Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home การเล่นกับการเรียนรู้ ทักษะชีวิตที่ดีของลูกสร้างได้ด้วยสองมือพ่อแม่

ทักษะชีวิตที่ดีของลูกสร้างได้ด้วยสองมือพ่อแม่

โดย สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน นักเขียนรับเชิญ คัดจากจดหมายข่าวเด็กไท

ธรรมดาของคนเป็นพ่อแม่ที่ปรารถนาจะให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีที่สุด อะไรใครว่าดีขอให้บอก คนเป็นพ่อแม่ก็พยายามสรรหาสุดฤทธิ์ เพื่อมอบสิ่งที่คิดว่าดีที่สุดสำหรับลูกsuangmol.jpg

แต่เรื่องการสรรหาสุดฤทธิ์ที่ว่านั่นแหละ...ก็ถูกตั้งคำถามว่านั่นคือคำตอบว่ามอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกแล้วหรือ? เป็นสิ่งที่ต้องใช้เงินซื้อมาหรือไม่?...ถ้าใช่ แล้วก็ต้องเกิดคำถามตามมาอีกว่า เจ้าความปรารถนาที่ว่ายังต้องมีต่อไปเรื่อยๆหรือไม่

การมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูกผู้ เป็นที่รักไม่จำเป็นต้องมีบทสรุปเป็นสิ่งของ หรือเป็นเงินทอง หรือเป็นเพียงความสุขภายนอกที่ตอบสนองความต้องการในชีวิตเท่านั้น แต่น่าจะเป็นการสร้างสมดุลในชีวิตให้แก่ลูกได้อย่างเหมาะสม การสร้างทักษะชีวิตที่ดี ที่พร้อมให้แก่ลูก น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ที่เขาหรือเธอตัวน้อยจะได้รับเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตต่อไป

ทักษะชีวิตของมนุษย์มีหลายด้าน อยู่ที่เป้าหมายและแนวทางในการวางแผนของแต่ละครอบครัว ครอบครัวของดิฉันก็เช่นกัน ที่ปรารถนาจะมอบสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตให้แก่เจ้าลูกชายวัยประถมต้นสองคน หนึ่งในมิติที่ต้องการสร้างทักษะชีวิตที่ดีแก่ลูก ครอบครัวของเราเลือกทักษะทางด้านกีฬา ตั้งใจว่านำลูกเข้าสู่กีฬา นำกีฬาสู่ลูก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสนุกสนาน ผ่อนคลาย และมีทักษะชีวิตที่ดี โดยส่วนตัวเชื่อว่า “กีฬา” เป็นเรื่องที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาทักษะชีวิตมนุษย์ได้ในทุกๆด้าน

ครอบครัวของเราเอาเรื่อง “กีฬา” เป็นตัวตั้ง เพราะเชื่อเหลือเกินว่า กีฬาสามารถกีฬาสามารถสร้างทักษะชีวิตที่ดีให้กับลูกอย่างรอบด้าน ซึ่งจะว่าไปก็เป็นแผนการที่อยากให้ทุกคนในครอบครัวได้ออกกำลังกายด้วย และวิธีที่ได้ผลที่สุดก็คือเจ้าลูกชาย ๒ คน เป็นคนนำทางให้ผู้ใหญ่ในบ้านทุกคนได้เดินเข้าสู่เรื่องการกีฬาแบบต้องเต็มใจ เริ่มจากชวนลูกไปตีแบดมินตันโดยมีเพื่อนอีกครอบครัวหนึ่งที่มีลูกอยู่ในวัย เดียวกันเป็นการสร้างแรงจูงใจ ให้เด็กได้ตีแบดคู่กัน ส่วนผู้ใหญ่ก็ตีแบดด้วยกัน เรียกว่าได้ออกกำลังกายทั้งผู้ใหญ่ทั้งเด็ก จากนั้นก็ให้เขาได้สัมผัสกีฬาหลากหลายชนิดเพื่อที่จะได้สำรวจตรวจสอบว่าเขา ชื่นชอบกีฬาชนิดใดเป็นพิเศษหรือเปล่า

เจ้าคนโตวัย ๙ ขวบเศษของดิฉัน มีบุคลิกนิ่งๆไม่ชอบโลดโผน และไม่ชอบออกแรง ฉะนั้นเมื่อต้องเล่นกีฬาแบดมินตัน ก็จะยืนเฉยๆรอลูกมาถึงตัวถึงออกแรง ก็เลยไม่มีใครอยากเล่นด้วย พอเล่นกีฬากีฬาฟุตบอลก็ขออาสาเป็นผู้รักษาประตูท่าเดียว ตรงข้ามกับเจ้าคนเล็กวัย ๗ ขวบเศษ บุคลิกร่าเริง ชื่นชอบกีฬาทุกประเภท ที่ชอบมากเป็นพิเศษคือฟุตบอล เป็นตัววิ่งไล่ลูกชนิดไม่กลัวใคร

ด้วยบุคลิกที่แตกต่าง ดิฉันเลยต้องพึ่งพาเจ้าคนเล็กในการผลักดันพี่ชายให้เล่นกีฬาแบบมีชีวิตชีวา ด้วยสารพัดรูปแบบ หมายว่าจะทำให้เจ้าคนโตหันมาสนใจและเห็นประโยชน์จากีฬา ทั้งสองสมัครเข้าเป็นนักกีฬาฟุตบอลระดับประถมต้นของโรงเรียน เจ้าคนเล็กฟิตปั๋งคึกคักมากเป็นพิเศษ ชักชวนคนในบ้านมาเป็นนักฟุตบอลเพื่อเตะทีมกันทั้งบ้าน ประมาณว่าแบ่งข้างชายหญิงมีเจ้าลูกชายสองคนอยู่ข้างเดียวกับคุณพ่อ ในขณะที่ผู้หญิงมีดิฉัน คุณแม่วัย ๖๐ เศษ ที่ต้องมาเล่นเป็นผู้รักษาประตู และพี่แก้ว(ผู้ช่วยทำความสะอาดบ้าน) ถูกเกณฑ์ให้มาเล่นทีมฟุตบอลกับเจ้าลูกชายทุกเย็น

เป็นอันว่าได้รับอานิสงส์และความครื้นเครงจากความอยากเล่นกีฬาของเจ้าลูกชายคนเล็กกันทั้งบ้าน พอมีค่ายยุวชนคนรักกีฬาเจ้าลูกชายคนเล็กของดิฉันไม่รอรี เลือกที่จะเข้าร่วมค่ายช่วงปิดเทอมและชักจูงจนพี่ชายคล้อยตามไปเล่นกีฬาว่าย น้ำช่วงเช้า และเล่นฟุตบอลช่วงบ่าย ผลพวงของการเล่นกีฬาของเขาทั้งสองแทบไม่ต้องพูดถึงประโยชน์ทั้งทางด้านร่าง กาย เพราะชัดเจนเรื่องทักษะที่มีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ ชัดพอๆกับความดำที่โดดเด่นเหลือหลาย

แต่สิ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือพัฒนาการ ทางด้านจิตใจที่เจ้าสองคนของดิฉันมีความสุข เบิกบาน และได้เพื่อนใหม่ที่รักในการกีฬาเช่นกัน เจ้าคนโตที่เคยอืดอาดไม่ชอบใช้แรง ก็ได้แรงฮึดและกำลังใจจากคนรอบข้าง บวกกับความรู้สึกกลัวเสียฟอร์มน้องชาย ก็เริ่มเอาจริงเอาจังมากขึ้น สนใจกีฬามากขึ้น และเรียนรู้ที่จะปรับปรุงทักษะต่างๆให้ดีขึ้น

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ดิฉันต้อง การเน้นย้ำก็คือ เรื่องทักษะทางด้านอื่นๆที่มีพัฒนาการไม่ได้ยิ่งหย่อนกัน และเป็นเป้าหมายที่ดิฉันปรารถนาคือ การเล่นกีฬาเพื่อการกีฬา และมีนิสัยเป็นนักกีฬา เพราะปรารถนาให้เขานำคำว่าการเป็นนักกีฬาที่ดี จะพัฒนาทักษะในการใช้ชีวิตได้ในอนาคต ทั้งเรื่องการทำงานเป็นทีม การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้จักแพ้ชนะ และการปรับตัวให้อยู่ร่วมในสังคมที่ดี โดยไม่เน้นเรื่องเป้าหมายของการแข่งขันเป็นเป้าหมายสูงสุดในชีวิต

การออกแบบชีวิตให้กับลูกเพื่อมีทักษะ ในชีวิตที่ดี เป็นเรื่องที่ต้องเริ่มต้นจากคนเป็นพ่อแม่ และต้องเริ่มในขณะลูกยังเล็ก ต้องได้รับการปลูกฝังที่ดีบวกกับทัศนคติที่ดี ก็จะสามารถส่งเสริมให้ลูกตัวน้อยของเราเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่ ดีในการดำรงชีวิต

ชีวิตที่วุ่นวายอยู่ในทุกวันนี้ บางครั้งเราอาจจะต้องถามตัวเองด้วยเหมือนกันว่าเกิดจาก“โจทย์ชีวิต”ของคนเป็นพ่อแม่ด้วยหรือเปล่าว่าวางเป้าหมายชีวิตลูกไว้อย่างไร ความปรารถนาดีของคนเป็นพ่อแม่ แท้จริงแล้วต้องการอะไร? เราเลี้ยงลูกอย่างไร ออกแบบอย่างไร สร้างทักษะชีวิตลูกไว้อย่างไร....ก็ได้อย่างนั้นค่ะ