Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home การเล่นกับการเรียนรู้ การเล่นของเด็กๆ

การเล่นของเด็กๆ

การเล่นของเด็กๆ
บทความโดย ธีรวงศ์ ธนิษฐ์เวธน์ เลขาธิการ สมาคมไทสร้างสรรค์ คัดจากจดหมายข่าวเด็กไท

ไม่ทราบว่านานเท่าไรแล้วที่การเล่นของเด็กๆ แทบจะกลายเป็นสิ่งแปลกประหลาดในสังคมของเรา กระทั่งเมื่อกล่าวถึงการเล่นกลับผู้ใหญ่ในวันนี้แล้ว มีจำนวนไม่น้อยที่มองเห็นการเล่นของเด็กเป็นแค่ความสนุกสนานชั่วคราวที่ไม่มีความหมายอื่นร่วมอยู่ด้วย

การนิยามการเรียนรู้สำหรับเด็กจึงกลับกลายหมายถึงการบรรจุข้อมูลจำนวนมากลงไปในสมองน้อยๆ ของเด็กๆ และมิได้หมายถึงสิ่งที่เรียกว่าปัญญาแต่อย่างใด

เราจึงมองการให้การศึกษาและความสามารถพื้นฐานของมนุษย์อย่างแยกส่วน การศึกษาในความหมายของผู้ใหญ่จำนวนมากจึงหมายถึงการนั่งลงอ่าน เขียน และรับข้อมูล ซึ่งเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นที่โรงเรียน ไม่ใช่ที่บ้าน เพราะการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน การเล่นของเด็กๆ เป็นกิจกรรมที่เปล่าประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการเล่นนั้นไม่เกิดมรรคผลใดต่ออาชีพและรายได้ในอนาคต

ผลปรากฎที่เห็นอยู่วันนี้คือ เรามีบ้านเมืองที่เจริญและทันสมัยในความหมายข้างต้น แต่ไม่ปลอดภัยและไม่ค่อยได้ประโยชน์ ไม่มีที่ทางให้เด็กๆเหลืออยู่ เพราะพื้นที่ทางธรรมชาติได้จัดสรรไปหมดแล้ว ที่มีอยู่ก็เต็มไปด้วยกิจกรรมของผู้ใหญ่ไม่ปลอดภัย เด็กเล่นไม่ได้หรือเล่นได้อย่างจำกัด ผู้คนในเขตเมืองจำต้องพาลูกๆ ไปเล่นในห้างสรรพสินค้า ที่ที่เต็มไปด้วยกิจกรรมทางการค้าสำหรับผู้คนทุกรุ่น ทุกวัย รวมทั้งเด็กๆ เข้าไปรับการปลูกฝังค่านิยมการบริโภค ความทันสมัย ความเจริญ และของใหม่อยู่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เล็กจนโต กลายเป็นมนุษย์ผู้ใหญ่ที่บิดเบี้ยวและสับสน มาสร้างความบิดเบี้ยวและสับสนให้คนอื่นๆ ต่อไป

ความเป็นจริงที่ว่าเด็กๆ เรียนรู้ผ่านการเล่นจึงเป็นความเป็นจริงที่ผู้ใหญ่จำนวนมากไม่รู้ บ้างก็ไม่อยากรับรู้ บ้างก็ไม่ต้องการยอมรับและบ้างก็ไม่อยากใส่ใจ เพราะเหนื่อยที่ต้องวิ่งตาม อยู่นิ่งๆหน้าโทรทัศน์และดี ดูแลง่ายและปลอดภัยดีโดยที่แท้จริงแล้วการสูญเสียโอกาสเล่นในวัยเด็กนั้นเป็นความสูญเสียที่ประมาทมิได้ เพราะมนุษย์ตัวเล็กๆ เหล่านี้ซึมซับมิตรภาพ ความรัก การแบ่งปัน ความเอื้ออาทร พัฒนาทักษะการแก้ไขข้อขัดแย้ง พัฒนาความสามรถในการคิดสร้างสรรค์ ความเชื่อมั่นต่อมนุษย์และความสามารถทางสมองจากการเล่นทั้งสิ้น และทั้งหลายทั้งปวงนี้เกิดขึ้นได้ในวัยเด็กเท่านั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกเมื่อเวลาผ่านเลยไปแล้ว

ดังนั้น การจำกัดโอกาสการเล่นของเด็กจึงเป็นการจำกัดโอกาสการเติบโตที่มีผลต่อเด็กไปตลอดชีวิตส่งผลกระทบต่อบุคคลแวดล้อมจำนวนมหาศาลที่ผ่านเข้ามาสัมผัสเขาตลอดช่วงชีวิตที่พวกเขาและเธอดำรงอยู่

copy2_of_images.jpegองค์กรจำนวนมากจึงได้พยายามผลักดันให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองคิดถึงโอกาสที่สำคัญอย่างยิ่งยวดนี้โดยผลักดันให้ประเทศต่างๆลงสัตยาบรรณ ถือปฎิบัติและให้ความสำคัญต่อการจัดพื้นที่เล่นให้เด็กๆอย่างเหมาะสมและพอเพียง ไม่ว่าเด็กๆเหล่านั้นจะเกิดกลางกรุงหรือกลางทุ่ง ก็พึงจะมีโอกาสเล่นได้เท่าๆกัน (นี่อาจจะเป็นหนึ่งในไม่กี่โอกาสที่เด็กบ้านนอกของเมืองไทยมีมากว่าเด็กเมือง และคงเป็นเหตุให้มนุษย์ที่เกิดและเติบโตที่บ้านนอกดูแตกต่างกับมนุษย์เมืองกรุง)

การเล่นจึงไม่ได้เป็นแค่เพียงการเรียนรู้ที่ตรงไปตรงมาที่สุดเท่านั้น แต่ยังเป็นกระบวนการกล่อมเกลาที่สัมฤทธิผลอย่างวิเศษสุด การเล่นเป็นโอกาสให้เด็กๆ ทำความเข้าใจต่อโลกและเข้าใจชีวิตอย่างเป็นจริง เพราะชิวิตนั้นไม่ได้มีแต่เสียงหัวเราะรื่นรมย์หากยังมีความผิดหวัง ขัดแย้ง เจ็บปวด และร้องไห้อยู่ด้วย เราผู้ใหญ่ก็สามารถหวังได้ว่าพวกเขาจะเติบโตแข็งแรง รับมือกับความไม่แน่นอนของชีวิตได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง แล้วเราก็สามารถนอนตาหลับ