้าขายไปนานแค่ไหน เขาก็เริ่มมีความคิดว่าจะเป็นครูอีกกี่ปี   จะเป็นอย่างอื่นได้ไหม  จะเป็นนักเขียนได้ไหม  เป็นศิลปินได้ไหม   ค้าขายได้ไหม  เมื่อมีความคิดที่ท้าทายเช่นนี้เขาจึงตัดสินใจที่จะลาออกจากอาชีพครู

เขาเริ่มเข้าไปสัมผัสแวดวงการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก โดยการชักชวนจากคนรู้จักอย่างน้านิดจากรายการสโมสรผึ้งน้อย   นอกจากนี้ยังมีสำนักพิมพ์ที่เขาเคยเสนองานไป  และสำนักพิมพ์กำลังจะเปิดใหม่จะทำหนังสือเกี่ยวกับเด็ก ชักชวนให้ไปทำ   จึงมีโอกาสได้ทำหนังสือเด็ก  ซึ่งพวกนี้ก็จะใช้ทักษะทางด้านการสื่อสารและศิลปะ การสื่อสารก็คือวิธีการที่จะพูดคุยสื่อสารกับเด็กซึ่งมันมีรูปแบบ   จะใช้ภาษาอย่างมีชั้นเชิงอย่างไรซึ่งไม่ใช่การสื่อสารโดยตรง  ดังนั้นอาชีพนอกเหนือจากการรับราชการครูก็จะเริ่มมา นอกนั้นเขาก็ทำงานอื่นๆ ไปด้วยไม่ว่าจะเป็นการเขียนเพลง  เขียนบทละคร  ขนาดแสดงละครเขาก็ยังเคยทำมาแล้ว

ด้วยหน้าที่บทบาทของอาชีพครูกับนักเขียนในทัศนะของชีวันเขามองว่ามันไม่มีอะไรที่แตกต่างกันเลย วิธีการสื่อสารกับเด็ก ความเป็นครูกับนักเขียนจะเกี่ยวเนื่องกันในเรื่องของการสื่อสารการพัฒนา  ครูต้องสื่อสารแต่ก็มีรูปแบบมีกรอบของครู มีโรงเรียน มีเนื้อหาในการสอน มีการบ้าน  ส่วนนักเขียนจะนำเรื่องราวต่างๆ มาบอกสอนเด็ก  และถ่ายทอดให้เด็กได้รับรู้เพียงแต่ว่ารูปแบบไม่เหมือนกัน

ตัวเลขทำอะไรนักเขียนต้องถ่ายทอดในแบบหนังสือ ภาษา ภาพ  แต่ครูเมื่ออยู่ในห้องการใช้ภาษาก็จะเป็นเฉพาะรูปแบบเป็นของตัวเอง  ถ้าเทียบกับศิลปะก็จะเป็นการแสดงสด แต่ว่านักเขียนจะต้องมีการออกแบบก่อน เพราะนักเขียนแต่ละคนนั้นจะมีลักษณะเฉพาะตัว  ดูรูปลักษณ์ภายนอกของหนังสือจะเห็นว่าเหมือนกัน  มีเรื่องมีภาพ   ถ้าดูดีๆ แต่ละเรื่องจะมีวิธีการสื่อสารไม่เหมือนกันและนี่คือสิ่งที่นักเขียนต้องออกแบบเพื่อให้เด็กไปถึงเป้าหมายให้ได้  ชีวันเล่าถึงการทำหนังสือเด็กด้วยใบหน้าที่เปื้อนยิ้ม

" การใช้ภาษาใช้ภาพตรงนี้มันมีเหตุผลที่มาที่ไป นักเขียนบางคนไม่คิดถึงขนาดนี้  ทำไมตัวละครต้องเป็นตัวนี้  ทำไมเรื่องต้องดำเนินแบบนี้ เพราะอะไร แม้กระทั่งเทคนิคที่ใช้ก็ยังมีผล บางทีการวางหน้าหนังสือก็ยังต้องกำหนด  อย่างนี้ที่บอกว่าคือการออกแบบลักษณะของการสื่อสาร "

การทำหนังสือสำหรับเด็กนั้นเราจะต้องมีความเข้าใจในตัวเด็กเพราะว่าเด็กมีความคิด และจินตนาการที่ใสบริสุทธิ์  เเต่ในฐานะคนที่ผ่านประสบการณ์ที่หลากหลายใช้ชีวิตมามากกว่า บางเรื่องเราต้องคิดแทนเพราะเด็กยังไม่ทันโลก  นอกจากนั้นเราต้องมั่นใจหรือรู้ตัวว่าเรามีความเป็นเด็กอยู่ในตัว  สิ่งที่เราคิดเราคิดด้วยความเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่  บางครั้งวลีที่พูดเราไม่สามารถวิพากษ์ได้ว่าถูกหรือผิด  ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันเด็กเริ่มฉลาดและเรียนรู้ด้วยตัวเองแต่บางเรื่องที่เด็กคิดเองแล้วก็เกิดความผิดพลาด  เราต้องมีแผนสำรองว่าเมื่อเกิดความผิดพลาดแล้วเราจะแก้ปัญหาอย่างไร เพราะสังคมทุกวันนี้ไม่ได้ใสซื่อบริสุทธิ์ บางทีเราต้องคิดช่วยเด็ก

กว่าจะมาเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็กเเต่ละเล่มนั้น  ชีวัน เล่าว่า   "การที่เราจะสร้างแรงบันดาลใจหรือหาประเด็นมาทำหนังสือเราต้องลงทุนในชีวิตของเรา เรียนรู้ตลอดเวลา  เวลาผ่านไปแต่ละนาที  วินาที เราได้ประสบการณ์เพิ่มขึ้น อายุเราน้อยลง นี่ละคือการลงทุน ลงทุนไปกับการพูดคุยกับผู้คน ลงทุนไปกับเดินทาง  การอ่านหนังสือ  และต้องคิดตลอดเวลา

ฉะนั้นนักเขียนไม่ใช่เขียนอย่างเดียว ต้องอ่านเยอะๆ  พบปะพูดคุยกับผู้คน ถึงแม้ว่าบางคนจะมีนิสัยไม่ชอบพูดกับผู้คน แต่ก็จำเป็นเราต้องละนิสัยนั้น  ใครที่ชอบปลีกวิเวกไม่อยากพบปะผู้คนจะเป็นนักเขียนได้ยาก เมื่อเราจะสื่อสารกับคนอื่นแล้ว อยากให้คนอ่านหนังสือเรา  ต้องไม่เอาเปรียบผู้คนโดยไม่พบปะ จะให้คนอื่นหางานเราถือว่าเอาเปรียบเราจะต้องออกไปพบปะแลกเปลี่ยน  ต้องเข้าใจความคิดคนอื่นก่อน "

หลังจากนั้นเมื่อได้ประเด็นเราก็มาออกแบบโครงสร้างของหนังสือภาพ  จากนั้นก็มาคิดต่อว่าจะสื่อสารด้วยวิธีการแบบไหน เรื่องต้องมาก่อนอยู่แล้ว ความเป็นหนังสือจะมีข้อจำกัดว่ากี่หน้า  24 หน้า  32 หน้า แต่รายละเอียดของนักเขียนแต่ละคนมีวิธีคิดไม่เหมือนกัน แต่ของครูชีวันค่อนข้างละเอียดในแง่ที่ว่าหนังสือเมื่อเปิดไปในแต่ละหน้าต้องคิดว่ามีความหมายอย่างไรไม่ใช่ว่าเราแต่เรื่องแล้วเอาจำนวนหน้ามาหาร เราต้องรู้ว่ามีหน้ากี่หน้าสำหรับการสื่อสารประเด็นนี้เราต้องแต่งเรื่องให้พอดีไปทีละหน้าทีละคู่  ไม่ใช่แต่งเรื่องแล้วเอาจำนวนหน้ามาหาร  เพราะเรื่องจะมีจุดเริ่มต้น    กลาง คลี่คลาย ช่วงไหนเด็กจะได้ความคิดอะไร อารมณ์ประมาณไหน  การเปิดหน้าแต่ละหน้าหมายถึงอะไร  หมายถึงความคิดที่เปลี่ยนไป เวลาที่เปลี่ยนไป สถานที่ที่เปลี่ยนไป  มุมมองที่เปลี่ยนไปตรงนี้ค่อนข้างจะละเอียด

ลักษณะเด่นของงานชีวันนั้นจะต้องมีปมความคิดที่ทำให้เด็กเกิดความคิด กระตุ้นให้คิด  ให้เหลือก้อนความคิดหรือปมความคิดให้เด็กไปคิดต่อ  ลองเปิดดูว่าจะได้ความคิดใหม่ๆ อะไรขึ้นมา  โดยสรุปในเรื่องจะมีจบและเข้าใจว่าเรื่องจบอย่างไร แต่ต้องให้สามารถนำไปคิดต่อได้  เรื่องล่าสุดที่กำลังทำคือ  เรื่อง 50 เท่า เขาเล่าว่าเป็นเรื่องของการตั้งคำถาม  ด้วงกว่างตัวเท่านี้ถ้ามันโตกว่านี้จะมีขนาดเท่าไร ก็จะนำเสนอด้วยด้วงกว่างขนาดจริง แล้วอีกภาพหนึ่งก็จะเป็นภาพด้วงกว่างขนาดใหญ่กว่า 50 เท่า

การใช้เทคนิคการสร้างภาพก็ต้องดูว่าใช้อย่างไรถึงจะเหมาะสม ถ้ามดดำตัวเท่านี้ถ้ามันใหญ่ 50 เท่า คุณสมบัติมันก็จะเปลี่ยนไป  ก็จะมีตัวละครหลายตัวนำมาคุณฟองนักแปรงฟันใช้  ปิดท้ายที่ตัวละครแต่ละตัวก็จะพูดว่า ถ้าเราใหญ่กว่านี้ 100 เท่าล่ะจะเป็น แล้วตัวละครอีกชุดหนึ่งก็จะพูดว่าถ้าเราใหญ่กว่านี้ 200 เท่าล่ะ  เรื่องจะจบแบบนี้ ทิ้งท้ายเอาไว้สำหรับเด็กและพ่อแม่ว่าเรื่องนี้จะทำให้คิดเชื่อมโยงความน่าจะเป็นในเรื่องของคุณสมบัติ แล้วแก่นของมันก็คือตัวเด็กเองเพราะอนาคตเราต้องโตขึ้นกว่านี้ เติบโตขึ้นไม่ใช่เฉพาะร่างกาย เราจะมีพลังมีความสามารถ แล้วเราจะเป็นอย่างไรจะรับผิดชอบอย่างไร  เหมือนกับพลังอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่เหมือนฮีโร่นิดๆ อันนี้คือปมความคิดที่เราต้องหยอดเอาไว้นอกเหนือจากหนังสือจบ

ตรงนี้คือลักษณะพิเศษอยู่ในหนังสือทุกเล่ม ไม่ใช่จบอย่างมีความสุข ต้องทิ้งให้คิดเพราะเราต้องปลูกฝังให้เด็กคิดเพื่ออนาคตไม่ใช่เพื่อปัจจุบันอย่างเดียว

(4)

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า...ว่าอะไรนั้นขึ้นอยู่จินตนาการของเด็กๆ

...ไม่ต่างจากโลกแห่งนิทาน  ชีวัน วิสาสะ เป็นนักเขียนอย่างที่ฝันเอาไว้    มีผลงานที่เป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ  ไม่ว่าจะเป็น  อีเล้งเค้งโค้ง,  คุณตาหนวดยาว,  คุณฟองนักแปรงฟัน และอื่นๆ อีกมากมาย     ด้วยประสบการณ์ในแวดวงหนังสือภาพสำหรับเด็กที่ถือว่าอยู่ในขั้นเซียน  อีกทั้งยังเป็นนักเล่านิทาน  มุมมองต่อวงการหนังสือภาพสำหรับเด็กที่มีหลายสถาบันมามอบรางวัล

ในเเง่ของเขานั้นมองว่ารางวัลไม่ใช่ความสำคัญ  สำคัญที่ว่าใครเป็นคนให้รางวัล   คณะกรรมการเป็นคนให้รางวัลและเรากล้าตั้งคำถามไหมว่ากรรมการมีความรู้ช่ำชองเกี่ยวกับหนังสือภาพไหม  ถ้าเราไม่กล้าตั้งคำถามเราก็จะเชื่อถือกับรางวัล  ถ้าเรากล้าตั้งคำถามว่าคนที่ให้รางวัลมีความรู้เกี่ยวกับหนังสือก้าวทันหนังสือภาพสำหรับเด็กหรือเปล่า ต้องไม่มองว่าหนังสือภาพสำหรับเด็กเป็นงานศิลปะของเด็ก หลายที่จะมองอย่างนั้น  มองประหนึ่งว่าเด็กทำหนังสือแล้วตัวเองเป็นผู้ใหญ่มองงานของเด็ก ตรงนี้เป็นข้อเสียของบ้านเรา

" อีกอย่างหนึ่งที่มันขาดหายไปจากวงการก็คือการวิเคราะห์หนังสือภาพ ซึ่งตรงนี้มันหาย  ถ้ามีการวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารในหนังสือภาพก็จะปรากฏต่อที่สาธารณะ  ไม่ใช่มีใครก็ไม่รู้ในปี 1 มาตัดสิน  เเล้วการตัดสินก็จะเยินยอ พูดถึงข้อดีจริงๆ แล้วมันดีหรือเปล่า มันต้องมีวงจรตรงนี้ว่ามันดีหรือเปล่า "

 

ต้องถามว่ากรรมการอ่านหนังสือภาพทุกวันหรือเปล่า  วิเคราะห์หนังสือในชีวิตประจำวันหรือเปล่า  คนที่จะตัดสินอะไรมันต้องทุกวันที่จะคิดจะวิเคราะห์  ไม่ใช่ว่าพอถึงเวลาเรามีเวลา  2 เดือน  ก็มาพิจารณารางวัล นักเขียนต้องพัฒนางานทุกวัน  แล้วกรรมการทันกับความคิดของนักเขียนไหม

" อีกอย่างหนึ่งที่มันขาดหายไปจากวงการก็คือการวิเคราะห์หนังสือภาพ ซึ่งตรงนี้มันหาย  ถ้ามีการวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารในหนังสือภาพก็จะปรากฏต่อที่สาธารณะ  ไม่ใช่มีใครก็ไม่รู้ในปี 1 มาตัดสิน  เเล้วการตัดสินก็จะเยินยอ พูดถึงข้อดีจริงๆ แล้วมันดีหรือเปล่า มันต้องมีวงจรตรงนี้ว่ามันดีหรือเปล่า "  ชีวันกล่าว

ฝากทิ้งท้ายกับเซียนนิทานผู้นี้เขามองถึงอนาคตเด็กไทยว่า

"ในอนาคตข้างหน้าเด็กในปัจจุบันนี้จะต้องรับผิดชอบอนาคตอยู่แล้ว  เพียงแต่ว่าผู้ใหญ่อย่าตั้งความหวังไว้กับเด็กและอนาคตที่เราคาดเดาไม่ได้   อยากให้สร้างปัจจุบันที่ดี เมื่อเราไปตั้งความหวังไว้กับอนาคตก็ลืมปัจจุบัน  ปัจจุบันเราทำอะไรพยายามที่จะกอบโกยทำให้ตัวเองมั่นคง เราก็จะลืมอนาคตเพราะว่าเราฝากอนาคตไว้กับเด็กแล้ว  แต่เราจะสร้างอนาคตที่ดีเราต้องสร้างปัจจุบันให้ดีก่อน

อนาคตที่ดีมันจะเกิดขึ้นได้อย่างไรในเมื่อผู้ใหญ่ไม่ได้สร้างพื้นฐานที่ดีให้กับเด็ก  ปัจจุบันเป็นพื้นฐานของอนาคต บางทีเรามองย้อนกลับไปอดีตอาจจะพบว่าดีกว่าปัจจุบัน เพราะว่าเราทำลายอดีตและกอบโกยจากอดีต  ณ ปัจจุบันถือว่าเป็นช่วงกอบโกยเราใช้ต้นทุนจากอดีต  สิ่งดีๆในอดีตจึงเลือนหายไป "

ผู้ใหญ่เติบโตจากเด็ก...แล้ววันนี้คุณลองมองย้อนกลับไปในวัยเด็กของคุณหรือยัง...คุณยังจำภาพเก่าในวันที่เยาว์วัยนั้นได้ไหม  ?