Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home หนังสือสำหรับเด็ก เล่าเรื่องหนังสือดีสู่เด็กไทย

เล่าเรื่องหนังสือดีสู่เด็กไทย

เขียนโดย ระพีพรรณ พัฒราเวช (คัดจากจดหมายข่าวเด็กไท)

นับแต่ทํางานเรื่องการพัฒนาครอบครัวด้วยการอ่าน สมาคมไทสร้างสรรค์ ยืนยันโดยตลอดว่า หนังสือเป็นเครื่อง
.jpegมือสําคัญในการทํางานของเรา และเราพยายามเลือกใช้หนังสือที่ดีตลอดมา จน กระทั่งหลายครั้งเกิดคําถามว่าหนังสือดีดูจากอะไร หรือใครเป็นคนตัดสินว่าหนังสือเล่มนี้ดีพอหรือไม่

จึงจะกล่าวถึงหนังสือภาพสําหรับเด็ก ที่ ได้รับการยอมรับจากสถาบันที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเด็กทั่วโลกว่า เป็นหนังสือระดับคลาสสิค มีอายุยืนนานและเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ รุ่นแล้วรุ่นเล่่า...แบบนี้น่าจะหมายถึงหนังสือที่ดี

ครู ชีวัน วิสาสะ ให้ทัศนะเกี่ยวกับหนังสือคลาสสิคสําหรับเด็กว่า

เป็นหนังสือที่อาจจะเรียกว่า ไร้กาลเวลา คือมีทั้งรูปแบบ เนื้อหา การจัดวางองค์ประกอบทั้งหมดรวมกัน โดยที่กาลเวลาไม่อาจ ทําให้เสียคุณค่า ไม่ว่าจะห้าสิบ หกสิบ หรือแปดสิบปีผ่านไป ก็ยังคงดูดีและมีคุณค่าอยู่เสมอ หนังสือ เด็กประเภทที่เรียกว่าคลาสสิคมักจะเป็นหนังสือที่พูดถึงสิ่ง(ความรู้สึก) ที่สําคัญในชีวิต และเรื่องราวเหล่านั้นจะติดอยู่กับตัวเด็กตลอดไป ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานสักแค่ไหน มันไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กๆ แต่มันเป็นเรื่องใหญ่และสําคัญในชีวิต ซึ่งหากเปรียบเทียบชีวิตคนกับต้นไม้แล้ว...การที่เด็กๆได้มีโอกาสสัมผัสและซึมซับความงดงามทั้งเรื่อง ภาพ ภาษาและวิธีคิดจาก หนังสือชั้นดี (คลาสสิค) ก็จะเป็นดั่งต้นไม้ที่มีแก่นอันสมบูรณ์ เพื่อสร้างเปลือกสร้างใบดอกผลที่งดงาม การที่กล่าวว่าแก่นอันสมบูรณ์นั้นหมายถึงความคิดที่นุ่มลึก หากจะเป็นเรื่องราวสนกสนานก็สนุกแบบลุ่มลึก หากพิจารณาความงดงามของภาพก็จะสัมผัสได้ถึงสุนทรียภาพที่สะกดสายตาและชวนให้ค้นคิดกับภาพมิรู้เบื่อ หากเราต้องการสร้างหรือกล่อมเกลาเด็กให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความลึกซึ้ง ไม่ฉาบฉวยแล้ว...หนังสือคลาสสิคสําหรับเด็กคือสิ่งจําเป็นจริงๆ

IMG_5321.jpgความเป็นหนังสือคลาสสิคสําหรับเด็กอาจจะไม่มีสถาบันใดออกมาประกาศรับรอง แต่เกิดจากการที่นักวิชาการด้านหนังสือสําหรับเด็กกล่าวขวัญถึงอย่างกว้างขวางในความดี ความงาม การ สื่อสารที่ดี ความสนุก สามารถสร้างความประทับใจ โดยมีเนื้อหาที่ดีมีภาษา มีการนําเสนอที่ดีและมีความเหมาะสมลงตัว หนังสือเหล่านี้จะได้รับการพูดถึงต่อเนื่องกันมานาน ตลอดช่วงระยะเวลานับสิบๆปี นักศึกษาด้านวรรณกรรมสําหรับเด็กทั่วโลกต้องศึกษาวิเคราะห์ตีความ วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างแพร่หลาย จนกระทั่งเกิดขึ้นเป็นข้อมูลความรู้ทางวิชาการอีกทอดหนึ่ง

สําหรับหนังสือคลาสสิคที่เด็กไทนํามากล่าวถึงในที่นี้คือ หนังสือภาพสําหรับเด็กระดับคลาสสิคของโลก ที่เคยได้รับการแปลและตีพิมพ์เป็นภาษาไทย โดยได้รับลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ หนังสือภาพชื่อ ดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาไทย

ดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย แปลโดย ป่านแก้ว จากเรื่อง Where the Wild Things Are โดย Maurice Sendak จัดพิมพ์โดย สํานักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก รศ.เกริก ยุ้นพันธ์ อาจารย์ประจํา สาขาวรรณกรรมสําหรับเด็ก Where_The_Wild_Things_Are_book_cover.jpgมศว.ประสานมิตร ได้เปิดโลกของดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย ใหเราได้เห็นกันชัดๆ

เรื่องนี้มันเป็นโลกของเด็ก เป็นความมหัศจรรย์ซึ่งนักเขียนมีความเข้าใจเด็ก มันมีความลึกลับ มีปีศาจน่าตื่นเต้น เขานําเสนอให้ตัวเอกมีความกล้าหาญ มีความเชื่อมั่นและมีภาวะผู้นํา ไม่ หวาดหวั่นต่อสิ่งน่ากลัว สังเกตว่าหนังสือเด็กทุกยุคทุกสมัยต้องมีฮีโร่ เพราะเด็กทุกยุคทุกสมัย ต้องการในสิ่งเดียวกัน และในเรื่องนี้ยังมีเรื่องของความรัก ความอบอุ่นเข้ามาด้วย จึงทําให้เรื่องทั้งสนุก ตื่นเต้น อบอุ่นไปพร้อมๆกัน

ในแง่ของความเป็นงานศิลปะ ดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันมาก การจัดวาง องค์ประกอบภาพมีความโดดเด่น ซึ่งเทคนิคการวาดรูปไม่ได้มีอะไรซับซ้อน แต่เมื่อจัดวางอย่างสมบูรณ์ งานจึงออกมาโดดเด่นมาก หรือจะเรียกว่า มีจักษุสัมผัสที่ดีมาก ภาพมีพลังสะท้อนให้เห็นถึงความลึกลับ ความเคลื่อนไหวสมกับเนื้อเรื่องที่มีการเคลื่อนที่ มีการเดินทางของตัวละคร นักเขียน สามารถเขียนภาพให้เห็นตัวละครโดดเด่น ชัดเจนและมีพลังเข้ากันกับเรื่องราว ไม่สร้างความคลุมเครือมีความชัดเจนในแนวระนาบ ไม่ปิด ไม่บังใดๆทั้งสิ้น คือให้เห็นกันจะจะแม้ในฉากกลางคืนและอีกเกือบสิบปีต่อมา ได้มีการจัดพิมพ์หนังสือคลาสสิคระดับโลกอีกเล่มหนึ่ง คือเรื่อง หนอนจอมหิว แปลโดย อริยา ไพฑูรย์ จากเรื่อง The Very Hungry Caterpillar โดย Eric Carls เป็นหนังสือเด็กที่มีชื่อเสียงและได้

9780140569322.jpgรับการตีพิมพ์หลายภาษาทั่วโลกฉบับภาษาไทยเป็นภาษาที่ ๓๖ ในการพิมพ์ครั้งนั้น และ หนอนจอมหิว ก็เป็นหนังสือที่ อาจารย์เกริก เลือกให้เป็นหนังสือที่ชอบมาก ที่สุดในกลุ่ม หนังสือภาพสําหรับเด็ก (Picture Book For Children) ซึ่ง อาจารย์เกริก ใช้เวลาข้ามคืนเพื่อตัดสินว่าชอบ ดิินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย หรือ หนอนจอมหิว มากกว่ากัน ในที่สุด อาจารย์เกริก ยุ้นพันธ์ เลือกหนอนจอมหิว เป็นหนังสือเล่มโปรด 

“เขามีกลวิธีการสอนเรื่องธรรมชาติวิทยาได้อย่างน่าทึ่ง เอา ความสนุกนําความรู้ สามารถสร้างความประทับใจให้แก่คนอ่านได้ก่อน แล้วความรู้ที่ตั้งใจมันก็จะ ติดตัวไปโดยปริยาย การที่หนังสือเล่มนี้สร้างขึ้นจากข้อมูลจริงๆ แต่เล่าเรื่องได้อย่างมหัศจรรย์ มันจึงไม่มียุคสมัย ดูเมื่อไหร่ก็เข้าใจ พ่อแม่ก็ชอบใจ เด็กๆยิ่งสนุก นอกจากนี้เขามีแง่มุมที่ลึกในการนําเสนอ มีลักษณะเฉพาะของตัวเจ้าของงาน เป็น Fine Art250pxWanda_Gag_Millions_of_Catsbook_cover.jpgเป็นงานศิลปะชั้นสูงที่เข้าถึงเด็กได้ ภาพดู เหมือนง่ายๆเด็กๆทําได้ แต่ความจริงแล้วมันมีกระบวนการที่ซับซ้อนทางศิลปะ ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัยก็ยังได้รับความสนใจอยู่ เพราะมันคลาสสิคจริงๆ ซึ่งอาจจะต่างจาก ดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย (Where The Wild Things Are ) เล่มนั้นเขานานกว่าและอยู่ในประวัติศาสตร์การวิจารณ์หนังสือภาพสําหรับเด็กไปแล้ว

จากมุมมองและความคิดของทั้ง อาจารย์เกริก และ ครูชีวัน มีสิ่งร่วมกันที่สําคัญและได้รับการ เน้นย้ํามากคือ ความลุ่มลึกและความลึกซึ้งนับจาก ดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย ได้ออกอาละวาดอย่างแผ่วๆในเมืองไทย จนกระทั่งมาถึง

000450601.jpg

หนอนจอมหิว และมีหนังสือคลาสสิคของโลกติดตามมาอีกสองเล่ม ได้แก่ บ้านน้อย(Little House) และ แม่ไก่ไปเดินเล่น (Rosieʼs Walk) ที่จัดพิมพ์โดย สํานักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็กเช่นกัน ซึ่งคาดว่ายอดจําหน่ายคงค่อยๆเป็นค่อยๆไปและต้องอาศัยความเข้าใจ ความเชื่อมั่นในความดีงามของหนังสือเด็ก และที่สําคัญกว่าคือ ความอดทนของผู้ลงทุน ในวันหนึ่งข้างหน้า ประเทศไทยจะได้สามารถสร้างหนังสือเด็กในระดับคลาสสิคได้

อย่างไรก็ตาม ดังที่ ครูชีวัน ให้ความเห็นตอนต้นว่า ถ้าต้องการสร้างผู้ใหญ่ที่มีความลุ่มลึก หนังสือเด็กคลาสสิค หรือหนังสือเด็กที่ดีมีความจําเป็น

 

517DxqDRbSL._BO2204203200_PIsitbstickerarrowclickTopRight3576_AA300_SH20_OU01_.jpgในวันนี้ที่น่ายินดีและน่าชื่นใจอย่างยิ่งที่สังคมไทย มีหนังสือเด็กคลาสสิคระดับโลก พร้อมกัน ถึง ๕ เล่ม โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิซีเมนต์ไทย ได้แก่เรื่อง

แมวล้านตัว แปลโดย ชีวัน วิสาสะ จากเรื่อง Millions of Cats ของ Wanda Gag

เดินเล่นในป่า แปลโดย อริยา ไพฑูรย์ จากเรื่อง In the Forest ของ Marie Hall Ets

คอร์ดูรอยด์ แปลโดย อัจฉรา ประดิษฐ์ จากเรื่อง Corduroy ของ Don Freeman

มีหมวกมาขายจ้า แปลโดย ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์ศักดิ์ จากเรื่อง Caps for Sale ของ Esphyr Slobodkina

เมล็ดแคร๊อต แปลโดย งามพรรณ เวชชาชีวะ จากเรื่อง The Carrot Seed ของ Ruth Krauss และ Crockett Johnson

หนังสือภาพทั้ง ๕ เล่ม ได้รับการยกย่องและกล่าวถึงเสมอมาในแง่ของความลึกซึ้ง ความงาม ทางศิลปะ การสร้าง104571L.jpgความประทับใจให้มุมมองและแง่คิดต่อชีวิต จากนักการศึกษาด้านวรรณกรรมสําหรับเด็กทั่วโลก และโปรดสังเกตว่า เด็กไท ฉบับนี้มีการเขียนถึงเรื่อง แมวล้านตัว เป็นครั้งที่สองแล้วเพื่อพิสูจน์ถึงความเป็นคลาสสิคของแท้ จึงจะไม่กล่าวถึง แมวล้านตัว ในพื้นที่นี้ เมื่อไล่เรียงลําดับอายุของหนังสือทั้ง ๕ เล่ม ต้องยกให้ แมวล้านตัว อายุมากที่สุดคือ ๘๐ ปี และปัจจุบันก็ยังตีพิมพ์และมีจําหน่ายอยู่ นับว่าเป็นหนังสือภาพสําหรับเด็กที่อายุยืนนานที่ของ อเมริกา

 

ส่วนเล่มที่อายุน้อยลงมาคือ มีหมวกมาขายจ้า มีอายุจนถึงวันนี้ก็ ๗๐ ปีพอดี และยังคงขายดี กันอยู่ (ในต่างประเทศ) เป็นนิทานพื้นบ้านของประเทศอินเดีย เรื่องของพ่อค้าซึ่งเดินทางขายหมวก แต่วิธีที่นําของไปขายนั้นแตกต่างจากพ่อค้าคนอื่น แทนที่จะหิ้วหรือถือไป เขากลับซ้อนหมวกเรียงขึ้น ไปบนหัว เดินตัวตั้งตรง ปากตะโกนร้องขายหมวกไปตามถนน...ขอไม่เล่ารายละเอียดของเรื่องในที่นี้

ความที่นักวาดภาพเป็นศิลปินนักออกแบบ และเป็นนักวาดภาพประกอบหนังสือเด็กคู่บุญของ Margaret Wise tumblr_lz5jzijlnN1qiosrv.jpgBrown นักเขียนหนังสือเด็กผู้มีชื่อเสียง เมื่อ Brown เสียชีวิตลง Slobodkina จึงลงมือวาดภาพประกอบของหนังสือตัวเอง และเล่มนี้ก็ทําให้เธอมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะนักเขียนหนังสือ เด็กที่มีผลงานโดดเด่น เข้าถึงเด็กด้วยภาพที่มีอารมณ์สนุกเข้ากันกับเรื่อง นักเขียนใช้ประโยชน์จากการเป็นนักออกแบบ โดยใช้เทคนิคในการออกแบบภาพให้ดูมีมิติ มีความลึก ขณะเดียวกันรูปภาพที่สื่อออกมา มีลักษณะใกล้เคียงกับเด็กวาด ประกอบกับเรื่องที่ถูกใจเด็ก มีปมปัญหา มีทางออกสําหรับ ปัญหาและสร้างความประทับใจในตอนท้าย มีหมวกมาขายจ้า จึงเป็นหนังสือเด็กเล่มหนึ่งที่ได้รับการยกย่องเสมอมาตลอดเวลา ๗๐ ปี นับแต่การพิมพ์ครั้งแรก

หนังสือภาพคลาสสิคอีกเล่มหนึ่งที่มีอายุเกินครึ่งศตวรรษ คือเรื่อง เดินเล่นในป่า ซึ่งมีอายุ ๖๔ ปี ในวันนี้ที่ฉายภาพจินตนาการของเด็กได้อย่างหนักแน่นและชัดเจน จินตนาการมีความจําเป็นอย่างไร อริยา ไพฑูรย์ ผู้แปลได้เขียนไว้ในบทนําว่า “เด็กๆมีโลกจินตนาการของตัวเองเป็นโลกส่วน ตัวที่บางครั้งผู้ใหญ่ก็เข้าไปไม่ถึง แต่จะเข้าถึงหรือไม่ก็ไม่สําคัญความเข้าใจต่างหากที่จะนําเด็กออกมาสู่โลกแห่งความจริงได้ เพราะเด็กรู้ว่าเขาจะเข้าไปในโลกจินตนาการของตัวเองเมื่อไหร่ก็ได้ จะออกมาเมื่อไหร่ก็ได้ และทั้งสองโลกต่างมีคุณค่า และสําคัญต่อชีวิตคนเราเท่าเทียมกัน” เป็นที่น่าสังเกตว่าในหนังสือที่เขียนถึงจินตนาการของเด็กตัวละครนั้นผู้ใหญ่มักจะมาตอนจบ อันหมายถึงการดึงเด็กกลับคืนสู่โลกแห่งความเป็นจริง บางครั้งไม่มีภาพให้เห็นแต่จะมีสัญลักษณ์บางอย่างที่บ่งบอกว่า ผู้ใหญ่มาแล้ว(ถ้วยอาหารในเรื่องดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย หรือเสียงแม่เรียกในเรื่อง อาบน้ําสนุกจัง) และในหนังสือเด็กนั้น เมื่อตัวละครก้าวสู่โลกแห่งจินตนาการในเรื่องแล้ว ต้องไม่ปล่อยเด็กทิ้งไว้อย่างนั้น นักเขียนจะต้องพาเด็กๆกลับมาสู่โลกของความจริง โลกปัจจุบันให้ได้อย่างแนบเนียนที่สุด

The Carrot Seed หรือเมล็ดแคร็อต มีความเก่าแก่รองลงมาอีกคือ ๖๓ ปี เป็นหนังสือเล่ม เล็กๆเล่าเรื่องง่ายๆใช้คําเพียง ๑๐๑ คํา แต่มีความลึกซึ้ง เนื้อหาของเรื่องทําให้เด็กๆสามารถเข้าใจ คําว่า “อดทน รอได้” เป็นอย่างดี934_MD.jpgMaurice Sandak เจ้าของเรื่อง ดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย ยกย่องหนังสือเล่มนี้เอาไว้ว่า “หนังสือภาพเล่มนี้สมบูรณ์แบบจนเรียกว่าเป็นบรรพบุรุษของหนังสือภาพทุกเล่มในสหรัฐอเมริกาก็ว่าได้ มันคือการปฏิวัติเล็กๆของหนังสือเล่มหนึ่ง ที่ปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของ การพิมพ์ หนังสือภาพสําหรับเด็กไปตลอดกาล The Carrot Seed นําเสนอทุกอย่างอย่างชัดเจน กระชับ แม่นยําในทุกรายละเอียด ทรงพลัง ไร้ที่ตําหนิ ไม่มีสักจุดเดียวที่ภาพ หรือคําพูดอยู่ผิดที่ทาง แม้แต่จุดเดียว หรือมีอยู่อย่างไร้ความหมาย ราวกับว่ามันกระโดดออกมาจากโลกของเด็กจริงๆ...ออกมาสดๆร้อนเลยทีเดียว”(ธีรวงศ์ ธนิษฐ์เวธน์ - แปล)

สําหรับตุ๊กตาหมีตัวเล็กๆที่ชื่อ คอร์ดูรอย เป็นหนังสือที่อายุน้อยที่สุดในชุดนี้ คือ ๕๐ ปี เนื้อหา ของคอร์ดูรอย มีความเป็นคลาสสิคในตัวเอง นักเขียนเข้าใจจิตใจของเ็กได้อย่างลึกซึ้ง รู้ว่าเด็กในโลกนี้ทุกคนต่างต้องการบ้านที่อบอุ่น ต้องการคนที่จะมารักและดูแล ต้องการการสัมผัสโอบกอด ซึ่งในเรื่องนี้ทั้งลิซ่าและตุ๊กตาหมีต่างมีความเข้าใจกันและกัน ตอนจบของเรื่องจึงมีภาพที่ดูอบอุ่น น่ารัก และประทับใจที่สุด

สําหรับภาพประกอบในเล่ม ที่มองผ่านๆเหมือนกับการวาดสีน้ํา วาดเส้นด้วยสีหมึกอย่าง ทั่วไป แต่แท้ที่จริง คือ ภาพพิมพ์ที่ใช้เทคนิคการแกะไม้ (Wood Cut) ก่อนลงสีน้ําอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเล่มนี้ได้รับการกล่าวถึงอย่างชื่นชมว่า เป็นงานแกะไม้ที่สวยงาม สามารถสร้างสรรค์ตัวละครได้อย่างอ่อนช้อยซึ่งเทคนิคนี้ทําได้ยากยิ่ง แต่ ดอน ฟรีแมน สามารถทําให้ใบหน้าของตุ๊กตาหมีคอร์ดูรอย และมนุษย์ทุกคนในเรื่อง ดูเกลี้ยงกลม มีอารมณ์ความรู้สึกและมีชีวิตชีวาที่สุดในบรรดาหนังสือเด็กที่ใช้เทคนิคนี้

 

ระพีพรรณ พัฒนาเวช