Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home พัฒนาห้องสมุดโรงเรียน

กิจกรรมอ่านสนุกในห้องสมุด

โดย ระพีพรรณ พัฒนาเวช

ห้องสมุดมีอยู่ในทุกโรงเรียน ซึ่งมีขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้างแตกต่างกันไป เช่นเดียวกันกับมีเด็กเข้าบ้าง ไม่เข้าบ้าง การจัดตั้งห้องสมุดในโรงเรียนทุกแห่ง ต่างมีจุดประสงค์เดียวกันคือ เพื่อให้เป็นแหล่งค้นคว้าและเรียนรู้สำหรับนักเรียน และดังที่เขียนไว้ในตอน ‘ห้องสมุดอันน่ารื่นรมย์โรงเรียน’ ว่าปัจจุบันหน้าที่ของห้องสมุดได้เปลี่ยนไปแล้ว จึงไม่เพียงเป็นแหล่งค้นคว้าเท่านั้น แต่ห้องสมุดจะต้องเป็นสถานที่แห่งการอ่านเพื่อความสุขและความสนุกด้วย

เราต่างทราบกันดีว่า หัวใจสำคัญของห้องสมุดทุกแห่งคือ บรรณารักษ์ บรรยายกาศและหนังสือ

DSCF2416.jpgแม้ทั้งสามสิ่งที่กล่าวมาจะมีความสำคัญ แต่ที่สำคัญที่สุดคือตัวบรรณารักษ์ เพราะบรรณารักษ์จะเป็นผู้กุมชะตากรรมของห้องสมุด (ไม่ใช่ผอ.) บรรณารักษ์คือผู้ที่จะสามารถเชิญชวนเด็กๆ มาอ่านหนังสือ หรือกำจัดเด็กออกจากห้องสมุด  บรรณารักษ์คือผู้ที่รู้จักหนังสือดีที่สุด บรรณารักษ์คือผู้ที่จะต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ห้องสมุดเป็นไปตามวัตถุประสงค์

หลังจากบรรณารักษ์ได้จัดการปรับปรุงสถานที่แล้ว เริ่มรู้จักหนังสือในห้องสมุดของตัวเองมากขึ้นแล้วจากตอน ‘ห้องสมุดอันน่ารื่นรมย์ฯ’ คราวนี้ก็มาถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เพื่อให้เกิดบรรยากาศการอ่านและการยืมหนังสืออย่างคึกคัก ซึ่งเราจะย้อนกลับไปยกตัวอย่างกลุ่มหนังสือที่แนะนำเอาไว้ในตอนที่แล้ว (หรือบรรณารักษ์สามารถจัดกลุ่มเองได้ตามสะดวก)

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมอ่านสนุกทุกๆ วัน

เมื่อได้รายชื่อหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือวิชาการมาแล้ว เช่น กลุ่มหนังสือที่ครูอ่านแล้วจึงอยากบอกต่อ กลุ่มหนังสือที่ครูคณิตศาสตร์แนะนำ  หนังสือที่ผู้อำนวยการโรงเรียนแนะนำ  หนังสือแนะนำสำหรับนักเรียนที่ไม่ชอบอ่าน หนังสือดีที่เด็กชั้นป.๕ ต้องไม่พลาด  หนังสือแนะนำสำหรับนักเรียนที่เป็นลูกคนสุดท้อง ฯลฯ เราก็สามารถนำมาจัดเป็นกิจกรรมอ่านสนุกประจำสัปดาห์ได้แล้ว

เริ่มจากการจัดวางหนังสือเหล่านี้ในพื้นที่ที่เตะตา มองเห็นง่าย หยิบยืมสะดวก ซึ่งต่อไปเราอาจจะจัดพื้นที่ไว้เป็นพื้นที่ promotion ตลอดกาลก็ได้ ในกรณีที่โรงเรียนใดมีหนังสือเพื่อแนะนำจำนวนน้อยเกินไป ก็สามารถจัดหนังสือหลายกลุ่มไว้ในพื้นที่เดียวกัน ช่วงเวลาเดียวกันเพื่อให้เกิดความหลากหลาย

เมื่อจัดหาพื้นที่ได้แล้ว เริ่มตกแต่งให้ดึงดูดสายใจ เช่น สแกนขยายหน้าปกหนังสือให้ใหญ่ขึ้นเล็กน้อย แต่อย่าขยายใหญ่จนภาพแตกเพราะจะไม่น่าดู พิมพ์คำพูดแนะนำ เรียกร้อง ชวนเชิญ ท้าทายสั้นๆ จากบรรณารักษ์และผู้แนะนำด้วยตัวพิมพ์ขนาดใหญ่ แล้วแปะติดผนังเพื่อตกแต่ง

จัดหาเวลาที่เหมาะสม แล้วประกาศเชิญชวนเด็กๆ เข้ามาร่วมกิจกรรม โดยจัดสรรเวลาที่เด็กส่วนใหญ่สะดวก เช่น ในเวลาพักเที่ยง และต้องกำหนดเวลาให้ชัดเจน เมื่อถึงเวลาแล้วต้องเริ่มกิจกรรมทันทีไม่ว่าจะมีนักเรียนจำนวนเท่าใด  ที่สำคัญต้องจัดกิจกรรมอย่างเรียบง่าย สั้นกระชับ ไม่ต้องมีพิธีการใดๆ เพราะเรามุ่งเน้นให้เป็นกิจกรรมที่เด็กจะต้องสนุก และอยากมาร่วมโดยสมัครใจ ในช่วงเริ่มแรกอาจจะมีเด็กเข้าร่วมไม่มากนัก บรรณารักษ์ไม่ต้องเป็นกังวล เราควรค่อยๆ หาจุดบกพร่องหรือจุดอ่อนว่าอยู่ที่ตรงไหน แล้วค่อยแก้ไข เช่น ช่วงเวลาเหมาะสมหรือไม่ เด็กๆ รับรู้ทั่วถึงหรือเปล่า จำเป็นต้องมีวิธีเรียกร้องความสนใจอะไรเพิ่มเติม เป็นต้น

ขอให้บรรณารักษ์คำนึงไว้เสมอว่า การจัดการห้องสมุดในแต่ละแห่งนั้น ไม่จำเป็นต้องทำเหมือนๆ กัน และไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัวสามารถปรับแก้ได้เสมอ ไม่มีสิ่งใดถูกที่สุดหรือผิดที่สุด เพียงให้เหมาะสมกับนักเรียนของเราเท่านั้น

เมื่อได้เวลา บรรณารักษ์จะต้องมีวิธีเรียกร้องความสนใจของเด็ก โดยมิใช่การใช้อำนาจบังคับ แต่เริ่มด้วยท่าทีที่เป็นมิตรและผ่อนคลาย ให้คิดเสมือนว่า นักเรียนคือลูกค้าของห้องสมุด เราจะทำอย่างไรให้ลูกค้าพอใจ ไม่ใช่ทำให้ลูกค้ากลัวหงอ เพราะวันหน้าลูกค้าจะไม่มาอีกถ้าไม่บังคับ แล้วบรรยากาศการอ่านอันน่ารื่นรมย์ก็จะไม่มีวันเกิดขึ้น

DSCF2236.jpg

ขอให้บรรณารักษ์คำนึงไว้เสมอว่า การจัดการห้องสมุดในแต่ละแห่งนั้น ไม่จำเป็นต้องทำเหมือนๆ กัน และไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัวสามารถปรับแก้ได้เสมอ ไม่มีสิ่งใดถูกที่สุดหรือผิดที่สุด เพียงให้เหมาะสมกับนักเรียนของเราเท่านั้น

หลังจากรวบรวมเด็กให้มุ่งความสนใจมาที่ตัวบรรณารักษ์แล้ว จึงค่อยเริ่มต้นพูดคุย อาจจะเริ่มว่า “วัน นี้เป็นวันแรกที่เราได้ปรับปรุงห้องสมุดใหม่ เพื่อให้นักเรียนได้อ่านหนังสืออย่างมีความสุข............(จากนั้นพูด ชื่นชมนักเรียนสักเล็กน้อย) และอยากแนะนำหนังสืออ่านสนุกมากๆ เพราะครูเคยอ่านมาแล้ว เรื่อง (ชื่อหนังสือ โชว์หนังสือ) ท่านผอ. ก็อ่านเรื่องนี้ (ชื่อเรื่อง โชว์หนังสือ)” ครูคนนั้นคนนี้ก็เคยอ่านเรื่องนั้นเรื่องนี้  “ และที่อยากแนะนำมากที่สุดคือ เล่มนี้ .... เหมาะสำหรับคนไม่ชอบอ่านหนังสือ” พร้อมยกหนังสือให้เด็กๆ ได้เห็นทุกเล่ม “หนังสือทุกเล่ม นักเรียนสามารถขอยืมไปอ่านได้ แต่ตอนนี้ครูจะเล่านิทานให้ฟังหนึ่งเรื่อง” หลังจากนั้นบรรณารักษ์เล่านิทานสนุกๆ ให้เด็กฟัง ก่อนจะปล่อยให้เด็กได้เลือกอ่านหนังสือตามใจชอบ

วันต่อมา ก็ให้มีกิจกรรมเช่นเดิม เริ่มต้นด้วยการพูดคุย ชักชวนและตามด้วยการเล่านิทานให้เด็กฟังหนึ่งเรื่อง เมื่อทำเช่นนี้สม่ำเสมอ จนกระทั่งเด็กๆ เริ่มคุ้นเคยกับกิจกรรมแล้ว เมื่อถึงเวลาพวกเขาจะพากันมาเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นิทานที่ครูเล่าและหนังสือที่ครูแนะนำ จะต้องสอดคล้องกับประสบการณ์และความอยากรู้อยากฟังของเด็กเป็นสำคัญ มิใช่เรื่องอะไรก็ได้ตามใจครู

Add comment

You can add a comment by filling out the form below. Plain text formatting.

Info
Note: you are not logged in. You may optionally enter your username and password below. If you don't enter your username and password below, this comment will be posted as the 'Anonymous User'.
(Required)
(Required)
(Required)
Enter the word