Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home ความจริงเรื่องเด็กไทยอ่านหนังสือไม่ออก

ความจริงเรื่องเด็กไทยอ่านหนังสือไม่ออก

บทความโดย นายธีรวงศ์ ธนิษฐ์เวธน์ ผู้อำนวยการสมาคมไทสร้างสรรค์ คัดจากหนังสือพิมพ์เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับสมน้ำหน้าประเทศไทย

ในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่งที่ทำงานการศึกษามากว่า ๒๕ ปี รู้สึกสะเทือนใจอย่างมากกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆตัวในวันนี้ เพราะงานที่ทำต้องเกี่ยวข้องกับเด็กๆและโรงเรียนของรัฐ อันเป็นโรงเรียนที่ดำรงอยู่ด้วยภาษีของเรา ด้วยเงินของเรา แต่เราแทบจะไม่สามารถทำอะไรได้กับความจริงที่ว่า เด็กๆของเราจำนวนมากที่เรียนอยู่ในโรงเรียนกว่า ๓๕,๐๐๐ โรงนี้ อยู่ในภาวะอ่านหนังสือไม่ออก

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเคยออกมายอมรับเมื่อปีที่ แล้วว่า มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สามอ่านหนังสือไม่ออกร้อยละ ๑๒ หรือประมาณ ๘๐,๐๐๐ คน ซึ่งนับเป็นความกล้าหาญอย่างมาก แต่ สพฐ. ก็ไม่กล้าหาญมากพอที่จะบอกความจริงทั้งหมด เพราะความจริงน่ากลัวกว่านั้นมาก และการยอมรับว่าเด็ก ป.๓ อ่านหนังสือไม่ออกนั้น ฟังดูก็เหมือนจะตั้งใจชี้ประเด็นปัญหาเพื่อให้เกิดการแก้ไข แต่วิธีการนำปัญหามาวางบนโต๊ะของเรานั้น มักจะทำเมื่อทุกอย่างสายเกือบเกินแก้แล้วในแทบทุกกรณี รวมทั้งในกรณีนี้ เพราะจำนวนเด็กอ่านหนังสือไม่ออกนั้นมีอยู่ทุกระดับชั้น ตั้งแต่ ป.๓ ที่ท่านพูดเอาไว้ไปจนถึงมัธยมปลาย หากจะคิดคำนวนอย่างง่ายๆ จำนวนนักเรียนเฉลี่ยตามอัตราการเกิดของประชากร ตามข้อมูลด้านล่างนี้ เราก็จะเห็นว่ามีเด็กๆอ่านหนังสือไม่ออกอยู่นับแสนนับล้านคนในปัจจุบัน

นักเรียนสังกัดสพฐ*

อายุ๙-๑๕(ป.๓-ม.๓)

ถ้าอ่านหนังสือไม่ออก

ร้อยละ ๕

ถ้าอ่านหนังสือไม่ออก

ร้อยละ ๑๐

ถ้าอ่านหนังสือไม่ออก

ร้อยละ ๑๒

5,034,897 คน

251,744 คน

503,489 คน

604,187 คน

*ที่มา กระทรวงศึกษาธิการ ตารางที่  25 อัตราการออกกลางคันระดับประถมศึกษา - มัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปีการศึกษา 2550 ( เฉพาะนักเรียนในสังกัด สพฐ. ลบออกกลางคันจำนวน 85,803 คนแล้ว -ผู้เขียน)

ตัวเลขจากการคิดคำนวนอย่างง่ายๆตามตารางข้างบนนี้บอกอะไรแก่เรา ?

หากนับรวมเด็กๆที่ออกจากระบบโรงเรียนไปโดยอ่านหนังสือไม่ออกในรอบ สิบปีที่ผ่านมา ก็จะเห็นว่าเป็นภาพอันน่าสยดสยองขนาดไหน (แค่ร้อยละ ๕ นั้นก็มากกว่าทหารไทยทั้งกองทัพแล้ว) คำถามที่ตามมาคือกระทรวงศึกษาธิการทำอะไรอยู่กับเรื่องนี้ เราอาจจะได้คำอธิบายมากมาย รวมทั้งคำตอบว่ากำลังพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรกันอยู่ ซึ่งก็เป็นคำตอบที่เราได้ยินได้ฟังกันมาตั้งแต่เปลี่ยนหลักสูตรและการสอน ครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ ๒๕๒๑ รวมทั้งการปฏิรูปการศึกษาที่ใช้เวลาไปแล้วกว่า ๑๐ ปี ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการในทุกระดับเพื่อโดยหวังว่าการศึกษาของเราจะดี ขึ้น ฯลฯ

ผู้เขียนในฐานะบุคคลหนึ่งที่ทำงานการศึกษาพื้นฐานและการอ่านออก เขียนได้ (literacy) มานานพอสมควร เห็นว่าโดยแท้จริงแล้ว สิ่งที่เป็นอยู่ในระบบโรงเรียนขณะนี้ไม่ได้ส่งเสริมพัฒนาการทางการเรียนรู้ ของเด็กๆแต่ประการใด หากแต่สิ่งที่ทำกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันของบุคลากรส่วนใหญ่ในกระทรวง ศึกษาธิการเป็นเพียงการรักษาตนให้ปลอดภัยจากการประเมินหรือจากระเบียบทาง ราชการ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของเด็กๆและประเทศชาติเพียงน้อยนิด

ถามว่าทำไมผู้เขียนจึงมองอย่างนั้น คำตอบอยู่ในความจริงเพียงสองสามข้อ

๑. เด็กๆไปโรงเรียนปีละ ๒๐๐ วันๆละ ๘ ชั่วโมง เข้าเรียนจริงวันละ ๕ ชั่วโมง(เป็นอย่างน้อย) ต่อเนื่อง ๖ ปี(เป็นอย่างน้อย) รวม ๖,๐๐๐ ชั่วโมง (เป็นอย่างน้อย) ทำไมจึงยังอ่านหนังสือไม่ออก? แล้วโรงเรียนจะอธิบายต่อพ่อแม่ของพวกเขาอย่างไร?

๒. หลายโรงเรียนบอกว่า นักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกนั้นเป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือที่เรียกว่าเป็นเด็กพิเศษ แต่โรงเรียนไม่รู้จริงๆหรือว่าแกล้งโง่ที่ไม่พูดว่าประชากรโลกที่ประสบภาวะ ความพิการนั้นมีประมาณร้อยละ ๑๐ และมีเพียงร้อยละ ๒๐ ของกลุ่มนี้ที่ต้องการการจัดการศึกษาแบบพิเศษ (ร้อยละ ๘๐ สามารถเรียนในโรงเรียนปกติได้ และในจำนวนนั้นยังสามารถแยกประเภทความพิการออกได้อีกหลายสาขาโดยส่วนใหญ่ไม่ เกี่ยวกับความบกพร่องทางการเรียนรู้) แต่ความจริงที่พบเห็นคือ มีเด็กกว่าร้อยละ ๑๐ ในโรงเรียนหลายแห่งที่ถูกตีตราว่า “พิการ” ดังนั้นการอ้างว่าเด็กอ่านหนังสือไม่ออกจำนวนมากเพราะประสบภาวะความพิการจึง ฟังไม่ขึ้น

เด็กๆไปโรงเรียนปีละ ๒๐๐ วันๆละ ๘ ชั่วโมง เข้าเรียนจริงวันละ ๕ ชั่วโมง(เป็นอย่างน้อย) ต่อเนื่อง ๖ ปี(เป็นอย่างน้อย) รวม ๖,๐๐๐ ชั่วโมง (เป็นอย่างน้อย) ทำไมเด็กจึงยังอ่านหนังสือไม่ออก? โรงเรียนจะอธิบายต่อพ่อแม่ของพวกเขาอย่างไร?

๓. กรมการศึกษานอกโรงเรียน มีหลักสูตรการศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา (ตั้งแต่พ.ศ ๒๕๓๓ ถ้าจำไม่ผิด) สอนผู้ใหญ่ชาวเขาที่พูดภาษาไทยได้เล็กน้อยและอ่านหนังสือไม่ออก ให้อ่านออกเขียนได้ด้วยเวลาเรียนเพียง ๒๐๐ ชั่วโมงเท่านั้น แต่ทำไมเด็กที่เข้าชั้นเรียนกว่า ๕,๐๐๐ ชั่วโมงเป็นเวลาต่อเนื่องถึง ๖ ปีจึงยังอ่านหนังสือไม่ออก

ข้อเท็จจริงที่เราพบเห็นในโรงเรียนส่วนใหญ่คือ ผู้บริหารโรงเรียนไม่ใส่ใจในกิจกรรมการเรียนการสอน ไม่เคยสังเกตการสอน จึงไม่เคยรู้ว่าครูแต่ละคนสอนหนังสืออย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนแบบสอน (Teach) หรือการจัดกิจกรรม(Instruct) แต่มุ่งความสนใจไปในงานทุกอย่างที่ไม่ใช่กิจกรรมในชั้นเรียน ในขณะที่ครูเองก็ให้ความสำคัญกับสิ่งอื่นๆตามความสนใจและภาระกิจที่ผู้ บริหารมอบหมายเป็นหลัก รวมถึงการทำและรวบรวมเอกสารต่างๆเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะของตนเอง การสอนหนังสือ(ไม่ว่าจะในความหมายใด)กลายเป็นความสำคัญในลำดับท้ายๆเกือบ ทั้งสิ้น

ดังนั้น จึงไม่แปลกที่เด็กๆจำนวนมหาศาลไม่ได้อะไรเลยจากเวลากว่า ๕,๐๐๐ ชั่วโมงที่อยู่ในชั้นเรียน ตรงนี้อาจจะมีเสียงโต้แย้งว่า เด็กๆได้เรียนรู้มากมายหลากหลายมิติแม้จะอ่านหนังสือไม่ออก แต่มีความจริงข้อหนึ่งที่จะต้องทำความเข้าใจร่วมกันเป็นอันดับแรกว่า การออกกฏหมายบังคับให้พ่อแม่ส่งลูกเข้าโรงเรียนที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกนั้นมี พื้นฐานสำคัญที่สุดอยู่ที่การทำให้เด็กๆ “อ่านออกเขียนได้” เพราะการอ่านออกเขียนได้เป็นกุญแจดอกแรกที่จะเปิดประตูไปสู่โลกของการเรียน รู้ และประตูบานแรกนี้คือโอกาสที่จะนำพวกเขาไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนคือการรังสรรสังคมที่ดีงาม ปลายทางของการอ่านออกเขียนได้จึงยาวไกลเกินกว่าเราจะจินตนาการไปถึง ตรงข้ามกับความมืดมนอับจนหนทางของการไม่รู้หนังสือทั้งในระดับปัจเจกและ สังคม

ผู้เขียนมีความเชื่อมั่นอยู่สองสามประการเกี่ยวกับการทำหน้าที่ใน ฐานะนักการศึกษาว่า ผู้ที่ถูกเรียกว่า “ครู” นั้นมีหน้าที่หลักเพียงประการเดียวคือสอนหนังสือ และต้องสอนหนังสือให้ดี ภาระกิจประการแรกสุดของครูผู้สอนการศึกษาพื้นฐานคือ จะต้องกระทำทุกวิถีทางให้เด็กๆ “อ่านหนังสือออก เขียนหนังสือได้” การสอนไปวันๆโดยไม่สามารถช่วยให้พวกเขาอ่านหนังสือออกจึงเป็นความบกพร่องและ ความล้มเหลวที่ร้ายแรงที่สุดในฐานะนักวิชาชีพ ส่วนผู้บริหารโรงเรียนนั้นก็มีหน้าที่หลักเพียงประการเดียวเช่นกัน คือการรับประกันต่อพ่อแม่และสังคมว่าครูทุกคนภายใต้การบังคับบัญชาได้ทำหน้า หน้าที่ของตนเองอย่างสมบูรณ์ในหน้าที่การสอน หากไม่เป็นไปตามนั้น ตนมีหน้าที่ต้องใช้อำนาจหน้าที่ทุกประการเพื่อช่วยเหลือแก้ไข หากไม่สามารถกระทำการอย่างนั้นได้ ก็บกพร่องล้มเหลวเช่นกันนอกจากนั้น ครู (ทั้งผู้ทำหน้าที่สอนและผู้ทำหน้าที่บริหาร) จะต้องเชื่อมั่นในจิตสำนึกด้านดีของเด็ก เชื่อว่าเด็กๆทุกคนพร้อมจะเป็นคนดี ทั้งต้องเชื่อมั่นด้วยว่าเด็กๆทุกคนสามารถเข้าถึงศักยภาพของตนเองได้ทั้ง สิ้นไม่ว่าจะเกิดและเติบโตมาในสภาพการณ์อย่างไร พื้นฐานหรือที่มาใดๆไม่ใช่สิ่งที่ครูจะนำมาเป็นสมมุติฐานว่าเด็กจะเรียนได้ หรือไม่ ครูมีหน้าที่ทุกประการที่จะต้องทำให้เด็กๆเรียนได้ โดยไม่มีข้อยกเว้น

ข้อเท็จจริงที่เราพบเห็นในโรงเรียนส่วนใหญ่คือ ผู้บริหารโรงเรียนไม่ใส่ใจในกิจกรรมการเรียนการสอน ไม่เคยสังเกตุการสอน จึงไม่เคยรู้ว่าครูแต่ละคนสอนหนังสืออย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนแบบสอน (Teach) หรือการจัดกิจกรรม(Instruct) แต่มุ่งความสนใจไปในงานทุกอย่างที่ไม่ใช่กิจกรรมในชั้นเรียน ในขณะที่ครูเองก็ให้ความสำคัญกับสิ่งอื่นๆตามความสนใจและภาระกิจที่ผู้บริหารมอบหมายเป็นหลัก รวมถึงการทำและรวบรวมเอกสารต่างๆเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะของตนเอง การสอนหนังสือ(ไม่ว่าจะในความหมายใด) กลายเป็นความสำคัญในลำดับท้ายๆเกือบ ทั้งสิ้น

ในโครงการทดลองแก้ไขปัญหาการอ่านที่สมาคมฯพยายามทำอยู่นั้น มีเหตุสร้างความสะเทือนใจต่อคณะทำงานและผู้เป็นพ่อแม่อยู่อย่างสม่ำเสมอ เพราะสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้นกลายเป็นเพียงอุดมคติและความคิดฝันอัน บรรเจิดที่แทบจะไม่มีโอกาสไปถึง ด้วยผู้เกี่ยวข้องที่โรงเรียนคาดหวังเพียงให้เด็กมีชั่วโมงเข้าชั้นเรียนครบ และสามารถ “สะสม” ชิ้นกระดาษที่ถูกเรียกว่า “งาน” เพื่อการประเมินผลงานสร้างความก้าวหน้าแก่ผู้สอน ในขณะที่เด็กๆชั้น ป.๓-ม.๑ เหล่านั้นไม่สามารถเขียนแม้คำง่ายๆ เช่น “คน” “ใจ” ไม่รู้จักสระ -ะ -า หรือ ฐ ฌ ไม่สามารถออกเสียงพยัญชนะ ท ให้แตกต่างจาก ต ฯลฯ จึงเป็นคำอธิบายว่าทำไมพวกเขาขึ้นถึงชั้นมัธยมได้ทั้งที่ไม่ผ่านเกณฑ์การ อ่าน ป.๑ ที่กำหนดให้เด็กๆต้องอ่านได้ ๖๐๐ คำเป็นอย่างน้อย เพราะผลงานของผู้สอนและภาพลักษณ์ของโรงเรียนสำคัญกว่าสิ่งที่เด็กๆจะได้รับ ดังนั้นตัวเลขเด็กจำนวนเด็กอ่านหนังสือไม่ออก จึงปรากฏดังยกมาข้างต้น แต่กระทรวงศึกษาธิการยังหาคำตอบไม่ได้ว่าผิดที่ใคร และทำการแก้ไขโดยเปลี่ยนหลักสูตรการสอนกันไม่เว้นแต่ละปี

ในโรงเรียนที่ไปทดลองช่วยเหลือเด็กๆนั้น พบว่าแม้จะมีเด็กๆประสบปัญหาเดียวกันอยู่กว่า ๔๐ คน(จากนักเรียนทั้งหมด ๒๘๐ คน) แต่มีเด็กเข้าร่วมกิจกรรมต่อเนื่องเพียง ๑๒ คน (เรียนชั้น ป.๓ ถึง ม.๑) และเหลือ ๗ คนเมื่อเริ่มปีการศึกษาใหม่ (ออกจากโรงเรียนหรือย้ายโรงเรียน) ในเบื้องต้นคณะทำงานตั้งสมมุติฐานว่า หากการอ่านสร้างความสุขให้เกิดขึ้นได้ ทักษะการอ่านและความกระตือรือร้นในการอ่านจะเกิดขึ้นตามมา โดยมีเป้าหมายกระตุ้นแก้ไขการอ่านเป็นเวลา ๑๐๐ ชั่วโมง แต่เมื่อเริ่มกิจกรรมกลับพบว่า เด็กๆทุกคนแบกปัญหาหนักมาจากบ้านทั้งสิ้น ทั้งความแตกแยกของผู้ปกครอง ขาดแคลนที่อยู่อาศัย ต้องหาเช้ากินค่ำ ขาดการดูแล ถูกทอดทิ้งทั้งทางกายภาพและจิตใจ อันเป็นปัญหาที่ไม่มีไครมองเห็น และดูเหมือนจะไม่มีใครตั้งใจจะมองให้เห็น ดังนั้นปัญหาเหล่านี้จึงส่งเด็กๆไปสู่ความล้มเหลวในโรงเรียนตั้งแต่เริ่มต้น แล้วตามด้วยความล้มเหลวต่อๆมา ร่วมกันทำลายความสำนึกถึงคุณค่าของตนเองไปจากพวกเขา เป็นแรงเหวี่ยงส่งพวกเขาไปสู่การแสดงตัวตนอย่างก้าวร้าว รุนแรง เมินเฉย หยาบคาย อันเป็นพฤติกรรมที่เราเรียกว่า “การเรียกร้องขอความช่วยเหลือ” จนกระทั่งมีภาพลักษณ์เป็นตัวปัญหาและสร้างภาระแก่โรงเรียน(ในมุมมองของ บุคลากร) เด็กเหล่านี้จึงไม่เป็นที่ต้องการ ไม่มีใครคาดหวังว่าจะประสบความสำเร็จ

ความเปลี่ยนแปลงเริ่มเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ๓๐ ชั่วโมง เด็กๆบางคนร้องไห้ด้วยความคับแค้นใจที่อ่านหนังสือให้เพื่อนฟังไม่ได้ พ่อแม่ดีใจที่ลูกเริ่มอ่านหนังสือภาพให้ฟัง หลังจากทำงานร่วมกันประมาณ ๕๐ ชั่วโมง เด็กๆส่วนใหญ่เริ่มอ่านหนังสือออกและเริ่มหัดเขียนข้อความสั้นๆ พวกเขาเริ่มผ่อนคลาย สงบลง สุภาพขึ้น แสดงน้ำใจต่อผู้อื่น ชี้ให้เห็นว่าสำนึกแห่งคุณค่าในตนเองเริ่มกลับมา เริ่มรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้ ตนเองก็สามารถไปสู่ความสำเร็จได้เช่นเดียวกับผู้อื่น โลกใบนี้มีที่ให้เขายืน มีคนเห็นคุณค่าและได้รับความนับถือเช่นเดียวกับเด็กๆคนอื่น

แล้วปลายทางอยู่ที่ไหน ภายใต้บริบทที่ขัดแย้งระหว่างคณะทำงานกับวาระสำคัญอันหลากหลายของโรงเรียน ภายใต้บริบทของเด็ก ๗ คนกับเด็กๆอีกนับล้านคนทั่วประเทศ และภายใต้บริบทของคนทำงานการศึกษาอิสระกับโครงสร้างที่เต็มไปด้วยคำอธิบาย แต่ไม่เคยหาคำตอบอะไรได้ของกระทรวงศึกษาธิการ

เหล่านั้นเป็นคำถามที่เราไม่รู้คำตอบ  เราตอบได้เพียงว่า หากสามารถพาเด็กๆทั้ง ๗ คนนี้ไปถึงโลกของหนังสือและการอ่านได้แล้ว ในวันที่เด็กๆเหล่านี้สามารถอ่านวรรณกรรมเยาวชนได้เองอย่างมีความสุข ก็ย่อมหมายความเราส่งพวกเขาถึงชายฝั่งแล้ว หนทางที่เหลืออยู่ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่พวกเขาค้นพบ และคำตอบที่พวกเขาค้นหาได้เองในโลกแห่งการเรียนรู้

Add comment

You can add a comment by filling out the form below. Plain text formatting.

Info
Note: you are not logged in. You may optionally enter your username and password below. If you don't enter your username and password below, this comment will be posted as the 'Anonymous User'.
(Required)
(Required)
(Required)
Enter the word