Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home ปาฐกถาโดย ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย

ปาฐกถาโดย ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย

ปาฐกถาโดย ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย
ปาฐกถาโดย ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย

นพ.เกษม วัฒนชัย

การสัมมนาแถลงข่าว โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยในชนบทด้วยการเล่านิทานอ่านหนังสือให้เด็กฟัง ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548

ผมขอเรียนให้ทุกท่านทราบสัก 2-3 ประเด็น โดยจะใช้เวลาในวันนี้เพียง 1 ชั่วโมง   เมื่อผมฟังอาจารย์ธีรวงศ์  ธนิษฐ์เวธน์ (ผู้อำนวยการสมาคมไทสร้างสรรค์) เล่าถึงกิจกรรมที่สมาคมฯ ได้ดำเนินการ ทำให้เกิดความคิดขึ้นมาว่า การทำงานลักษณะนี้เราไม่ได้สังกัดราชการ หรือธุรกิจเอกชน แต่เราสังกัดภาคส่วนที่ 3 ซึ่งเรียกว่า" ภาคส่วนประชาชน "


ภาคส่วนที่ 2 คือ ภาคส่วนเอกชนมีหน้าที่ดำเนินงานในเชิงธุรกิจ
ภาคส่วนที่ 1 คือ ภาคส่วนของรัฐซึ่งมีหน้าที่เฉพาะในการพัฒนาประเทศ

ในส่วนที่ 3 คือ ภาคส่วนประชาชนซึ่งมีเยอะมาก ยกตัวอย่าง ลักษณะของภาคส่วนของประชาชน

ประเภทที่ 1 กลุ่มเพื่อสังคม เป็นกลุ่มที่สนใจประเด็นของสังคม  จะเป็นประเด็นอะไรก็ได้ อย่างเช่น ทางสมาคมฯ ก็สนใจพัฒนาการของเด็กปฐมวัย  บางกลุ่มก็สนใจด้านต่อต้านการบริโภคบุหรี่  การต่อต้านด้านของการใช้ความรุนแรงในครอบครัว เป็นต้น  ซึ่งมีกลุ่มทำงานด้านนี้เยอะมาก

กลุ่มเพื่อสังคมจะสนใจประเด็นของสังคม ซึ่งเป็นประเด็นของประชาชนและก็อยากที่จะทำงานเพื่อประชาชน เราไม่ได้ทำเพื่อรัฐหรือเอกชนโดยตรง แต่ก็เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ที่จริงแล้วทั้ง 3 ภาคส่วนมีความเชื่อมโยงกัน  งบประมาณที่ได้ก็มาจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ซึ่งเป็นหน่วยงานของภาครัฐ  นอกจากนั้นก็ยังได้จากธุรกิจภาคเอกชน  ซึ่งจะเอากำไรส่วนหนึ่งคืนให้กับประชาชน  ตรงกับความรู้สึกว่าใครจะทำงานภาครัฐก็ดี    หรือในส่วนภาคธุรกิจเอกชนก็ดีควรจะแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มาสู่ภาคประชาชนจะโดยวิธีใดก็ตาม องค์กรจะลงมือทำเองก็ได้

ธุรกิจบางแห่งก็ตั้งมูลนิธิขึ้นเองเพื่อทำงานด้านสังคม  เช่น  ธุรกิจปูนซีเมนต์   ก็มีมูลนิธิซิเมนต์ไทย จากนั้นก็เข้ามาสนับสนุนงานในประเด็นสังคม  ซึ่งทำโดยกลุ่มเพื่อสังคม  โดยตัวเขาไม่ได้ทำเอง แต่มีความเชื่อและอุดมการณ์ร่วมกับกลุ่มเพื่อสังคม

ส่วนของข้าราชการก็เหมือนกันในใจเขาเป็นคนไทย เขามีหน้าที่รับผิดชอบในงานราชการ  แต่ในขณะเดียวกันทรัพยากรที่มีในหน่วยงานราชการ ซึ่งเขาดูแลอยู่นี้ก็สามารถที่จะนำมาแบ่งปันให้ส่วนภาคประชาชนได้เช่นกัน  เช่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น      ฉะนั้นอยากจะทำความเข้าใจในตรงนี้ว่าอยากให้เปิดใจให้กว้าง  ยื่นมือไปเกี่ยวด้วยกันทั้ง 3 ภาคส่วน

กลับมาที่กลุ่มเพื่อสังคม จะตั้งชื่อว่าเป็นชมรม  สมาคม  หรืออะไรก็ได้   ตามสถานภาพ     สถานการณ์จริงๆ   กลุ่มตรงนี้ในประเทศที่เขาผ่านกระบวนการทางประชาธิปไตยมานาน เขาจะพยายามลดบทบาทของภาครัฐลงให้เหลือน้อยที่สุด  พยายามให้ภาคธุรกิจเอกชน กับภาคประชาชนรับผิดชอบให้มากที่สุด   ถ้าเป็นรัฐเผด็จการ ภาครัฐจะควบคุมมากที่สุด ขึ้นอยู่กับวิวัฒนาการของรัฐแต่ละรัฐ  ซึ่งอยู่ในช่วงที่ต่างกันไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน  แต่ในตรงนี้มีหลักความคิดในประเทศเราช่วงหลังๆ 10-30 ปีให้หลัง     ภาคของประชาชนมีพลังมากขึ้น สนใจประเด็นของสังคมมากขึ้น ทั้งในแง่ของการสร้างความรู้และปัญญา  เพื่อที่จะนำไปแก้ไขในประเด็นของสังคม  สนใจในแง่ที่จะลงมือทำเอง หรือร่วมมือกับฝ่ายอื่นที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก

ผมคิดว่ามีลักษณะเฉพาะของกลุ่มเพื่อสังคม อันได้แก่ กลุ่มของสมาคม  ชมรม  มูลนิธิ  เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมาย  มีอุดมการณ์โดยเฉพาะ    กล่าวคือจะทำอะไร  จัดตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร  ต้องตอบคำถามในวัตถุประสงค์ให้ได้ ไม่เช่นนั้นการทำงานจับทิศทางหรือลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติงาน จับต้นชนปลายไม่ถูก ฉะนั้นจึงต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนซึ่งจะเป็นบ่อเกิดแห่งพลัง ยกตัวอย่างเช่น ทางสมาคมฯ กำหนดเป้าหมายได้ดี การพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นต้น แต่ในส่วนของอุดมการณ์ เป็นลักษณะเฉพาะ คือ ทำอะไร   เพื่ออะไร   แล้วเมื่อกำหนดเป็นภาพกว้างได้แล้วจึงมากำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  ในกิจกรรมที่จะทำในแต่ละช่วงเวลา เช่น 3 ปีแรกจะทำอะไร 3 ปีหลังจะทำอะไร  5 ปีหลังจะทำอะไร  ในตรงนี้จะต้องมีการกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  เพื่อจะให้ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และพันธมิตรรู้ว่าจะไปทางไหน และเมื่อทำไปแล้วก็จะได้ประเมินตัวเองเพื่อที่จะประเมินได้ถูกทาง  ถ้าไม่กำหนดเป้าหมายจะประเมินไม่ถูก

ผมคิดว่าเมื่อเริ่มเข้ามาสู่ระบบของกลุ่มเพื่อสังคม เราจะต้องทำให้เป็นระบบ  เมื่อท่านทำให้เป็นระบบได้  มีผลงานที่วัดได้นั้นจะเป็นส่วนที่สร้างศรัทธาให้กับภาครัฐ  ภาคธุรกิจเอกชน  และภาคประชาชนโดยทั่วไป  แต่ถ้าไม่สามารถมีผลงานที่วัดได้  ตอบคำถามก็ไม่ได้  ศรัทธาจะเกิดได้ยาก เพราะการทำงานในภาคของสังคมหลักใหญ่คือการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นมาให้ได้ ไม่ใช่สิ้นศรัทธา  เสียศรัทธาแบบนี้จะอยู่ไม่ได้หรืออยู่ได้ไม่นาน  ฉะนั้นต้องกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  เมื่อมีการกำหนดอุดมการณ์เฉพาะ กำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ   ก็ต้องมีการกำหนดกลไกและพันธมิตรเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น

เราจะมาดูเฉพาะเรื่องของเด็กปฐมวัย   แต่ผมก็อดไม่ได้ที่อยากจะกราบเรียนว่า แม้เราจะจับเอาเฉพาะช่วงนี้  แต่ช่วงนี้เปรียบเสมือนข้อต่อของโซ่ทองทั้งเส้น  กล่าวคือ เปรียบประดุจดั่งดอกไม้ดอกเดียวของพวงมาลัยทั้งพวง เราไม่สามารถที่จะแยกดอกไม้ออกมาทีละดอก แล้วโยนให้ภาคส่วนต่างๆ ได้ มันเป็นชีวิตหนึ่งในชีวิตหนึ่งก็มีมาตั้งแต่กำเนิด  จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิตแล้วในความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็ดี      ความรู้ทางด้านจิตวิทยาก็ดี  ความรู้ด้านการเรียนรู้สติในระยะหลังๆ มองเห็นและวิจัยในเรื่องของการเรียนรู้เป็นระยะยาว  ซึ่งสามารถที่จะนำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ได้ในส่วนหนึ่ง ซึ่งนำมาเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ในระยะที่หนึ่งซึ่งเป็นทารกในครรภ์ตำราแพทย์ไทยสมัยสุโขทัยพูดถึงรก  ซึ่งเป็นอวัยวะเชื่อมต่อระหว่างแม่กับลูกเขาบอกว่าเหมือนดังก้านบัวที่นำอาหารจากแม่ไปสู่ลูก ในส่วนของวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปัจจุบันมีการยืนยันชัดเจนกับพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะด้านสมองจะขึ้นอยู่กับภาวะโภชนาการของแม่เพราะได้รับอาหารจากแม่โดยตรง  ชุมชนใดครอบครัวใด ประเทศใดก็ตาม มีคาดหวังจะสร้างพลเมืองของตนที่มีปัญญาดีมีความรู้ต้องให้ความสนใจตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์

ในขณะที่ตั้งครรภ์หากเรากำลังใช้ฟังก์ชั่นโนเอ็มอาร์ไอซ์  เข้าไปศึกษาส่วนทำงานต่างๆ ของสมองในเด็กที่อยู่ในครรภ์ของแม่ ก็จะสามารถบอกได้เลยว่า ส่วนไหนเจริญช่วงไหนแล้วก็ถ้าขาดอาหารอะไรส่งผลทำให้ส่วนไหนไม่เจริญ ฉะนั้นจึงอยากชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในจุดนี้ ส่วนใหญ่เรายังให้ความสำคัญในส่วนของเด็กเข้าโรงเรียน ซึ่งตามความเป็นจริงเราต้องให้ความสำคัญกับเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา  เรายังขาดการทำงานของกลุ่มคนในกลุ่มนี้อยู่   ในสมองมนุษย์มีเซลล์ประสาทหนึ่งแสนล้านเซลล์   แต่ละเซลล์เปรียบเสมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงสุด   คอมพิวเตอร์เหล่านี้ไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย

ความฉลาด หมายถึง การเชื่อมโยงของเซลล์พวกนี้เป็นวงจรประสาทมากมาย  จัดระเบียบเป็นอย่างดี  ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์ ได้แก่
ประการแรก ประสาทสัมผัสทั้ง 5   ตาดู    หูฟัง   จมูกดมกลิ่น  ลิ้นชิมรส   กายสัมผัส ซึ่งจะก่อให้เกิดระบบการบันทึกจำเอาไว้ ฉะนั้นผู้ใหญ่จึงมีอิทธิพลกับพฤติกรรมของเด็กเปรียบเสมือนเบ้าหลอมเด็ก    ในส่วนของทีวีเช่นกันส่งผลกับตัวของเด็กด้วย  ในบางประเทศมีการจัดสรรช่องทีวีเพื่อการศึกษาและเรียนรู้  เพราะทีวีกระตุ้นประสาทดีมาก เป็นสื่อที่มีผลดีหากเรามีการคัดเลือกสรรรายการทีวี
ประการที่สอง การกระตุ้นให้เด็กคิดและท้าทาย
ประการที่สาม ให้เด็กรู้จักให้เด็กรู้จักแก้ไขปัญหา
ประการที่สี่ คือฝึกการสร้างจินตนาการ  คือ การคิดอย่างเป็นระบบและมีเป้าหมาย   ถ้าถึงจุดหนึ่งของการเชื่อมโยงจะก่อให้เกิดปัญญาอย่างมหาศาล

 

 

ทางพระสงฆ์จึงบอกว่าวิธีการทำให้เกิดปัญญามี 3 วิธี คือ

วิธีที่ 1 สุตมยปัญญา คือการรับฟัง และจดจำเพื่อก่อให้เกิดความรู้   แต่ในสมัยปัจจุบันรวมเอาทุกอย่าง เช่น การฟังวิดีทัศน์  ทีวี   อ่านหนังสือ ฯลฯ  รวมเรียกว่า สุตตะ คือ สิ่งที่เข้าไปสัมผัสในสมองของเด็ก

วิธีที่ 2 จินตมยปัญญา  คือ ความคิดเมื่อได้ข้อมูลจากสัมผัสทั้ง 5 ก็นำมาคิด

วิธีที่ 3 ภาวนามยปัญญา ในส่วนนี้สูงเกินไปสำหรับเด็กในความรู้วิทยาการสมัยใหม่มันไปเกี่ยวพันกับคำสอนในพระไตรปิฏกเหมือนกัน ซึ่งว่าด้วยการทำให้เกิดปัญญา

ในเรื่องของโรงเรียนอนุบาลที่แจกใบปริญญาบัตรให้เด็ก  และในส่วนโรงเรียนประถมเข้า ประถมปีที่1 เด็กจะต้องสอบข้อเขียนในส่วนนี้เป็นการปลูกฝังและกระทำที่ผิด  พอสร้างตรงนั้นทำให้โรงเรียนอนุบาลกลายเป็นโรงเรียนกวดวิชาเข้าป. 1   ในตรงส่วนนี้อยากให้พูดกันเยอะๆเด็กควรจะมีโอกาสพัฒนาด้านสติปัญญา ร่างกาย  สังคม   อารมณ์  อายุระหว่าง 2-3 ปี ในอนุบาลน่าจะเป็นช่วงที่เด็กมีความสุขมากที่สุด  อันนี้เป็นสมการมนุษย์

คุณภาพชีวิตเท่ากับสุขภาพบวกกับการศึกษา  ขาดอันใดอันหนึ่งไม่ได้  ในส่วนของสุขภาพจะรวมถึงศีลธรรมด้วย  สุขภาพมี 4 มิติ  คือ สุขภาพกาย  สุขภาพสังคม  สุขภาพจิต  สุขภาพศีลธรรม  ในส่วนของโรคก็มี 4 มิติ คือโรคทางกาย  โรคทางจิต  โรคทางสังคม  และโรคทางด้านศีลธรรม การส่งเสริมสุขภาพก็ต้องส่งเสริมทั้ง 4 มิติ ดังเช่น  พ่ออ่านหนังสือให้ลูกฟังนั้นได้ทั้ง 4 มิติเลย   นำไปสู่ข้อมูลอ้างอิงของโครงการได้เลยว่าเป็นโครงการส่งเสริมสุขภาพได้ด้วย

มาดูเรื่องปัจจัยสมองของเด็กไทย อยากให้มีศูนย์ศึกษาวิจัยสมองเด็กไทย ตอนนี้ผมก็ไปพูดสนับสนุนให้คณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดลตั้งศูนย์วิจัยสมอง โดยใช้ชื่อของ อาจารย์ประสบ  รัตนากร  เพราะท่านมีประสบการณ์ด้านนี้ผมอยากให้มีความสนในทางด้านนี้เพิ่มมากขึ้น

ปัจจัยด้านการเลี้ยงดูเด็กเป็นแก่นการพัฒนาการของเด็ก  แต่น่าเสียดายเราไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในด้านนี้  ภาคประชาชนลงมาทำในตรงนี้มากเพราะใน 6 ปีแรกจะมีการพัฒนาการด้านสมองเร็วมาก ในระดับประถมถึงมัธยมจะทำน้ำดื่มไอโอดีนดื่มเอง  เพราะสำคัญมากจำเป็นสำหรับการทำงานของสมอง เรื่องของโครงการอาหารกลางวัน  น้ำหนักและส่วนสูงก็มีความสำคัญเช่นกัน  ในการที่ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์นั้นแสดงว่าเป็นการทุพโภชนาการเรื้อรัง  ในส่วนของน้ำหนักถ้าต่ำกว่าเกณฑ์มักหมายถึงทุพโภชนาการหรืออาหารไม่พอ  น้ำหนักมักเปลี่ยนได้ง่ายกว่าส่วนสูงในส่วนการศึกษาวิจัยสมัยก่อนบอกว่าสมองจะหยุดโตเมื่ออายุประมาณ 14 - 15 ปี  แต่ปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้าใหม่ขยายไปถึง 18 ปี ยังไม่หยุดโต

เรื่องการเรียนรู้นอกระบบการศึกษาและในระบบการศึกษา ผมใช้คำนี้ด้วยความตั้งใจ    เพื่อแยกให้เห็นว่าการเรียนรู้จากในระบบการศึกษาก็เป็นการเรียนรู้ที่ออกแบบโดยรัฐ  มีหลักสูตรช่วงชั้นชัดเจน  ส่วนนอกระบบการศึกษาตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่จนกระทั่งตาย  การเรียนรู้นอกระบบกว้างมหาศาลมากเลย  เด็กเรียนรู้ก่อนพูดได้  ผมพยายามที่จะชี้แจงให้เห็นว่าเรื่องของสมองเป็นส่วนสำคัญมาก  มันโยงถึงเรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์ในส่วนของสุขภาพ  เด็กเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในท้องของแม่เป็นส่วนของการเรียนรู้  สิ่งที่เรากำลังทำอยู่คืออยากให้เข้ามาทำในส่วนของการเรียนรู้นอกระบบจากสิ่งแวดล้อมรอบข้างเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิต

Home
การอ่าน
การพัฒนาคน
การได้อ่านหนังสือดีๆสักเล่ม ก็สามารถเปลี่ยนชีวิตของคนได้
โทรทัศน์กอดหนูไม่ได้!
ทำไมต้องเล่น
พัฒนาภาษาด้วยหนังสือภาพ
เส้นทางแห่งการอ่าน
ประสบการณ์การใช้หนังสือกับเด็ก
ปาฐกถาโดย ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย
เรียนรู้จากหนังสือเด็ก
ภูเขาสองลูก
การพัฒนาเด็กด้วยการอ่าน
วิธีส่งเสริมลูกรักให้เป็นนักอ่าน
เรียนรู้ด้วยหัวใจ มิใช่แค่สมอง
หนังสือภาพสำหรับเด็ก
หนังสือภาพสำหรับเด็กวัย ๒-๓ ขวบ
หนังสือเด็ก สร้างคน สร้างโลก
หนังสือที่ต้องอ่านให้เด็กๆฟัง
หนังสือสำหรับเด็ก
หนังสืออาจไม่ใช้อ่าน แท่งไม้อาจไม่ใช้เรียง
หนังสือภาพสำหรับเด็กในบ้านเรา
อ่านหนังสือ ..รากฐานความอบอุ่น ให้หนูโตเป็นคนดี
อีเล้งเค้งโค้งไป Stockholm
หนังสือสำหรับเด็กของคนไทย
พลังของการอ่านให้ฟัง
หนังสือสำหรับเด็ก
อ่านหนังสือให้ลูกฟัง
๑๐ นาที อ่านหนังสือดีให้เด็กฟัง
อ่านเล่มเดิมให้ฟังซ้ำๆ
ปิดทีวีเลี้ยงลูก