Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home โทรทัศน์กับเด็ก

คิดดังๆเรื่องโทรทัศน์

คิดดังๆเรื่องโทรทัศน์
เขียนโดย ธีรวงศ์ ธนิษฐ์เวธน์ เลขาธิการสมาคมไทสร้างสรรค์ คัดจากจดหมายข่างเด็กไท

ประเทศไทถูกรุกรานโดยโทรทัศน์มาราวๆ ๔๐ ปี ตามหลังประเทศตะวันตกอยู่ระยะหนึ่งแต่ไม่ห่างกันมากนัก แต่ผลกระทบต่อสังคมในมิติต่างๆนั้น เชื่อได้ว่ารุนแรงที่สุดประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะในด้านสังคมที่เราไม่ค่อยพูดถึงกันมากนัก ดังที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันจากเด็กๆ ที่เติบโตและจบการศึกษาเข้ามาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศอยู่ในขณะนี้

ytv725268.jpgราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบคุณค่าต่างๆ ของเราเริ่มเสื่อมถอยมาตลอด ระยะยี่สิบปีที่ผ่านมา สังคมอ่อนแอลง ครอบครัวล่มสลายมากขึ้นทุกวัน ความรุ่งเรืองทางการศึกษาถดถอย ในขณะที่เราสร้างมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นทุกปี แต่คนรุ่นใหม่ถูกชักนำให้มองเห็นมูลค่าเป็นสาระใหญ่ของชีวิตอย่างน่ากลัว พร้อมๆกับที่เราบ่นกันว่า พวกเขาไม่ไยดีต่อสังคมแต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร

สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีปัจจัยหลายประการเป็นเหตุแต่เราก็ไม่สามารถปฏิเสธได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่าโทรทัศน์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะหากเปรียบเทียบกับหลายประเทศด้วยแล้วยิ่งเห็นชัดเจน เมื่อพิจารณาว่าโทรทัศน์บ้านเราถูกใช้เพื่อเป้าประสงค์ใด และด้วยวิธีการเช่นไร

แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็ไม่ต้องการยอมรับในประเด็นนี้ เพราะเราเสพติดจนเห็นเป็นเรื่องธรรมดา นึกถึงมันอย่างเข้าข้าง เห็นแต่ด้านดี เลิกตั้งคำถาม แล้วจึงค่อยๆวิ่งตามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ โดยโทรทัศน์ไม่เคยได้รับการแตะต้อง

เราถกเถียงกันเสมอว่าทุกอย่างมีสองด้าน (หรือมากกว่า) ซึ่งก็ไม่มีใครโต้แย้งได้หากอ้างเช่นนี้ และก็กล่าวได้ว่ามีความดีหลายอย่างปรากฏอยู่ในโทรทัศน์ (ซึ่งก็เถียงไม่ได้อีกเช่นกัน) แต่หากจะลองควานหาผลไม้ดีๆสักลูกสองลูกในตระกร้าที่เต็มไปด้วยผลไม้เน่านั้นก็ต้องยอมเปื้อนมือเหม็นมืออยู่ไม่น้อย (แต่เราก็ไม่อยากยอมรับว่าเหม็น) ทั้งที่แจ่มชัดทุกอย่างบนโทรทัศน์นั้นเสนอมาเพื่อมีขายของ (และที่ชัดที่สุดก็คือบรรดาฟรีทีวีที่ส่วนใหญ่นั้นมีรัฐบาลเป็นเจ้าของ) มันเข้ามาขายถึงในบ้าน ห้องนอน พื้นที่สาธารณะ ชั้นเรียนอนุบาล สถานพยาบาล และทุกแห่งหน ไม่ได้มุ่งประโยชน์ของสาธารณะดังที่กล่าวอ้าง

แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็ไม่ต้องการยอมรับในประเด็นนี้ เพราะเราเสพติดจนเห็นเป็นเรื่องธรรมดา นึกถึงมันอย่างเข้าข้าง เห็นแต่ด้านดี เลิกตั้งคำถาม แล้วจึงค่อยๆวิ่งตามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ โดยโทรทัศน์ไม่เคยได้รับการแตะต้อง

งานวิจัยชิ้นหนึ่งเปิดเผยมาหลายปีแล้วว่า ลูกหลานของเราบริโภคอาหารขยะที่เปี่ยมด้วยผงชูรส น้ำมันทอดซ้ำและน้ำตาลเป็นมูลค่าต่อปีกว่า . แสนล้านบาท

6a0154337782ea970c014e8b89e765970d800wi.jpgนักโฆษณาท่านหนึ่งกล่าวว่า ภายใต้นภานี้ไม่มีประเทศใดนำเรื่องทางเพศมาขายสินค้าผ่านโทรทัศน์ได้มากเท่ากับประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงข่าวธุรกิจชิ้นหนึ่งรายงานบนหน้าหนังสือพิมพ์ว่า ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยขยายถึง ๔๕๐ % ในระยะเวลา ปีเท่านั้น

จึงเกิดคำถามตามมาว่าแล้วเด็กๆ ของเราจะอยู่และเติบโตอย่างไรในโลกที่ทุกๆ อณูถูกครอบครองด้วยสื่อ กระตุ้นการบริโภค เต็มไปด้วยความรุนแรง และกระตุ้นความต้องการทางเพศ ใช้ภาษาผิดเพี้ยน นำเสนอพฤติกรรมที่หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรม ปลูกฝังค่านิยมความเป็นปัจเจกที่ไม่ไยดีต่อมนุษย์อื่นๆ

แล้วเด็กๆ ของเราจะเป็นเหมือนเด็กในประเทศอันเป็นที่สุดแห่งการค้าขายทางเพศและบริโภคนิยมเช่นสหรัฐอเมริกาหรือไม่ ที่นับวันจะอ่อนแอลงทั้งทางสุขภาพร่างกาย สังคม จิตใจ ศีลธรรมและการเรียนรู้ และพร้อมจะลุกขึ้นมาเข่นฆ่าผู้อื่นอย่างเลือดเย็น กระทั่งรัฐบาลของเขาต้องรณรงค์สัปดาห์ปิดโทรทัศน์แห่งชาติกันมานับสิบปีแล้ว (แต่ก็ยังไม่เห็ผลที่เป็นรูปธรรม) เพื่อให้เด็กๆ ได้พักดู พักกิน พักเล่นเกมส์แล้วหันไปอ่านหนังสือ เล่นและสร้างปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่นมากขึ้น !