การอ่านคือทางรอด ไม่ใช่แค่ทางเลือก
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2558 และ 2561 ชี้ให้เห็นว่าเด็กไทยในวัย 6-14 ปี มีปัญหาด้านการอ่านออกเขียนได้ถึงร้อยละ 69.4
หมายความว่า เด็กไทย 3 ใน 4 คน อ่านหนังสือไม่คล่องหรืออ่านไม่ได้เลย
ขณะที่เด็กที่อ่านไม่ออกจะมีปัญหาในการเข้าใจบทเรียน สะสมความรู้ช้ากว่า และเมื่อเวลาผ่านไป ความแตกต่างของพวกเขากับเด็กที่อ่านได้จะกว้างขึ้นเรื่อย ๆ
Matthew Effect อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่ผู้ที่มีความได้เปรียบจะยิ่งได้เปรียบขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ผู้ที่มีข้อเสียเปรียบจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
เปรียบเหมือนเด็กที่อ่านหนังสือคล่อง จะยิ่งเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้น ในขณะที่เด็กที่อ่านไม่ออก จะพบอุปสรรคมากมายและตามเพื่อนไม่ทัน

หากไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหานี้จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออนาคตของเด็กไทยหลายล้านคน เด็กที่อ่านไม่ออกในวันนี้ จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ขาดทักษะสำคัญในอนาคต ซึ่งจะทำให้พวกเขามีโอกาสน้อยลงในการได้งานที่ดี และต้องเผชิญความยากลำบากตลอดชีวิต
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2558 และ 2561 ชี้ให้เห็นว่าเด็กไทยในวัย 6-14 ปี มีปัญหาด้านการอ่านออกเขียนได้ถึงร้อยละ 69.4
หมายความว่า เด็กไทย 3 ใน 4 คน อ่านหนังสือไม่คล่องหรืออ่านไม่ได้เลย ปัญหานี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่ในวัยเด็ก แต่ส่งผลต่อชีวิตของพวกเขาไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
ข้อมูลของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และธนาคารโลกในปี 2565 พบว่า ประชากรวัยแรงงานของไทยร้อยละ 64.7 มีทักษะด้านการรู้หนังสือต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งหมายความว่าพวกเขาไม่สามารถอ่านและเข้าใจข้อความง่าย ๆ เช่น ฉลากยา ป้ายจราจร หรือเอกสารการสมัครงานได้
นี่เป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาตนเองและทำให้พวกเขาต้องตกอยู่ในวงจรความยากจน
การส่งเสริมการอ่านจึงไม่ใช่แค่เรื่องของการพัฒนาทักษะ แต่มันเป็นเรื่องของอนาคตของเด็ก ๆ และของประเทศ
เราจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่าน ตั้งแต่การจัดหาหนังสือที่เหมาะสม สนับสนุนให้ครูอ่านให้เด็กฟัง และให้เด็ก ๆ ได้มีโอกาสฝึกอ่านและอ่านเองทุกวัน