Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home ทำไมต้องเล่น

ทำไมต้องเล่น

เขียนโดย ระพีพรรณ พัฒนาเวช กรรมการสมาคมไทสร้างสรรค์

การเล่น” คือธรรมชาติของเด็กๆทุกคน เด็กๆเรียนรู้ผ่านการเล่น เด็กๆมิได้ตั้งใจเล่นเพื่อการเรียนรู้ แต่พวกเขาเล่นเพื่อเล่น หากขณะที่เล่นนี้เอง เด็กๆจะได้พัฒนาทักษะ ได้เรียนรู้จักตัวเอง รู้จักธรรมชาติ และผู้คนที่อยู่แวดล้อมรอบตัวหรือสังคมนั่นเอง เด็กๆได้ประโยชน์อย่างมหาศาลจากการเล่น ทั้งการเล่นคนเดียว เล่นกับเด็กด้วยกัน หรือเล่นกับผู้ใหญ่ พ่อแม่ผู้ปกครอง โดยเฉพาะการเล่นกับผู้ใหญ่จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะได้อย่าง รวดเร็ว ในขณะที่ผู้ใหญ่เองก็ได้เรียนรู้จากธรรมชาติและสามารถเข้าใจเด็กๆได้ด้วยการ เล่นกับเด็ก

65323285M1.jpgการ “เล่น”มีค่าและมีความหมายมากกว่าที่ผู้ใหญ่คาดคิด นักจิตวิทยาบำบัดด้วยการเล่น ดร.ลอว์เรนซ์ เจ โคเฮน ชี้ให้เห็นว่า “การเล่นกับลูกนั้น เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่ได้เข้าถึงหัวจิตหัวใจของเด็ก เข้าถึงอาณาเขตภายในใจของเด็ก เพื่อความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด สร้างความเชื่อมั่นและมั่นคงให้เกิดขึ้นในใจของเด็กๆ การเล่นกับเด็กหรือเล่นกับลูกๆจะช่วยลดอาการก้าวร้าวหรือความขัดแย้งลงได้”

จากการศึกษากระบวน “การเล่น”ของเด็กแสดงให้เห็นว่าพวกเด็กๆ เรียนรู้จักสิ่งต่างๆได้อย่างหลายมิติ พวกเขาเรียนรู้ที่จะควบคุมตัวเอง และกริยาตอบโต้ กลุ่มเด็กๆที่เล่นตามกฏเกณฑ์และอยู่ในกติกามากเท่าไร ก็จะมีพฤติกรรมแสดงออกก้าวร้าวน้อยเท่านั้น ทั้งยังสามารถร่วมกลุ่มกับเด็กอื่นๆได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ดร.ซานดร้า รูส ผู้เชี่ยวชาญการเล่นของเด็ก กล่าวเอาไว้ ปัจจุบัน โรงเรียนอนุบาลและสถานรับเลี้ยงเด็กเล็กจำนวนมากให้เด็กๆ อยู่แต่ในห้องมากกว่าการออกเล่นกลางแจ้ง โดยปล่อยให้โทรทัศน์และเครื่องคอมพิวเตอร์มาแย่งเวลาการเล่นอย่างอิสระของ เด็กๆไปอย่างเสียดาย ฉะนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองจำต้องให้เด็กๆได้มีเวลา มีโอกาสในการเล่นให้มาก และอย่างเพียงพอเมื่อพวกเขาอยู่ที่บ้าน

bookplayinforest.jpgสำหรับเด็กๆแล้ว “การเล่น” หมายถึง หม้อ ไห กระทะ กะละมังต่างๆจากในครัว ที่สามารถเคาะตีให้กลายเป็นเครื่องดนตรี หรือเบาะหมอนบนที่นอนกลับกลายเป็นรถหรือเรือแล่นไปในทะเลได้ในทันทีทันใด พวกเด็กๆสามารถเล่นและจินตนาการการเล่นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน พวกเขาเห็นทุกอย่างเป็นเครื่องเล่น เป็นของเล่นที่สนุกได้ ทั้งในห้องน้ำ ร้านขายของ บนรถ บนโต๊ะอาหารหรือแม้กระทั่งเวลาจะเข้านอน ผู้ใหญ่ทั้งหลายจงลืมคำว่า “นี่ไม่ใช่เวลาเล่น” หรือ “ตรงนี้ไม่ใช่ที่เล่น” ไป ได้เลย เพราะทุกที่ทุกเวลา คือการเล่นสำหรับเด็กๆ เมื่อเด็กๆใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเล่น ผู้ใหญ่เองก็ต้องปรับตัวและพร้อมสนับสนุนทุกทาง เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเล่นอย่างเต็มที่ โปรดระลึกเอาไว้เสมอว่า พวกเด็กๆกำลังเรียนรู้

เด็กทารกเล่นด้วยการหันหาเสียง กลอกตาไปมา ส่งเสียงอืออาในลำคอตอบรับเสียงของพ่อแม่ วิธีนี้เป็นการเล่นและการสื่อสารโต้ตอบจากเด็กทารก ยิ่งเราเล่นกับเขามากเท่าไร เด็กๆก็จะมีปฏิกิริยาโต้ตอบมากเท่านั้น แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ อย่าให้การเล่นกลายเป็นการกระตุ้นมากเกินไป

การ “เล่นกับลูก” ไม่ได้หมายความว่า ถึงเวลา “ทำหน้าที่อีกแล้ว” แต่ การเล่นกับลูก คือทุกช่วงเวลาแห่งความสุข และความสนุกของผู้ใหญ่กับเด็ก การเล่นกับลูกบางครั้งเราอาจไม่ต้องเตรียมตัวหรืออุปกรณ์ใดๆให้ยุ่งยากเป็น ภาระเพียงแค่การสื่อสาร ใช้คำพูด หรือใช้ร่างกายเล่นกัน ก็ถือเป็นการเล่น

จากทารกก็มาถึงเด็กเล็ก เด็กวัยนี้ร่างกายแข็งแรงพอรับกับการกอดรัดฟัดเหวี่ยงได้แล้ว การเล่นโอบกอดกันแน่นๆ เป็นการเล่นที่ดี ทำให้เด็กๆมีความรู้สึกที่พิเศษ หรือการเล่น “จ๊ะเอ๋” ที่เด็กๆชื่นชอบมาก เพราะเปิดโอกาสให้พวกเขาได้คาดเดาและสนุกกับการได้เห็นใบหน้าคนที่โผล่ออกมา อย่างรวดเร็ว

เมื่อถึงวัยหนึ่งๆ เด็กๆจะชอบเล่นทำของตกแล้วรอให้ผู้ใหญ่เก็บให้แล้วทำตกอีกอยู่อย่างนี้หลายๆ รอบ เล่นซ้ำไปซ้ำมา จนผู้ใหญ่บางรายถึงกลับล่าถอย แต่เคยคิดดูหรือไม่ว่า การที่เด็กๆเล่นแบบนี้หมายถึงว่า พวกเขากำลังเรียนรู้ ตั้งแต่เสียงที่เกิดขึ้น การปล่อย การกำมือและแบมือเป็นต้น ฉะนั้นโปรดอย่าเพิ่งเบื่อหน่าย เพียงแค่การก้มลงหยิบของให้ลูก ไม่ใช่เรื่องยากหรือยิ่งใหญ่เลยสักนิด เมื่อเทียบกับสิ่งที่เด็กเล็กได้เรียนรู้

ลูกวัยกำลังหัดพูด การเล่นถามตอบจะช่วยพัฒนาทักษะการพูดของลูกได้อย่างดี การผลัดกันตั้งคำถามผลัดกันตอบคำถามสนุกๆ ในครอบครัวจะทำให้เด็กๆคุ้นเคยกับการคิดและเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ พ่อแม่อาจแกล้งทำเป็นโง่บ้าง ไม่รู้ไม่เข้าใจบ้างก็ได้ในขณะที่เล่นถามตอบกับลูกๆ เพื่อให้ลูกๆมีโอกาสเป็นผู้ชนะขณะที่เล่นด้วย ขณะที่เล่นกับลูก เราไม่เพียงแต่ได้กำลังสร้างสายสัมพันธ์เท่านั้น แต่เรากำลังสื่อสารโต้ตอบกับลูกในระดับอารมณ์ที่แตกต่าง ซึ่งจุดนี้เองที่จะช่วยให้เด็กๆ เริ่มเรียนรู้การปรับอารมณ์และพฤติกรรม เรียนรู้ที่จะอ่านสัญญาณและพัฒนาทักษะในการสื่อสารกับผู้อื่น สิ่งต่างๆเหล่านี้จะคอยช่วยส่งเสริมสนับสนุนความรู้สึกมั่นคงและปลอดภัยให้ แก่หัวใจดวงน้อยๆ

การเล่นกับลูก เป็นกิจกรรมสำคัญหลักอย่างหนึ่งในการเลี้ยงดูชีวิตให้เติบโตงอกงาม การเล่นจึงมีความสำคัญเทียบเท่ากับการให้อาหาร ดูแลให้ความอบอุ่น การให้การศึกษา ฯลฯ และการเล่นกับลูก ก็เป็นกิจกรรมสำคัญที่อาจไม่จำเป็นต้องลงทุนแลกเปลี่ยนซื้อหามาด้วยเงินตรา มีเพียงตัวเรากับลูกเท่านั้น การเล่นก็เกิดขึ้น

Home
การอ่าน
การพัฒนาคน
การได้อ่านหนังสือดีๆสักเล่ม ก็สามารถเปลี่ยนชีวิตของคนได้
โทรทัศน์กอดหนูไม่ได้!
ทำไมต้องเล่น
พัฒนาภาษาด้วยหนังสือภาพ
เส้นทางแห่งการอ่าน
ประสบการณ์การใช้หนังสือกับเด็ก
ปาฐกถาโดย ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย
เรียนรู้จากหนังสือเด็ก
ภูเขาสองลูก
การพัฒนาเด็กด้วยการอ่าน
วิธีส่งเสริมลูกรักให้เป็นนักอ่าน
เรียนรู้ด้วยหัวใจ มิใช่แค่สมอง
หนังสือภาพสำหรับเด็ก
หนังสือภาพสำหรับเด็กวัย ๒-๓ ขวบ
หนังสือเด็ก สร้างคน สร้างโลก
หนังสือที่ต้องอ่านให้เด็กๆฟัง
หนังสือสำหรับเด็ก
หนังสืออาจไม่ใช้อ่าน แท่งไม้อาจไม่ใช้เรียง
หนังสือภาพสำหรับเด็กในบ้านเรา
อ่านหนังสือ ..รากฐานความอบอุ่น ให้หนูโตเป็นคนดี
อีเล้งเค้งโค้งไป Stockholm
หนังสือสำหรับเด็กของคนไทย
พลังของการอ่านให้ฟัง
หนังสือสำหรับเด็ก
อ่านหนังสือให้ลูกฟัง
๑๐ นาที อ่านหนังสือดีให้เด็กฟัง
อ่านเล่มเดิมให้ฟังซ้ำๆ
ปิดทีวีเลี้ยงลูก