หนังสือที่เด็กไม่อ่าน
หนังสือส่วนใหญ่ในห้องสมุดโรงเรียนไม่มช่หนังสือที่เด็กชอบอ่าน
#สามก๊ก vs. อาร์ทิมิส ฟาวล์
#ต้องก้าวให้พ้น "หนังสือมาตรฐาน"
#หนังสือคือความจำเป็นพื้นฐานที่รัฐต้องจัดสรรให้เด็กทุกคน
นอกจากรัฐจะไม่จัดหนังสือให้เด็กๆแล้ว การอ่านของเด็กไทยยังจะไปไหนไม่ได้ถ้าเราหนี ไม่พ้น "หนังสือมาตรฐาน" ขณะที่เราพูดกันติดปากว่าโลกเปลี่ยน สื่อเปลี่ยน เครื่องมือเปลี่ยน และการอ่านของเด็กๆเปลี่ยนนั้น
หนังสือในห้องสมุดของเรากลับไม่ได้เปลี่ยนไปเลย
เด็กๆเดินเข้าห้องสมุดในโรงเรียนก็จะพบกับ "หนังสือมาตรฐาน" เหล่านี้
สามก๊ก สังข์ทอง ราชาธิราช ขุนช้างขุนแผน รามเกียรติ์ นิราศฯ ศิวาราตรี นครวัดนครธม วรรณคดี
จึงต้องถามว่า มีเด็กอ่านกี่คน
และก่อนที่จะอ่านอะไรพวกนี้ได้ เขาจะต้องผ่านอะไรมาบ้าง
ที่หลายคนบอกว่าจะต้องให้เด็กอ่านทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น
จนถึงวันนี้ ก็ยังไม่เห็นใครบอกได้ชัดๆว่าจะพาเขาอ่านอย่างไร
..................................
หลายปีก่อน ในเวลาที่เด็กๆยังอ่านหนังสือกันเอง มีสำนักพิมพ์หัวก้าวหน้า ที่ก้าวทันเด็กเช่น สนพ.แจ่มใส ผลิตหนังสือวัยรุ่น ถูกใจวัยรุ่น แต่ผู้ใหญ่ไม่ชอบ เพราะเนื้อหาสุ่มเสี่ยงและบางทีก็โป๊ไปหน่อย แต่ทว่าขายดิบขายดี จนมีคนพยายามทำตาม(แต่ไม่สำเร็จ)
ในเวลาใกล้ๆกัน สนพ.นานมี พิมพ์หนังสือการ์ตูนความรู้ สารพัดชุด ออกมาขายได้มากมายเพราะถูกใจเด็กๆวัยประถมฯ แต่เมื่อเด็กประถมฯรุ่นต่อมาไม่อ่านการ์ตูนความรู้กันอีกแล้ว ทาง สนพ.ก็ต้องลดการผลิตลงเรื่อยๆ ส่วน สนพ.แจ่มใส ก็หันไปผลิตสินค้าในกลุ่มอื่นๆ เพราะไม่มีลูกค้ารุ่นใหม่มาทดแทน
..................................
แต่ที่ห้องสมุดที่รัฐเป็นเจ้าของไหนๆก็ตาม พอมีงบเข้ามาบ้างก็จะซื้อแต่หนังสือ "แนวมาตรฐาน"
และไม่มีใครซื้อหนังสือดังๆเหล่านี้ (ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ)
"ดาวบันดาล" The fault in our Stars / ของ จอห์น กรีน John Green
"เพอร์ซีย์ แจ็กสัน" ของ ริค รีโอเดน
"อาร์ทิมิส ฟาวล์" ของ อีออยน์ โคลเฟอร์ ( Eoin Colfer)
"บลัดเล่ย์ เด็กเกเรหลังห้องเรียน" ของ หลุยส์ ซัคเกอร์ (Louis Sachar)
"ยจด. ยักษ์ใจดี (The BFG)" ของ โรอัลด์ ดาห์ล (Roald Dahl)
"มัจฉานุผจญภัย" ของ คีตกาล
แต่ก็น่าเห็นใจ เพราะพวกเขาไม่รู้จักหนังสือ ไม่รู้ว่าแบบไหน เล่มไหนเด็กจะชอบ เพราะตัวเองก็ไม่เคยอ่าน เขาจึงเลือกซื้อแต่ "หนังสือมาตรฐาน" ที่ตัวเองรู้จัก
หมายเหตุ : การล็อคร้าน ล็อครายการจัดซื้อมาจากหน่วยเหนือเป็นอีกปัญหาที่ใครๆก็รู้
#ต้องก้าวให้พ้น "หนังสือมาตรฐาน"
#หนังสือคือความจำเป็นพื้นฐานที่รัฐต้องจัดสรรให้เด็กทุกคน
นอกจากรัฐจะไม่จัดหนังสือให้เด็กๆแล้ว การอ่านของเด็กไทยยังจะไปไหนไม่ได้ถ้าเราหนี ไม่พ้น "หนังสือมาตรฐาน" ขณะที่เราพูดกันติดปากว่าโลกเปลี่ยน สื่อเปลี่ยน เครื่องมือเปลี่ยน และการอ่านของเด็กๆเปลี่ยนนั้น
หนังสือในห้องสมุดของเรากลับไม่ได้เปลี่ยนไปเลย
เด็กๆเดินเข้าห้องสมุดในโรงเรียนก็จะพบกับ "หนังสือมาตรฐาน" เหล่านี้
สามก๊ก สังข์ทอง ราชาธิราช ขุนช้างขุนแผน รามเกียรติ์ นิราศฯ ศิวาราตรี นครวัดนครธม วรรณคดี
จึงต้องถามว่า มีเด็กอ่านกี่คน
และก่อนที่จะอ่านอะไรพวกนี้ได้ เขาจะต้องผ่านอะไรมาบ้าง
ที่หลายคนบอกว่าจะต้องให้เด็กอ่านทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น
จนถึงวันนี้ ก็ยังไม่เห็นใครบอกได้ชัดๆว่าจะพาเขาอ่านอย่างไร
..................................
หลายปีก่อน ในเวลาที่เด็กๆยังอ่านหนังสือกันเอง มีสำนักพิมพ์หัวก้าวหน้า ที่ก้าวทันเด็กเช่น สนพ.แจ่มใส ผลิตหนังสือวัยรุ่น ถูกใจวัยรุ่น แต่ผู้ใหญ่ไม่ชอบ เพราะเนื้อหาสุ่มเสี่ยงและบางทีก็โป๊ไปหน่อย แต่ทว่าขายดิบขายดี จนมีคนพยายามทำตาม(แต่ไม่สำเร็จ)
ในเวลาใกล้ๆกัน สนพ.นานมี พิมพ์หนังสือการ์ตูนความรู้ สารพัดชุด ออกมาขายได้มากมายเพราะถูกใจเด็กๆวัยประถมฯ แต่เมื่อเด็กประถมฯรุ่นต่อมาไม่อ่านการ์ตูนความรู้กันอีกแล้ว ทาง สนพ.ก็ต้องลดการผลิตลงเรื่อยๆ ส่วน สนพ.แจ่มใส ก็หันไปผลิตสินค้าในกลุ่มอื่นๆ เพราะไม่มีลูกค้ารุ่นใหม่มาทดแทน
..................................
แต่ที่ห้องสมุดที่รัฐเป็นเจ้าของไหนๆก็ตาม พอมีงบเข้ามาบ้างก็จะซื้อแต่หนังสือ "แนวมาตรฐาน"
และไม่มีใครซื้อหนังสือดังๆเหล่านี้ (ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ)
"ดาวบันดาล" The fault in our Stars / ของ จอห์น กรีน John Green
"เพอร์ซีย์ แจ็กสัน" ของ ริค รีโอเดน
"อาร์ทิมิส ฟาวล์" ของ อีออยน์ โคลเฟอร์ ( Eoin Colfer)
"บลัดเล่ย์ เด็กเกเรหลังห้องเรียน" ของ หลุยส์ ซัคเกอร์ (Louis Sachar)
"ยจด. ยักษ์ใจดี (The BFG)" ของ โรอัลด์ ดาห์ล (Roald Dahl)
"มัจฉานุผจญภัย" ของ คีตกาล
แต่ก็น่าเห็นใจ เพราะพวกเขาไม่รู้จักหนังสือ ไม่รู้ว่าแบบไหน เล่มไหนเด็กจะชอบ เพราะตัวเองก็ไม่เคยอ่าน เขาจึงเลือกซื้อแต่ "หนังสือมาตรฐาน" ที่ตัวเองรู้จัก
หมายเหตุ : การล็อคร้าน ล็อครายการจัดซื้อมาจากหน่วยเหนือเป็นอีกปัญหาที่ใครๆก็รู้