Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home ประสบการณ์การใช้หนังสือกับเด็ก

ประสบการณ์การใช้หนังสือกับเด็ก

จากการบรรยายโดย อาจารย์พรอนงค์ นิยมค้า ที่ปรึกษาสมาคมไทสร้างสรรค์ และคุณระพีพรรณ พัฒนาเวช กรรมการสมาคมไทสร้างสรรค์

คุณระพีพรรณ พัฒนาเวช

การอ่านหนังสือให้เด็กฟังแล้วเอาเด็กนั่งตักและกอดไว้ เด็กๆจะรับรู้ได้มากกว่าความสนุกจากหนังสือ การที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังจะทำให้ระพีพรรณ พัฒนาเวช
เกิดสายใยผูกพันเชื่อมโยงสื่อสารกันและเกิดคำศัพท์มากขึ้น พลังของหนังสือนิทานจะมีผลต่อเด็กมาก โดยเฉพาะเด็กป่วยอยู่โรงพยาบาลจะงอแงไม่อยากสื่อสารไม่พูดกับพ่อแม่ ถ้าเราเอาหนังสือนิทานใช้กับเด็กปกติอ่านให้เด็กฟัง เด็กจะสนุกสนาน แต่หากใช้กับเด็กที่นอนป่วยอยู่บนเตียงจะมีพลังมหาศาลมากกว่านั้น เช่น เด็กบางคนที่ป่วยจะไม่อยากทำอะไรเมื่อได้ฟังนิทานได้ดูรูปภาพแล้ว จากเด็กที่ไม่เคยพูดเด็กจะยิ้ม จับมือ เขย่าตัวแม่ อยากให้อ่านให้ฟังอีก เด็กบางคนไม่ยอมออกจากโรงพยาบาล ไม่ยอมกลับบ้านเพราะที่โรงพยาบาลมีหนังสืออ่านให้ฟัง เด็กป่วยจะยิ่งได้พลังจากหนังสือมากกว่าเด็กปกติ หนังสือจะเป็นตัวกระตุ้นให้เขาได้พูดคุยกับพ่อแม่ สื่อให้พ่อแม่รู้ว่า เขาหิว ง่วงนอน หรือต้องการอะไร

อาจารย์พรอนงค์ นิยมค้า

 

v002.jpg

หนังสือเรื่อง “รอให้ถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว”เด็กในวัยปฐมวัย ๐–๖ ขวบ โดยเฉพาะเด็กในวัย ๐-๓ ขวบจะสำคัญที่สุดเพราะสภาพแวดล้อมทั้งอาหารกาย อาหารใจ อาหารสมองของเด็กจะมีอิทธิพลต่อเด็กเพราะจะเป็นการสร้างพื้นฐานสำหรับเด็กตลอดชีวิต เด็กจะเรียนรู้ได้โดยที่ไม่ต้องสอนแค่อ่านให้เด็กฟัง เด็กชอบเรื่องใดเขาก็จะให้เราอ่านให้ฟังซ้ำๆ จนสามารถจำเนื้อเรื่องได้ทั้งเล่ม ฉะนั้นหนังสือภาพถ้าเราสามารถให้เด็กได้สัมผัสตั้งแต่ตอนเล็กๆเด็กจะเรียนรู้ได้เร็ว ตอนนี้ประเทศเราก็เริ่มที่จะเอาหนังสือให้เด็กในวัย ๒–๓ ขวบอ่านบ้างแล้ว ตามศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้มีโอกาสสัมผัสกับหนังสือ แต่ในประเทศอังกฤษมีโครงการ Book Start (หนังสือเริ่มแรก) สำหรับให้พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่ ๖-๙ เดือน ตอนตั้งครรภ์แม่จะไปฝากครรภ์ก็จะได้หนังสือนิทานกลับมา ๒ เล่ม ซึ่งเราคาดหวังว่าสิ่งที่จะได้ก็คือเด็กจะรักหนังสือและความรักระหว่างพ่อแม่ลูก สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ระยะยาว

 

เมื่อเด็กโตเป็นวัยรุ่นส่วนมากจะเกเรคืออยากจะเป็นผู้ใหญ่โดยจะแสดงท่าทีกบฎต่อพ่อแม่ แต่ถ้ามีสายใยความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่อยู่ในใจเขาแล้ว สุดท้ายเขาก็จะกลับมาสู่เส้นทางการเป็นคนที่ดีและรับผิดชอบ โครงการนี้ในประเทศอังกฤษทำมาแล้ว ๑๐ ปี และประสบความสำเร็จอย่างมาก ประเทศญี่ปุ่นก็เลยเอามาทำบ้างเพราะเด็กญี่ปุ่นรุ่นหลังไม่ค่อยอ่านหนังสือ ติดทีวี วีดีโอเกม สิ่งเหล่านี้ทุกคนอาจจะยังไม่ค่อยได้คิด เป็นการคิดชั้นเดียว แต่ถ้าเป็นหนังสือต้องคิด ต่อมาเมืองไทยก็นำมาทำบ้างเริ่มจากมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กเอามาทดลองใช้เมื่อปี ๒๕๔๖ เด็กที่ยังอ่านหนังสือไม่ได้และไม่เข้าโรงเรียน

ถ้าผู้ใหญ่อ่านให้ฟังแล้วเด็กจะได้รับสิ่งเหล่านี้คือ

ประการแรก เด็กจะรู้สึกสนุกกับหนังสือ อยากรู้อยากเห็น สนใจมีความสัมพันธ์กับหนังสือ เริ่มได้ตั้งแต่ ๐ ขวบเป็นต้นไป โครงการ Book Start เริ่มทำในพื้นที่แรกที่นครปฐม และกรุงเทพฯ เป็นเด็กอ่อนในสลัมเมื่อเข้าไปทดลองแล้วเด็กสามารถที่จะกระตุ้นได้หรือไม่ ในต่างจังหวัดทดลองที่จังหวัดราชบุรี อำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย ผลการแสดงความสำเร็จที่สำคัญ เด็กจะสนใจหนังสือมากจ้องมองหนังสือ ส่วนใหญ่จะจับหนังสือเข้าปากก่อนแล้วพลิกดูภาพในหนังสือ บางรายไม่สนใจของเล่นอื่น สนใจแต่หนังสือเพราะมีสีสันสวยงาม

ประการที่สอง สมาชิกในครอบครัวเห็นความสำคัญของหนังสือ บางรายแม่อ่านหนังสือไม่ได้ก็จะมีพ่ออ่านให้ฟังตอนค่ำๆ ยายอ่านให้ฟังตอนกลางวัน ภาพที่งดงามยิ่งคือ ถ้ายายอ่านหนังสือไม่ได้ตาก็จะมาอ่านให้เด็กฟัง หรือพ่อและตาที่ไม่ถนัดในการอ่านหนังสือจะทำงานแทนยายและแม่ เพื่อให้แม่และยายอ่านหนังสือให้เด็กฟัง สิ่งนี้จะเกิดความร่วมมือในครอบครัวพ่อแม่และสมาชิกในครอบครัวมีความเชื่อมั่นว่าการอ่านจะนำทางการชี้วัดเด็กสู่ความเก่ง ส่งผลให้ทุกคนสนใจในการส่งเสริมนิสัยการรักหนังสือในตัวเด็ก เกิดความสุขความรักใคร่ผูกพันกันขึ้นระหว่างสมาชิกในครอบครัวเพราะมีกิจกรรมที่ทุกคนมีส่วนร่วม คืออ่านหนังสือให้เด็กฟัง

กรณีที่พ่อแม่ผู้ดูแลอ่านหนังสือไม่ออกก็มีความพยายามใช้หนังสือเป็นสื่อพัฒนาเด็ก ให้เด็กดูภาพ ใช้หนังสือเป็นสื่อกลางในการพูดคุยกับเด็ก พ่อแม่และผู้ดูแลเด็กอ่านหนังสือมากขึ้นเพราะต้องการเป็นแบบอย่างที่ดี บางกรณีสามารถสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นคือเพื่อนบ้านชื่นชอบในการอ่านหนังสือให้ลูกฟังก็เลยเอาลูกมาฝากให้ช่วยดูแล บ้านหลังนี้ก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากกรณีการเลี้ยงดูเด็ก 

ภาพพี่ของน้องสนใจหนังสือโดยเฉพาะหนังสือคำกลอนก็นำมาร้องกล่อมน้อง พี่ๆ ยืมหนังสือของน้องไปให้คุณครูเพราะครูสนใจ กรณีความสำเร็จที่สำคัญเกิดขึ้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการทุกครอบครัวไม่เคยใช้หนังสือกับเด็กอายุต่ำกว่า ๑ ปี ทุกคนมีความคิดเห็นในทำนองเดียวกันว่า ควรใช้หนังสือกับเด็กเมื่ออายุ 2 ขวบขึ้นไป แต่เมื่อทำกิจกรรมแม่เห็นพฤติกรรมที่เด่นชัดคือ เด็กสนใจกับหนังสือได้นานกว่าที่คิด เด็กจ้องมองนิ่ง ฟัง และทำเสียงตาม หนังสือสามารถกระตุ้นพัฒนาการระบบประสาทสัมผัสของเด็กได้ เช่น การมองเห็น การได้ยิน การพูดสื่อสาร การกระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็กที่นิ้วมือ แขนที่ใช้หยิบจับ กล้ามเนื้อตาที่ใช้ในการมอง

เด็กมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดีขึ้น มีสมาธิและจินตนาการเกิดความสัมพันธ์กันในครอบครัวที่มีคุณภาพ ผู้ใหญ่สนใจเด็กเพิ่มมากขึ้นด้วยการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของเด็กที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เป็นการสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นด้วยการใช้หนังสือเป็นสื่อกลาง โรงพยาบาลมีความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัวและชุมชน ได้เรียนรู้กับวิถีชีวิตที่หลากหลาย ได้รับความไว้วางใจจากครอบครัวและชุมชนจึงเกิดปิติสุขในชุมชน

สมัยก่อนคนจะสอนหนังสือเด็กตอนอายุ ๗ ปี แต่เมื่อเอาหนังสือเล่มแรกไปทดลองใช้ที่ราชบุรีและด่านซ้ายปรากฏว่าไม่ต้องรอให้ถึง ๓ ปีหรือ ๕ ปี อยู่บ้านก่อน ๑ ปีก็ทำได้ ถ้าเด็กรู้จักหนังสือเร็วขึ้นพอเห็นหนังสืออยู่ที่ไหนก็จะเข้าไปหา พยายามอ่าน เด็กจะเก่งก่อนเข้าเรียนและสนุกกับการเรียน วิธีการอ่านการเล่าพอกระทำบ่อยๆ จะเกิดทักษะขึ้นมาเอง หนังสือบางเล่มถ้าไม่มีตัวหนังสือจะเป็นการดีสำหรับเด็กเพราะจะกระตุ้นให้เด็กคิดไม่มีผิดไม่มีถูก ถ้าเด็กรู้เนื้อเรื่องในหนังสือให้เด็กสนุกเป็นการเสริมแรง เสริมกำลังใจ

การที่เด็กได้ทำกิจกรรม เช่นกิจกรรมการพับกระดาษ การต่อเติมภาพ (อาจารย์ชีวันให้ผู้นำชุมชนต่อเติมภาพที่วาดให้แล้วถามความคิดเห็นจากภาพที่ต่อเติม) เวลาเด็กทำกิจกรรมทำไมเด็กถึงชอบเพราะเป็นสัญชาตญาณชอบแก้ปัญหาของเด็ก เพราะการแก้ปัญหาในสิ่งที่ไม่มีผิด เด็กๆ จะใช้จินตนาการได้เติมที่ เกิดความพึงพอใจ ส่งเสริมความคิดที่สร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ ทำให้มีทักษะที่เกิดขึ้น (อาจารย์ชีวันเล่านิทานเรื่องก๊อก ก๊อก ก๊อก ขอค้างคืนหนึ่งนะ) ถ้าเด็กๆ อยู่ในโลกของจินตนาการจะรู้สึกสนุกมาก

หนังสือเด็กนั้นผู้ใหญ่จะต้องอ่านให้เด็กฟัง เล่าให้ฟัง บางทีเด็กๆ อาจไม่ฟังเงียบๆ อาจจะชี้ชวนถามอันนั้นคืออะไร อันนี้คืออะไร เมื่อเลิกถามจะทำให้เด็กได้คิด ถ้ามีลูกหลานควรช่วยกันสนับสนุนให้ลูกหลานอ่านหนังสือหรือว่าอ่านหนังสือให้เขาฟัง ใช้เวลาวันละประมาณ ๕–๑๐ นาที ไม่ต้องอ่านหลายเรื่องเพราะเด็กจะไม่รู้จักพอ จะเห็นผลในเวลาไม่นานถ้าช่วยกันและเป็นผลดีในระยะยาว ครูจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเด็ก

Home
การอ่าน
การพัฒนาคน
การได้อ่านหนังสือดีๆสักเล่ม ก็สามารถเปลี่ยนชีวิตของคนได้
โทรทัศน์กอดหนูไม่ได้!
ทำไมต้องเล่น
พัฒนาภาษาด้วยหนังสือภาพ
เส้นทางแห่งการอ่าน
ประสบการณ์การใช้หนังสือกับเด็ก
ปาฐกถาโดย ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย
เรียนรู้จากหนังสือเด็ก
ภูเขาสองลูก
การพัฒนาเด็กด้วยการอ่าน
วิธีส่งเสริมลูกรักให้เป็นนักอ่าน
เรียนรู้ด้วยหัวใจ มิใช่แค่สมอง
หนังสือภาพสำหรับเด็ก
หนังสือภาพสำหรับเด็กวัย ๒-๓ ขวบ
หนังสือเด็ก สร้างคน สร้างโลก
หนังสือที่ต้องอ่านให้เด็กๆฟัง
หนังสือสำหรับเด็ก
หนังสืออาจไม่ใช้อ่าน แท่งไม้อาจไม่ใช้เรียง
หนังสือภาพสำหรับเด็กในบ้านเรา
อ่านหนังสือ ..รากฐานความอบอุ่น ให้หนูโตเป็นคนดี
อีเล้งเค้งโค้งไป Stockholm
หนังสือสำหรับเด็กของคนไทย
พลังของการอ่านให้ฟัง
หนังสือสำหรับเด็ก
อ่านหนังสือให้ลูกฟัง
๑๐ นาที อ่านหนังสือดีให้เด็กฟัง
อ่านเล่มเดิมให้ฟังซ้ำๆ
ปิดทีวีเลี้ยงลูก
 

กลับหน้าแรก