Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home พัฒนาภาษาด้วยหนังสือภาพ

พัฒนาภาษาด้วยหนังสือภาพ

เรียบเรียงโดย เรืองพิลาศ ธรรมวิเศษ

การเรียนรู้ภาษาเป็นกระบวนการพัฒนาอย่างหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งต้องอาศัยทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน การพัฒนาทักษะทั้งสี่เกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก9780763642648.jpg

ดร.วรนาท รักสกุลไทย นักเทคโนโลยีการศึกษา โรงเรียนเกษมพิทยา แผนกอนุบาล ให้มุมมองการพัฒนาภาษาไว้ว่า “ภาษาคือเครื่องมือในการสื่อสารถ่ายทอดความคิด วิธีเริ่มต้นสอนภาษาสำหรับเด็กอนุบาลต้องเริ่มจากหนังสือนิทานภาพสำหรับเด็ก เด็กในช่วงสองขวบครึ่งถึงห้าขวบเป็นช่วงที่มีพัฒนาการทางภาษามาก การพัฒนาทักษะภาษาทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน ต้องพัฒนาไปพร้อมกัน แต่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในช่วงสามปีแรกคือทักษะการฟังและพูด คนที่อ่านเขียนได้ดี ต้องฟังและพูดได้ก่อน”

การเล่าเรื่องจากหนังสือภาพให้เด็กฟังไม่เพียงกระตุ้นจินตนาการของเด็กให้เกิดการสร้างภาพขึ้นเท่านั้น หากยังเสริมทักษะการฟังให้กับเขาด้วย การที่เด็กได้ฟังบ่อยครั้งจะช่วยให้เด็กเรียนรู้คำมากขึ้น เกิดการสะสมเป็นคลังคำ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาทักษะด้านอื่นต่อไป

การเรียนรู้ในเรื่องภาษาเขียนนั้น เราใชัชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่ภาษาเขียนอยู่ทุกหนแห่ง ผู้ใหญ่จำเป็นต้องสื่อความหมายกันด้วยภาษาเขียน เด็กก็เช่นเดียวกัน การอ่านหนังสือให้เด็กฟังนั้นเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาภาษาเขียนให้เด็ก พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่ดีควรอ่านหนังสือให้ลูกฟังทุกวัน ในขณะที่อ่านหนังสือควรจะชี้นิ้วตามตัวหนังสือประกอบไปด้วย อย่างเช่นภาษาฮิบรูนั้นอ่านจากขวาไปซ้าย หรือแม่ชาวจีนอ่านและชี้นิ้วให้ลูกเห็น ลูกจะเรียนรู้ว่าภาษาจีนนั้นอ่านจากบนลงล่างและจากขวาไปซ้าย ขณะที่ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษนั้นอ่านจากซ้ายไปขวา เป็นต้น

การอ่านหนังสือให้ลูกฟังและชี้นิ้วตามไปด้วยนั้น ภายในเวลาไม่กี่เดือน เด็กจะเรียนรู้กฎเกณฑ์เบื้องต้นของภาษานั้น ๆ  ในระหว่างการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง หากมีอะไรมาคั่นจังหวะการอ่าน ก็ให้คิดดัง ๆ ส่งเสียงให้เด็กได้ยิน เช่น เมื่อมีกริ่งโทรศัพท์ดังขึ้น ก็อาจพูดว่า “เดี๋ยวเราต้องหยุดไว้ก่อนนะคะ ให้แม่ไปรับโทรศัพท์ก่อนนะ เราอ่านมาถึงหน้า 3 แล้วนะ” พร้อมกับชี้นิ้วไปที่ตัวเลขหน้า หรืออ่านมาถึงคำว่าอะไรก็ตาม ให้ชี้นิ้วตามไปด้วย แล้วบอกว่า “ให้ช่วยจำหน่อยนะว่าถึงหน้า 3 แล้ว”

ทุกครั้งในระหว่างการอ่านควรพูดคุยกับเด็กตลอดเวลา ค่อย ๆ อธิบายถึงกฎเกณฑ์ทางภาษาอย่างง่าย ๆ  ในระหว่างการอ่านอาจจะหยุดแล้วพูดคุยถึงเรื่องที่ได้อ่านให้ฟัง เช่นเมื่ออ่านถึงเรื่องดอกไม้ ก็ถามว่า “ลูกชอบดอกนี้หรือเปล่า นี่เป็นดอกกุหลาบนะ.. ที่สวนหน้าบ้านเรามีไหม..หนูเคยเห็นไหม” เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ว่า สิ่งที่เราอ่านให้ฟังนั้นมีความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็กด้วยเช่นกัน เรื่องที่อ่านให้ฟังเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเขา ให้เชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับประสบการณ์ของเด็กตลอดเวลา เพื่อให้ประโยชน์และความเกี่ยวพันของภาษาเขียนกับชีวิตเด็ก

Home
การอ่าน
การพัฒนาคน
การได้อ่านหนังสือดีๆสักเล่ม ก็สามารถเปลี่ยนชีวิตของคนได้
โทรทัศน์กอดหนูไม่ได้!
ทำไมต้องเล่น
พัฒนาภาษาด้วยหนังสือภาพ
เส้นทางแห่งการอ่าน
ประสบการณ์การใช้หนังสือกับเด็ก
ปาฐกถาโดย ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย
เรียนรู้จากหนังสือเด็ก
ภูเขาสองลูก
การพัฒนาเด็กด้วยการอ่าน
วิธีส่งเสริมลูกรักให้เป็นนักอ่าน
เรียนรู้ด้วยหัวใจ มิใช่แค่สมอง
หนังสือภาพสำหรับเด็ก
หนังสือภาพสำหรับเด็กวัย ๒-๓ ขวบ
หนังสือเด็ก สร้างคน สร้างโลก
หนังสือที่ต้องอ่านให้เด็กๆฟัง
หนังสือสำหรับเด็ก
หนังสืออาจไม่ใช้อ่าน แท่งไม้อาจไม่ใช้เรียง
หนังสือภาพสำหรับเด็กในบ้านเรา
อ่านหนังสือ ..รากฐานความอบอุ่น ให้หนูโตเป็นคนดี
อีเล้งเค้งโค้งไป Stockholm
หนังสือสำหรับเด็กของคนไทย
พลังของการอ่านให้ฟัง
หนังสือสำหรับเด็ก
อ่านหนังสือให้ลูกฟัง
๑๐ นาที อ่านหนังสือดีให้เด็กฟัง
อ่านเล่มเดิมให้ฟังซ้ำๆ
ปิดทีวีเลี้ยงลูก