การพัฒนาเด็กด้วยการอ่าน
อาจารย์ปรีดา ปัญญาจันทร์ :
ผมเป็นครูอนุบาลมา ๒๐ กว่าปี สิ่งหนึ่งที่เห็นคือการเล่านิทาน-อ่านหนังสือ ให้เด็กอนุบาลฟังครั้งแรกจะเล่านิทานด้วยจุดประสงค์ ง่ายๆ เพื่อให้เด็กสนุก เล่าให้เด็กติดสนิทสนมกับคนเล่า แต่ถ้ามองในมุมครูคือเรียกคะแนนจากเด็ก ถ้าเด็กเกลียดก็จะไม่เข้ามาหาและไล่ออกไป การเล่านิทานผมจะได้เปรียบกว่าครูคนอื่นเพราะผมเป็นครูศิลปะจะใช้วิธีการ เล่าไปวาดไปด้วย เมื่อสองสิ่งนี้มารวมกันจะเป็นเรื่องของเด็กเลยซึ่งตอนแรกไม่ได้คิดอย่าง นั้น ไม่เคยคิดในเชิงวิชาการเลยว่าจะต้องใช้ศิลปะกับนิทาน การวาดรูปกับนิทานมารวมกันแล้วเด็กจะชอบแต่เมื่อได้ทำและทำบ่อยๆ ขึ้น การเล่านิทานแล้วชวนเด็กวาดรูป สองสิ่งนี้จะรวมตัวกันเป็นเรื่องของเด็ก บางครั้งเล่านิทานเสร็จหนึ่งเรื่องเขาจะขอกระดาษวาดรูป เด็กจะอยากวาดรูปเพราะเด็กอนุบาลยังเขียนตัวหนังสือไม่ได้ เด็กจะมีเรื่องราวของนิทานอยู่ในหัวสมองมากมายและอยากถ่ายทอดออกมาหรือเล่า ให้คนอื่นฟัง การที่เด็กวาดรูปเด็กจะได้ฝึกกล้ามเนื้อมือไปด้วย ถ้าวาดเก่งก็จะเขียนตัวหนังสือเก่ง สิ่งนี้จะโยงไปถึงกัน การเล่านิทานในโรงเรียนกับเล่านิทานที่บ้านไม่เหมือนกัน เพราะโรงเรียนเด็กเยอะกว่า แต่ที่บ้านเด็กจะมีจำนวนไม่มาก การเล่านิทานอยู่ที่บ้านแค่ให้เด็กมานั่งอยู่ข้างๆ แล้วก็เล่านิทานให้ฟังเด็กๆ ก็ดีใจแล้ว แต่ที่ โรงเรียน ทำแบบนั้นไม่ได้เพราะเด็กเยอะต้องมีเทคนิคและวิธีการ รวมถึงต้องมีการออกท่าทางประกอบกับนิทานไปด้วยเด็กถึงจะชอบและสนุกไปด้วย เช่น เรื่อง กระดุ๊กกระดิ๊กกระด๊อกกระแด๊ก เด็กชอบเรื่องนี้มาก เพราะเด็กได้หัวเราะ สนุก เบาสมอง เด็กจะอารมณ์ดีขึ้นเหมือนกับผู้ใหญ่ที่ไปนั่งฟังคนอื่นพูดแต่เรื่องที่มี ปัญหาก็จะไม่สนุกแต่ถ้าไปนั่งกับใครที่พูดแต่เรื่องสนุกเด็กก็จะชอบ ไม่ใช่ว่าชอบสนุกแต่ถ้าอารมณ์ดีเราก็จะมีความคิดสร้างสรรค์ ทำให้อยากจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ เด็กก็เหมือนกันกับผู้ใหญ่ ถ้าเด็กสนุกครูชวนทำอะไรเด็กก็จะร่วมมือทำ สิ่งแรกที่บ่งบอกถึงคือ อารมณ์ การพัฒนาอารมณ์ทำให้เด็กอารมณ์ดี มีความสุข ถ้ามีท่าทางประกอบจะทำให้เด็กนึกภาพออก เพราะบางอย่างเด็กไม่เคยเห็น เช่น เสือ ช้าง ถ้ามีภาพเด็กก็จะนึกออก ถ้าเด็กคนไหนชอบถามมักจะเรียนเก่ง การที่เด็กได้พูดกับครูจะทำให้เขากล้าพูด กล้าถาม วิธีการดีที่สุดที่จะทำให้เด็กชอบถามก็คือการเล่านิทานให้ฟัง เพราะเด็กจะตั้งข้อสังเกตและจดจ่อกับภาพประกอบในนิทานหนังสือสำหรับเด็กจะ ทำให้เด็กช่างสังเกต เด็กจะรู้จักการเชื่อมโยงภาพที่มันขาดหายไป นั่นแสดงว่าเขามีฐานความรู้ มีจินตนาการ
อาจารย์ ชีวัน วิสาสะ ได้บรรยายถึงการเล่านิทานให้ลูกฟังว่า การเล่านิทานให้ลูกฟังอย่าคิดว่าเป็นการสอนเด็กอยู่ข้างเดียว การเล่านิทานให้เด็กฟังมันก็เป็นการสอนผู้ใหญ่ด้วยเพราะผู้ใหญ่ยังต้องเรียน รู้ แต่ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่เพื่อสื่อสารกับเด็ก แต่ละคนจะมีข้อจำกัดทางภาษา หนังสือก็เหมือนพจนานุกรมที่มีคำเยอะๆเพื่อที่จะเอามาใช้พูดคุยกัน บางทีหนังสืออาจจะเป็นเครื่องมือในการแสดงความรัก เรื่องราวมากมายมีอยู่ในหนังสือถ้าเรารู้จักเยอะเราก็มีตัวเลือกเยอะ อาจจะเป็นเรื่องใกล้ตัวหรือเรื่องที่คาดไม่ถึง เช่น อึ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ ตอนแรกอาจจะยังคิดไม่ออก พออ่านไปเรื่อยๆภาษาในหนังสือจะซึมซับอยู่ในตัวเรา ถ้าบางอย่างไม่มีคำตอบก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กได้ค้นคว้าในหนังสือเล่มต่อ ไป จะเป็นการเชื่อมโยงของหนังสือไปในตัว
ในหนังสือจะมีเรื่องราวมากมายที่จะ สอนเด็กๆ ในนิทานพื้นบ้านคนที่ทำหนังสือก็จะปรับเนื้อเรื่อง ปรับรูปภาพให้เหมาะสม เช่น เศรษฐีชาวนาและจอมพลัง จะมาจากนิทานชาดกเรื่อง โคนันทวิศาล ถ้าใช้ชื่อเดิมที่อยู่ในบทเรียนมาเล่ามันจะเป็นเหมือนยาขมและเป็นชาดกสอน เรื่องหลักธรรม คุณธรรม อยู่ในบทเรียนเด็กจะไม่อยากเรียนแต่มันเป็นเรื่องที่เด็กควรจะรู้ ดังนั้น คนที่ทำหนังสือจึงเอามาทำใหม่ให้เป็นภาพการ์ตูน มีภาษาสำหรับเด็ก ถ้าเป็นชาดกจะเป็นภาษาสำหรับพระสงฆ์ หรือคนแก่ ซึ่งเด็กๆ สมัยนี้ฟังแล้วอาจจะไม่เข้าใจและก็เป็นหน้าที่ของคนทำหนังสือนำมาปรับเรื่อง ใหม่แต่สิ่งที่เด็กได้ก็จะเหมือนกับคนยุคก่อน
ยกตัวอย่าง
๑. นิทานสร้างความประทับใจ เช่นนิทานเรื่องเด็กเลี้ยงแกะ เมื่อได้ฟังก็จะทำให้เราไม่โกหกซึ่งเป็นนิทานที่ประทับใจ นิทานจะมีอิทธิพลต่อคนฟัง ซึ่งแต่ละคนจะมีนิทานอยู่ในใจไม่ว่าจะได้ยินจากใครในสมัยที่เป็นเด็ก สิ่งเหล่านี้เรานำมาปลูกฝังกับเด็กสมัยนี้ได้เช่นกัน โดยนำนิทานมาเล่าให้เด็กฟัง ให้เด็กมีนิทานที่ประทับใจ บางคนคิดว่านำหนังสือมาใช้กับเด็กเฉพาะตอนที่เด็กอยู่กับเราเท่านั้น เพื่อให้เด็กฟังนิทาน มีการเรียนรู้ เป็นคนช่างสังเกต แต่ลืมนึกไปว่านิทานที่ดีจะฝังอยู่ในใจของเด็ก
๒. นิทานจะสอนเรื่องอารมณ์ ถ้าเด็กได้อ่านหนังสือทุกๆวันจะทำให้เป็นคนอ่านหนังสือคล่อง อ่านหนังสือเก่งและเป็นคนรักการอ่าน เรื่องไม่อยากเป็นควาย ถ้าเราอ่านให้เด็กฟังจะเห็นว่าความสุขอยู่ไม่ไกลตัวเรามากนัก เด็กอาจจะฝังใจ ช่วงหนึ่งของชีวิตอาจจะได้ไปอยู่ไกลจากถิ่นฐานบ้านเกิด แต่เมื่อไม่มีความสุขนิทานเรื่องนี้อาจจะผุดขึ้นมาในความคิดก็ได้
๓. นิทานจะฟังในจิตใจสำนึก เด็กเกิดใหม่ส่วนมากจะให้แม่เลี้ยงจนเข้าโรงเรียน พ่อจะทำงานนอกบ้านและช่วยแม่เลี้ยงบ้างในบางโอกาส เช่น อาบน้ำ และกล่อมลูกนอน เพลงกล่อมลูกจะฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกเวลาที่เกิดปัญหาหรือความทุกข์ก็จะหวน ระลึกคิดถึงแม่ และสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวที่ให้กำลังใจให้สู้ต่อไปสมัยก่อนไม่มีนิทานให้ เด็กอ่านพ่อแม่จะถ่ายทอดเป็นเพลงหรือหมอลำ เมื่อมนุษย์คิดตัวอักษรได้ก็มีตัวหนังสือซึ่งตัวหนังสือจะทำให้คนแตกต่างจาก สัตว์ สัตว์ก็จะมีภาษาต่างหาก แต่จะไม่มีตัวหนังสือ ตัวหนังสือจะมีความหมายในตัว จากตัวอักษรจะสามารถสื่อภาษากันได้ ตัวอักษรจะทำให้มองเห็นภาพได้ เพราะฉะนั้น เวลาอ่านหนังสือให้เด็กฟัง ตอนแรกต้องมีภาพด้วย เมื่อมีภาพแล้วเด็กก็จะจินตนาการได้ การสร้างให้เด็กรู้จักอ่านหนังสือให้เด็กฟังตั้งแต่เล็กเป็นการกระตุ้นให้ เด็กคิด ให้เด็กได้จินตนาการจากตัวหนังสือ ซึ่งเป็นสิ่งที่ซับซ้อนกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว คนไทยสมัยก่อนจะไม่ค่อยอ่านหนังสือให้เด็กฟังต้องให้เด็กเรียนหนังสือก่อน ให้เด็กได้เรียน ก.ไก่ ข.ไข่ เมื่อเข้าโรงเรียนประถมและอ่านหนังสือได้ก็จะอ่านให้ย่า ยาย ฟัง เด็กเหล่านี้จะเก่ง แต่กว่าเด็กจะอ่านหนังสือได้นั้นอายุก็ ๗-๘ ขวบไปแล้ว ความจริงเด็กสามารถอ่านหนังสือได้ตั้งแต่ ๐ ขวบ ในต่างประเทศจะเริ่มอ่านหนังสือให้เด็กฟังตั้งแต่ ๐ ขวบ
วิวัฒนาการในส่วนนี้จะมีความสำคัญ มากต่อเด็ก เพราะการที่เด็กได้ฟังได้ถูกกระตุ้นสมอง สมองเด็กจะเติบโต ภายในสมองจะมีเส้นประสาทเป็นสายใยโยงถึงกัน ถ้าใยสมองถูกกระตุ้นมากเท่าไร ใยสมองจะขยายและเด็กก็จะฉลาด มีความรอบรู้ รู้จักคิด รู้จักจินตนาการ เมื่อโตขึ้นก็จะรู้จักคิดอะไรเองได้ซึ่งเมืองไทยยังทำน้อยมาก โดยที่ผ่านมาอาจจะยังไม่มีความรู้ด้านนี้ ถ้าเรารู้จักวิธีการสอนเด็กๆจะจำได้ทั้งหมด ถ้ากระตุ้นตั้งแต่เด็กจะทำให้เก่งมากกว่าไปสอนตอนโต