Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home สำรวจพบเด็กไทยอ่านหนังสือไม่ออก

สำรวจพบเด็กไทยอ่านหนังสือไม่ออก

สำรวจพบเด็กไทยอ่านหนังสือไม่ออก
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.ได้รายงานผลการประเมินนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสพฐ.ทั่วประเทศ ประจำปีการศึกษา 2552 จำนวน 502,469 คน เรื่อง "การอ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณได้"
สำรวจพบเด็กไทยอ่านหนังสือไม่ออก

นายชินภัทร ภูมิรัตน

การประเมินในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

1. ความสามารถทางการอ่านออกเสียง พบนักเรียนอ่านไม่ผ่านเกณฑ์ 7.22 เปอร์เซ็นต์ หรือ 37,813 คน ลดลงจากปีการศึกษา 2551 ที่มีนักเรียนอ่านไม่ผ่านเกณฑ์ 8.82 เปอร์เซ็นต์ หรือ 49,499 คน

2. ความสามารถทางการเขียน มีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ 17.74 เปอร์เซ็นต์ หรือ 93,880 คน คงที่จากปีการศึกษา 2551 ที่มีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ 17.74 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 99,558 คน

3. ความสามารถทางการคิดคำนวณ มีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ 22.29 เปอร์เซ็นต์ หรือ 119,374 คน ลดลงจากปีการศึกษา 2551 ที่มีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ 25.29 เปอร์เซ็นต์ หรือ 141,929 คน

เลขาธิการกพฐ. กล่าวต่อว่า วิธีการการประเมินความสามารถทางการอ่านนั้นจะมีข้อความให้นักเรียนอ่าน 7 ข้อความ เช่น คำที่ไม่มีตัวสะกด คำควบกล้ำ คำที่มีตัวการันต์ เป็นต้น ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่จะไม่สามารถอ่านคำที่มีตัวการันต์ได้และจะมีปัญหามากที่สุด ส่วนวิธีการประเมินความสามารถทางการเขียนจะให้นักเรียนพิจารณาภาพที่กำหนดให้แล้วเขียนเนื้อเรื่องความยาวไม่ต่ำกว่า 10 บรรทัด สำหรับการประเมินความสามารถทางการคิดคำนวณจะมีโจทย์ให้นักเรียนแสดงวิธีทำตามกระบวนการคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตามผลการประเมินที่ออกมานั้นยังไม่น่าพอใจ จะต้องกระตุ้นให้สพท.เร่งรัดการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในด้านดังกล่าวให้ดีขึ้น โดยสพท.จะจำแนกข้อมูลเป็นรายเขตพื้นที่ให้แต่ละเขตพื้นที่ ไปจัดทำแผนรณรงค์และส่งเสริมทักษะพื้นฐานนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีจำนวนนักเรียน อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดคำนวณไม่ได้ให้เหลือน้อยที่สุด และในอนาคตจะต้องให้หมดไป ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลา และจะบรรจุเรื่องดังกล่าวเป็นวาระในการประชุม ผอ.สพท.ทั่วประเทศในวันที่ 15-16 ก.ค.

วิเคราะห์ตัวเลขที่ได้มา

Avatar Posted by ธีรวงศ์ ธนิษฐ์เวธน์ at May 28, 2012 04:51 AM
เลขาฯ สพฐ.ไม่ได้พูดเลยว่าเกณฑ์การอ่านหนังสือออกไม่ใช่ ป.๓ แต่เริ่มที่จบป.๑
กล่าวคือเด็กจบ ป.๑ ต้องอ่านหนังสือได้ ๖๐๐ คำ
ป.๒ จำนวน ๑,๐๐๐ คำ
ป.๓ จำนวน ๑,๒๐๐ คำ
อันนี้กำหนดไว้ในหลักสูตรชัดเจน แต่ไม่เห็นพูดถึง
ส่วนที่บอกว่าอ่านไม่ออกร้อยละ ๗ เขียนไม่ได้ร้อยละ ๑๗ คิดคำนวนไม่เป็นร้อย ๒๒ นั้น เป็นเรื่องน่ากลัวอย่างยิ่งและสพฐ.ก็ไม่ได้พูดอีกเช่นกันว่าถ้าเรียงลำดับอย่างที่ทำไว้นั้นจะเห็นได้ง่ายๆว่า
   ทักษะที่ง่ายที่สุดคืือ การอ่าน
   ทักษะที่ยากขึ้นมาคือ เขียน
   ทักษะที่ยากที่สุดคือ การคิดคำนวน

ทีนี้ลองเรียงตัวเลขของสพฐ.ดู
   อ่านหนังสือไม่ออก = ร้อยละ ๗
   เขียนหนังสือไม่เป็น = ร้อยละ ๑๗
   คิดเลขไม่เป็น = ร้อยละ ๒๒

จะเห็นว่าปัญหาที่มีอยู่ใหญ่กว่าตัวเลขเหล่านี้มาก เพราะผลทดสอบการอ่านเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของปัญหาที่มีฐานขยายใหญ่ลงไปเป็นพีระมิด เพราะต้องอ่านคล่องมากๆแล้วจึงจะเขียนได้ และเมื่อเอาทักษะการอ่านที่ดีกับทักษะการเขียนที่ดีมารวมกันเด็กๆจึงจะเริ่มคิดคำนวนได้

เราจึงไม่ต้องแปลกใจที่หลายคนต่อว่าสำนักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติว่าออกข้อสอบยาก เพราะจริงๆแล้วเด็ก ๑ ใน ๕ ของประเทศเราเขียนหนังสือไม่เป็นเลย สงสัยมากว่า สพฐ.สอนหนังสือเด็กแบบใดให้เด็กๆอ่านหนังสือไม่ออก เพราะตามรายงานที่ออกมาเป็นการทดสอบเด็กป.๓ ซึ่งเด็กๆเข้าเรียนมากว่า ๒ ปีแล้ว รวมเวลาที่เข้าเรียน มากกว่า ๒,๐๐๐ ชั่วโมง

 

Add comment

You can add a comment by filling out the form below. Plain text formatting.

Info
Note: you are not logged in. You may optionally enter your username and password below. If you don't enter your username and password below, this comment will be posted as the 'Anonymous User'.
(Required)
(Required)
(Required)
Enter the word