Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home โทรทัศน์กอดหนูไม่ได้!

โทรทัศน์กอดหนูไม่ได้!

คัดจากสรุปการดำเนินงานห้องสมุดเด็กและครอบครัว เรียบเรียงโดย เรืองพิลาศ ธรรมวิเศษ

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจจะรู้สึกขัดเขินที่จะเล่านิทานให้ลูกฟัง หรืออาจจะรู้สึกว่าตัวเองเล่านิทานไม่เก่ง ลูกคงไม่สนใจฟัง  การเลือกหนังสือที่ดี มีเนื้อหาน่าสนใจ สนุก เหมาะกับเด็ก เป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดความสนใจเด็ก แต่ปัจจัยที่สำคัญไปกว่านั้นคือเด็กต้องการความรัก ความเอาใจใส่จากพ่อแม่

9780763642648.jpgมีวิทยากรญี่ปุ่นคนหนึ่งเคยบรรยายไว้ว่า “มีเด็กคนหนึ่งไปอ้อนให้คุณแม่เล่านิทานให้ฟัง คุณแม่ก็บอกว่า ไปเปิดทีวีสิ มีคุณลุงเล่านิทานเก่งจะตายอยู่ในทีวี” แต่สิ่งที่เด็กคนนี้ตอบกลับมาทำให้ผู้ใหญ่ต้องหลับมาทบทวนความคิดกันใหม่ “ลูกบอกคุณแม่กลับไปว่า แต่ว่าคุณลุงในทีวีคนนี้กอดหนูไม่ได้!” เป็นคำตอบที่ฟังแล้วน่าสะเทือนใจมาก เด็กสะท้อนให้เห็นว่าเขาต้องการความอบอุ่นจากพ่อแม่มากกว่ารายการนิทานแสนสนุกจากทีวี

จากตัวอย่างข้างต้น หากจะสรุปว่า “คุณพ่อคุณแม่เป็นนักเล่านิทานที่เก่งที่สุดในโลก” คงจะเป็นสิ่งที่ไม่มากเกินไป เพราะว่าคุณพ่อคุณแม่เป็นนักเล่านิทานที่ลูกอยากฟังมากที่สุด  คุณสมบัติสำคัญอันดับหนึ่งที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นนักเล่านิทานในดวงใจของลูก ไม่ใช่ น้ำเสียงและลีลาที่น่าสนุก แต่เป็นอ้อมกอดอันแสนอบอุ่นต่างหาก

ในสังคมยุคปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับการสื่อสารเป็นอย่างยิ่ง โทรทัศน์เป็นสิ่งที่เกือบทุกครัวเรือนแทบจะขาดไม่ได้ เป็นสิ่งที่สมาชิกในครอบครัวใช้หาความบันเทิงใจ  หากเลือกรายการเหมาะสำหรับเด็กในเวลาที่ทีวีดูด้วยกันในครอบครัวนั้น  จะเป็นสิ่งที่ดีกว่าการปล่อยให้เด็กนั่งดูทีวีตามลำพัง  บางครอบครัวปล่อยให้โทรทัศน์เลี้ยงลูก สิ่งนี้อันตราย!  มีหลายสิ่งหลายอย่างจากรายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก เด็กอาจจะซึมซับพฤติกรรมบางอย่างแล้วนำมาเลียนแบบ เช่น การใช้ความรุนแรง เป็นต้น

เด็กที่ดูโทรทัศน์กับเด็กที่ฟังนิทานจะมีความแตกต่างกัน ถ้าเด็กข้องใจปัญหาอะไรในโทรทัศน์ไม่มีใครตอบให้ ทีวีเป็นสื่อทางเดียว แต่ถ้าพ่อแม่เล่านิทานให้ฟัง มีปัญหาอะไรตรงไหน ติดข้องใจอะไรตรงไหน เขาถามได้ พ่อแม่ตอบได้ เสริมความรู้เข้าไปได้ แต่ทีวีไม่มีตรงนี้  ที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้หมายความว่าโทรทัศน์ไม่ดี พ่อแม่สามารถเลือกรายการดึๆ ให้ลูกดูได้ แต่ไม่ควรให้ทีวีเลี้ยงลูก

มองดูตามท้องตลาด จะพบเห็นเทปนิทานสำหรับเด็กจำนวนมาก เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของความบันเทิงสำหรับเด็ก มีคำถามว่า เทปนิทานกับหนังสือนิทานต่างกันอย่างไร? คำตอบคือต่างกัน  เทปนิทานใช้เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่มีอะไรวิเศษไปกว่าคน  เทปนิทานก็จะเล่าไปเรื่อย มีดนตรีประกอบ ทำเสียงสัตว์ตามบรรยากาศเนื้อเรื่อง มันช่วยทำให้จินตนาการได้ ตื่นตาตื่นใจได้ แต่สิ่งที่ต่างจากหนังสือนิทานคือถ้าเด็กสงสัยอะไรในนิทานเขาถามเทปไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว ไม่มีความผูกพันระหว่างบุคคล

chingtelevision1.jpgมีคุณแม่คนหนึ่ง มีลูกเล็ก คุณแม่ท่านนี้ก็อ่านนิทานให้ลูกฟัง  ในนิทานจะมีคำว่า “ไพรศล”  คุณแม่อ่านให้ลูกฟังครั้งแรก เมื่อมีคำว่า “ไพรศล” ลูกก็ทำหน้างง ถ้าเป็นเทป เทปก็ไม่สนใจว่าเด็กจะงง เพราะเทปสื่อสารไม่ได้ แต่คุณแม่เขาเห็นว่าลูกชะงัก อันนี้คือปฏิกริยาระหว่างคนต่อคน คุณแม่ก็อธิบายลูกฟังว่า “ไพรศล”คืออะไร เพื่อเล่าเรื่องต่อเนื่องไป นี่คือความต่างระหว่างการเปิดเทปนิทานให้เด็กฟังกับการเล่านิทานจากหนังสือให้เด็กฟัง ความมีชีวิตชีวา ความใกล้ชิด ความสัมพันธ์ ทุกอย่างต่างกัน

การฟังนิทานซ้ำๆ ให้ผลที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าเด็กฟังนิทานด้วยวิธีใด  ส่วนมาก เด็กจะฟังเทปนิทานซ้ำๆ น้อยมาก เพราะว่ามันเหมือนเดิมทุกอย่าง แต่เด็กจะชอบให้พ่อแม่อ่านนิทานให้ฟังซ้ำ เพราะว่าเด็กชอบฟังเสียงพ่อแม่ มันมีความใกล้ชิด ความอบอุ่น เป็นเครื่องมือที่ทำให้ครอบครัวได้อยู่ใกล้ชิดกัน  เมื่อพ่อแม่อ่านนิทานเที่ยวที่ 2-3 ลูกจำเรื่องราวได้ ก็ช่วยเล่าได้ มีความสัมพันธ์กันระหว่างเล่าเรื่องมากขึ้น นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือกันระหว่างเล่าเรื่องแล้ว อาจจะมีการหยอกล้อกัน เช่น พ่อแม่แกล้งเล่าเรื่องผิด ลูกก็ทัก  ตรงนี้คือการหยอกล้อกัน ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกมันจะใกล้ชิดกันเข้าไปเรื่อยๆ ถ้าสมมติว่าเด็กอ่านได้ เด็กอ่านเอง ก็ได้อีกอารมณ์ความรู้สึกหนึ่ง อ่านคนเดียว คิดคนเดียว ดิ่งลึกอยู่ในโลกของนิทาน เป็นการสร้างสรรค์อีกแบบหนึ่ง การเด็กที่นั่งอ่านเงียบ ๆ เขาจะจินตนาการอยู่คนเดียว ท่องอยู่คนเดียว แต่อ่านกับพ่อแม่ ได้อ่านได้ท่องร่วมกัน

Home
การอ่าน
การพัฒนาคน
การได้อ่านหนังสือดีๆสักเล่ม ก็สามารถเปลี่ยนชีวิตของคนได้
โทรทัศน์กอดหนูไม่ได้!
ทำไมต้องเล่น
พัฒนาภาษาด้วยหนังสือภาพ
เส้นทางแห่งการอ่าน
ประสบการณ์การใช้หนังสือกับเด็ก
ปาฐกถาโดย ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย
เรียนรู้จากหนังสือเด็ก
ภูเขาสองลูก
การพัฒนาเด็กด้วยการอ่าน
วิธีส่งเสริมลูกรักให้เป็นนักอ่าน
เรียนรู้ด้วยหัวใจ มิใช่แค่สมอง
หนังสือภาพสำหรับเด็ก
หนังสือภาพสำหรับเด็กวัย ๒-๓ ขวบ
หนังสือเด็ก สร้างคน สร้างโลก
หนังสือที่ต้องอ่านให้เด็กๆฟัง
หนังสือสำหรับเด็ก
หนังสืออาจไม่ใช้อ่าน แท่งไม้อาจไม่ใช้เรียง
หนังสือภาพสำหรับเด็กในบ้านเรา
อ่านหนังสือ ..รากฐานความอบอุ่น ให้หนูโตเป็นคนดี
อีเล้งเค้งโค้งไป Stockholm
หนังสือสำหรับเด็กของคนไทย
พลังของการอ่านให้ฟัง
หนังสือสำหรับเด็ก
อ่านหนังสือให้ลูกฟัง
๑๐ นาที อ่านหนังสือดีให้เด็กฟัง
อ่านเล่มเดิมให้ฟังซ้ำๆ
ปิดทีวีเลี้ยงลูก