น้องหมีเล่นกับพ่อ
น้องหมีเล่นกับพ่อ เป็นหนังสือที่ถูกใจเด็กเล็กๆมาก เพราะน้องหมีก็คือเด็กๆ และพ่อหมีก็คือ คุณพ่อหรือคุณแม่หรือผู้ใหญ่คนใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กหนังสือเล่มนี้มีตัวหนังสือไม่มากแต่สื่อสารความสนุกกับเด็กได้ดี ภาพดูง่าย ได้อารมณ์แต่ไม่ซับซ้อน จึงเหมาะสำหรับเด็กเล็ก
น้องหมีก็เหมือนเด็กๆโดยเฉพาะเด็กผู้ชายท่ีชอบ เล่นโลดโผน ในขณะที่พ่อหมีมีภาพลักษณ์ของความอบอุ่น และความมั่นคง เด็กๆจะรู้สึกได้ถึงความปลอดภัยเมื่อน้องหมีกำลังเล่นกับพ่อ
เราจะสังเกตเห็นว่าหนังสือภาพสำหรับเด็กท่ี แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกนั้นมีไม่มากนัก ท้ังท่ีความเป็นจริงแล้วเด็กๆก็ชอบเล่นกับพ่อมากกว่าหรือเท่าๆกับเล่นกับแม่ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมน้องหมีเล่นกับพ่อ จึงเป็นที่ถูกอกถูกใจเด็กเล็กๆมาตลอด
การใช้หนังสือน้องหมีเล่นกับพ่อ เพียงคุณครูอ่านออกเสียงตามปกติให้เด็กๆและทิ้งเวลาให้เด็กๆได้ดูภาพ อย่างเต็มตาและจุใจอาจจะใช้วิธีขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว หนังสือเล็กน้อยไปตามเนื้อเรื่องเช่น
น้องหมียืนบนเท้าพ่อ โยกเยก โยกเยก
(คุณครูโยกหนังสือตามจังหวะ)
น้องหมีอยู่สูงลิบเลย สูงดี สูงดี
(คุณครูชูหนังสือสูงขึ้น สูงขึ้น)
หลังจากอ่านหนังสือให้เด็กๆฟังจบแล้ว คุณครูก็สามารถพาเด็กเล่นบทบาทสมมุติเป็นน้องหมีบ้าง เป็นพ่อหมีบ้าง แต่หากแนะนําให้คุณครูเล่นตามน้องหมีทุกอย่างก็คงไม่ไหว เพราะครูคงอาจจะหมดแรงเสียก่อน กิจกรรมจากน้องหมีที่เล่น ง่ายและเล่นพร้อมกันได้หลายคน คือ เล่น รถไฟ ปู๊น ปู๊น ฉึกฉัก ฉึกฉัก เป็นกิจกรรมท่ีช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ ฝึกการ ทรงตัว หรือ การนั่งลงฟังนิทานแบบน้องก็ใช้เป็นกิจกรรมเก็บเด็กได้ดี
นอกจากกิจกรรมที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้แล้ว คุณครูสามารถคิดหาวิธีการใช้น้องหมีเล่นกับพ่อหรือคิดกิจกรรมการ เรียนรู้เพิ่มเติมต่อไปอีก ให้คุณครูเชื่อไว้เสมอว่าหนังสือหนึ่งเล่มใช้ได้มากกว่าหนึ่งวิธี