Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home โทรทัศน์กับเด็ก โทรทัศน์พิฆาตสมาธิเด็ก

โทรทัศน์พิฆาตสมาธิเด็ก

โทรทัศน์พิฆาตสมาธิเด็ก
แต่ละวันมีงานต่างๆที่พ่อแม่จะต้องทำมากมาย ดังนั้นพ่อแม่จำนวนไม่น้อยจึงต้องใช้โทรทัศน์เป็นผู้ช่วยเลี้ยงเด็ก และมันก็พร้อมรับใช้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยบ่น ไม่เคยขอค่าจ้างและดียิ่งกว่านั้น .. มันทำให้เด็กๆเพลิดเพลินและจดจ่อได้ต่อเนื่อง แต่พี่เลี้ยงกล่องนี้ ดูแลลูกๆของเราได้อย่างดีจริงๆหรือไม่ มันสั่งสอนลูกของเราอย่างไร มันปลูกฝังอะไรให้แก่ลูกของเรา

งานวิจัยของมูลนิธิครอบครัว Kaiser ชื่อ “จากศูนย์ถึงหก : สื่ออีเล็คทรอนิคส์ในชีวิตเด็กอ่อน ทารก และเด็กอนุบาล” (Zero to Six: Electronic Media in the Lives of Infants, Toddlers and Preschoolers) ที่ได้รับการเผยแพร่เร็วๆนี้ได้ฉายภาพการใช้สื่อในหมู่ผู้ปกครองและเด็กเล็กๆ ดังนี้

  • เด็ก 80% ใช้สื่ออิเลคทรอนิคส์ ไม่ว่าจะเป็น TV หรือเกมส์

• เด็ก 77% เปิดโทรทัศน์ได้เอง

  • Unknown.jpegเด็ก 2ใน 3 มีรายการที่ชอบหรือใช้รีโมทค้นหาช่องเอง

• เด็ก 65% อยู่ในบ้านที่โทรทัศน์เปิดครึ่งหนึ่งของเวลาที่อยู่ด้วยกันหรือมากกว่า

• เด็ก 36% อยู่ในบ้านที่เปิดโทรทัศน์อยู่ตลอดเวลา (เรียกว่า “กลุ่มดูอย่างหนัก”)

• เด็ก 77% ที่อยู่ในบ้านที่เปิดโทรทัศน์ตลอดเวลา ได้ดูโทรทัศน์ทุกวันและมีแนวโน้มอ่านหนังสือลดลง

  • เด็กๆในบ้านที่เปิดโทรทัศน์อยู่ตลอดเวลา มีแนวโน้มที่จะไม่อ่านหนังสือเลยในระยะยาว
  • เด็กในกลุ่มอายุ 4-6 จากครอบครัวที่เปิดโทรทัศน์ตลอดเวลา อ่านหนังสือออก 34% ขณะที่เด็กอื่นๆอ่านหนังสือออก 56%

• พ่อแม่ 59% ของเด็กผู้ชาย กลุ่มอายุ  4-6 ปี กล่าวว่าลูกเลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าวตามที่เห็นจากโทรทัศน์

• 30%  ของเด็กวัยต่ำกว่า 2 ปี มีโทรทัศน์ในห้องนอน(อเมริกา)

(โปรดอย่าลืมว่านี่เป็นตัวเลขของเด็กวัยเด็กอ่อนถึงหกขวบเท่านั้น)


ผลกระทบต่อเด็ก

29tvaddiction291111.jpgมีข้อโต้แย้งมากมายว่าการดูโทรทัศน์ส่งผลต่อเด็กๆในวัยที่สำคัญที่สุดนี้หรือไม่ แต่ก็มีหลักฐานที่ได้จากการศึกษามากมายชี้ให้เห็นถึงผลอันไม่พึงปรารถนา อาทิ ความสัมพันธ์ของการเกิดโรคอ้วนในเด็กกับการดูโทรทัศน์ เนื่องจากไม่ได้เคลื่อนไหวเพียงพอ รวมถึงการบริโถคอาหารขยะเป็นต้น ลองพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ดู

• สัดส่วนเด็กอเมริกันวัย 6 ถึง 11ปี ที่เป็นโรคอ้วนในปี 1963: (4.5%) เพิ่มขึ้นเป็น 14% ในปี 1993

  • มีโฆษณาอาหารขยะ 202 ครั้งในช่วงการ์ตูน 4 ชั่วโมงของเช้าวันเสาร์(อเมริกา)
  • การศึกษาของกุมารแพทย์ชิ้นหนึ่งที่เผยแพร่ในเดือนมิถุนายน 2002 ชี้ว่า เกือบ 40% ของเด็กที่มีโทรทัศน์ในห้องนอนมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วน นอกเหนือจากการดูโทรทัศน์มากกว่าเด็กที่ไม่มีโทรทัศน์ในห้องนอน ถึง 4.6 ชั่วโมง/สัปดาห์
  • นอกจากนั้น ความเข้าใจที่ว่าการให้เด็กดูสื่ออิเลคทรอนิคส์ตั้งแต่เด็กอาจช่วยกระตุ้นการเชื่อมต่อสัญญาณสมองนั้นหรือสมาธินั้นอาจจะไม่แน่นัก เพราะโฆษณาคั่นรายการทุกๆ 7 นาที ก็ส่งผลต่อการสมาธิเช่นกัน คณะผู้วิจัยได้รับการยืนยันเรื่องนี้จากนักเล่านิทานอ่านหนังสือให้เด็กฟังว่า “เด็กๆมักจะอยู่นิ่งต่อไปไม่ได้หลังจากฟังนิทานเป็นเวลา 7 นาที” ซึ่งเท่ากับเวลาหยุดพักโฆษณาพอดี
  • ในบทความชื่อ “โทรทัศน์พิฆาตสมาธิทารก”  (Toddler TV Time May Shorten Attention) ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาด้านสมาธิของเด็กๆและการดูโทรทัศน์ว่า “ผู้เชี่ยวชาญนั้นรู้เกินกว่าจะเรียกว่า “รู้” ด้วยซ้ำว่าโทรทัศน์ไม่ใช่สิ่งที่ดีสำหรับเด็ก และรายงานการศึกษาใหม่ๆมากมายล้วนชี้ว่ามันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสมาธิของเด็ก ทั้งยังมีผลตั้งแต่ก่อนวัย 1 ขวบด้วยซ้ำ” (HealthDay Reporter)
  • 20070208_pid30378_aid30377_christakis_w400.jpg Dr. Dimitri Christakis  ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมทางสุขภาพเด็ก มหาวิทยาลัยวอชิงตัน กล่าวว่า “หากเด็กดูโทรทัศน์ตั้งแต่ก่อน 3 ขวบ จะส่งผลให้พวกเขามีปัญหาด้านสมาธิตอน 7 ขวบ” ในประเด็นนี้ มีคณะวิจัยคณะหนึ่งทำงานลงมือค้นข้อมูลเด็กจำนวน 1,300 คน โดยเปรียบเทียบอัตราการอยู่หน้าโทรทัศน์ของเด็กๆในช่วง 3 ปีแรกของชีวิตและปัญหาสมาธิเมื่อถึงวัย 7 ขวบ พบว่า “จำนวนชั่วโมงเฉลี่ยต่อวันที่เด็กดูโทรทัศน์นั้น หากเพิ่มขึ้น 1 หน่วย (อาทิ จากวันละ 2 ชั่วโมง เพิ่มเป็น 3 ชม.) จะสร้างปัญหาด้านสมาธิเด็กเท่ากับ 10 หน่วย หมายความว่า หากเด็กอายุ 1-3 ปีดูโทรทัศน์วันละ 8 ชั่วโมง ก็จะมีโอกาสเป็นโรคสมาธิสั้น 80% เปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ดูโทรทัศน์ที่มีค่าเป็น 0%)

นอกจากนั้น สถาบันทางการศึกษาและพัฒนาการเด็กจำนวนมากเรียกโทรทัศน์ว่าเป็นสิ่งเสพติด คล้ายยาเสพติด ดังนั้นหากเรียกว่า “ยา” ก็ต้องใช้อย่างรับผิดชอบและควบคุม ส่วนเมื่อเป็น “สิ่งเสพติด” ก็ต้องหลีกเลี่ยง เพราะหากเสพจนติดแล้วก็จะเสพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีลด