หนังสือเด็ก สร้างคน สร้างโลก
ประเทศฟิลิปปินส์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นประเทศที่เจริญน้อยกว่าญี่ปุ่นเท่านั้นในเอเชีย เป็นประเทศที่เจริญ เศรษฐกิจก็ดี การเมืองก็ดี มีประธานาธิบดีมีชื่อเสียงมากชื่อ รามอน แมกไซไซด์ และก็เป็นประเทศที่มีการศึกษาดีคนไทยยังไปเรียนที่ฟิลิปปินส์เลยสมัยก่อน แต่ทำไม 30 ปีมานี้ฟิลิปปินส์ถึงทรุดลงๆ และวันนี้รัฐบาลก็แทบจะไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนข้าราชการเลยที่เป็นแบบนี้เพราะว่าฟิลิปปินส์ถูกครอบงำด้วยคนบางกลุ่มทำให้เกิดการรวยกระจุก ความจนกระจาย ตั้งแต่ประธานธิบดี มากอส อยู่และประธานาธิบดีมากอสไป ก็ยังเกิดผลกระทบต่อเนื่องยาวนานทำให้คนฟิลิปปินส์จน และคนฟิลิปปินส์ก็ออกไปทำงานต่างประเทศ 8 ล้านคนทุกๆ ปี ส่งเงินเข้าประเทศปีละ 5 แสนล้านบาท
คนฟิลิปปินส์พูดภาษาอังกฤษได้และไปเป็นหมู่บ้านอยู่ที่ ฮ่องกง สิงคโปส์ ญี่ปุ่น เยอรมัน ยุโรป อเมริกา ไม่ได้มีเฉพาะหมู่บ้าน หมอก็มี พยาบาลคนเก่งๆออกไปหมดส่งเงินมา 5 แสนล้านก็ยังไม่พอ เพราะเอามาซื้ออยู่ซื้อกิน คนอีสานก็เข้าไปทำงานกรุงเทพฯ ต่างจังหวัดต่างภาคอย่างน้อย 5-6 ล้าน ส่งเงินกลับบ้านปีหนึ่งเป็นแสนล้านและทำไมคนอีสานจึงยังจนอยู่ยังเป็นหนี้เป็นสิน บ้านก็มีแต่ยายกับหลาน หลานก็ไปฝากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไว้ให้เลี้ยง เย็นก็ไปอยู่กับยายกับตา ทำไมเขาส่งเงินกลับบ้านเป็นแสนๆ ล้านเอาไปไหนหมด ก็เอาไปซื้ออยู่ซื้อกินแต่ไม่ได้เอามาพัฒนาท้องถิ่น สิ่งที่ต้องการพัฒนาท้องถิ่นคืออะไร ก็คือต้องการทุนทางปัญญา คนฟิลิปปินส์เก่งๆ ออกไปทำงานต่างประเทศหมด คนอีสานเก่งๆ ออกไปทำงานหมดสิ่งที่เขาจนไม่จนทรัพยากร ไม่ได้จนแรงงานหรือเงิน แต่จนปัญญา
เราต้องสร้างคนตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ตั้งแต่ตอนที่เกิดมา สร้างคนก่อนที่ไปถึงอนุบาลและตอนที่ไปอยู่อนุบาลก่อนที่จะไปอยู่ประถมฯ ต้องจัดการเรียนรู้เพื่อให้คนรักถิ่นไม่ใช่ให้คนทิ้งถิ่น ต้องจัดการเรียนรู้เพื่อให้คนรู้รากเหง้าและเกิดความภูมิใจจะทำอย่างนั้นได้อย่างไรถ้าเราไม่สนใจลูกตั้งแต่เล็กๆตั้งแต่เกิดมา
นี่คือการปูพื้นว่าทำไมเราต้องดูแลลูกหลานเราให้ดีกว่านี้ 50 ปีมานี้ สังคมทำให้เราช่วยตัวเองไม่เป็น พึ่งตนเองไม่ได้ ทำให้ไม่เชื่อมั่นในตนเอง ดูถูกตัวเอง ดูถูกภูมิปัญญาตัวเอง ดูถูกพ่อแม่ปู่ย่าตายายว่าจบแค่ ป.4 แต่เราจบตั้ง ม.3 ม.6 ปริญญาตรี เสร็จแล้วการศึกษายกให้ครูหมด สุขภาพยกให้หมอหมด ผลผลิตยกให้พ่อค้า ทรัพยากรยกให้ข้าราชการหมด จัดการไม่เป็นให้คนอื่นจัดการชีวิตเราหมดเลย วันนี้อยากให้ท้องถิ่นจัดการตนเอง แต่จะจัดการตนเองนั้นไม่เกี่ยวกับเทคนิค เทคนิคมาทีหลังเราต้องรู้ชีวิตก่อน
กรอบคิดที่สำคัญคือต้องเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ เพราะสังคมการเรียนรู้เท่านั้นคือสังคมที่เข้มแข็ง ชุมชนที่เข้มแข็งไม่ใช่ชุมชนที่มีทรัพยากรเยอะ ป่าเยอะ ดินเยอะ น้ำเยอะ อะไรเยอะ มันเคยเยอะแต่มันหมดเพราะไม่มีทุนทางปัญญา ถ้าเราไม่มีทุนทางปัญญาต่อให้มีทรัพยากรมากขนาดไหนก็หมด เหมือนกับประเทศไทย 40 ปี ตัดป่าไปกว่าล้านไร่ มันจะเหลืออะไร เพราะเราไม่ใช้ปัญญา ใช้เงินนำหน้าปัญญาตามหลังตลอด ถ้าเราตั้งหลักคิดให้ดีแล้วค่อยพูดหลักวิธีการปูพื้นการเรียนรู้การศึกษา การจัดการเรื่องเด็กต้องเริ่มต้นด้วยวิธีคิดที่ถูกต้อง เมื่อมีวิธีคิดแล้วเราต้องดูวิธีการ จะทำอย่าไรให้ลูกหลานเรียนสนุก อยากอยู่บ้านมีความสุขกับการเรียน มีพ่อแม่ที่ดูแลเอาใจใส่ มีนิทานเล่าให้ลูกหลานฟัง คนเฒ่าคนแก่ก็จะมีส่วนร่วม ทุกคนก็จะมีส่วนร่วมช่วยกัน นี่คือหลักคิดที่อยากให้ทุกคนเข้าใจร่วมกัน
สรุปปัญหาที่เจออยู่ปัจจุบันคือชุมชนส่วนใหญ่ก็เหลือแต่คนแก่และเด็ก จะทำที่จะดึงคนให้อยู่ในท้องถิ่นของเราและมีความรู้ที่จะพัฒนาตนเอง จัดการกับตนเองได้ เราไม่ได้จนแรงงาน ไม่ได้จนเงิน ไม่ได้จนทรัพยากร แต่จนปัญญาเพราะฉะนั้นจะต้องสร้างคนตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เมื่อเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาเราจะทำตัวอย่างไรต่อไป ตั้งแต่คิดที่จะมีครอบครัวเราจะต้องทำตัวอย่างไร ปูพื้นฐานอย่างไรให้กับตนเอง ปูพื้นฐานอะไรให้กับสมาชิกใหม่ของชุมชนด้วย
พญ. พรรณพิมล หล่อตระกูล
สืบเนื่องจาก ดร.เสรี เรื่องทุนทางปัญญา มีความเชื่อที่บอกว่าเด็กในชนบทจะโง่กว่าเด็กที่อยู่ในเมือง มีการศึกษาเด็กแรกเกิดทั่วโลกพบว่าเ มื่อเด็กกำเนิดจนถึงวันแรกเกิด เด็กไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนบนโลกมีความแตกต่างกันน้อยมาก แต่นับจากวินาทีที่เกิดถึง 6 ขวบจะมีความแตกต่างอย่างมากเพราะกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับเด็กอันเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวต่างกัน เด็กโง่จริงไหม การศึกษาทางการแพทย์เกี่ยวกับสมองเด็กพบว่า เด็กเกิดมามีความพร้อมทางการเรียนรู้ทุกอย่างเพียงแต่เมื่อตอนแรกเกิด
สมองที่ทำหน้าที่ของการดำรงชีวิตทำหน้าที่ก่อนเมื่อแรกเกิด สมองที่ทำหน้าที่ทางภาษา ความคิด จิตใจที่ดีงามเกิดมาพร้อมกับเขา มันเกิดมาพร้อมกันมีทุกสิ่งอย่างพร้อมสมบูรณ์แต่ในระหว่างการเติบโตของชีวิต 3 ขวบปีแรกสมองมีการพัฒนาเร็วมาก เกือบร้อยละ 60 ของพัฒนาการสมอง เรากำลังทำสิ่งที่เขามีให้มันค่อยๆ หายไป เราจะทำอย่างไรให้ทุนทางปัญญาของเขาให้เพิ่มพูนมากขึ้น อยากจะบอกว่าปัญญามี 2 ส่วน คือ ปัญญาภายนอกและปัญญาภายใน
เรากำลังสนใจปัญญาภายนอกมากเกินไป ช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมาเราพบว่าสมองไม่ได้ทำงานแยกส่วนทั้งหมด เป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นด้วยการค้นพบ โตพร้อมๆกันมีผลเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน มีผลวิจัยที่ประเทศอิสราเอล ศึกษาเด็กก่อนเข้าเรียน 2 กลุ่มคือ ปัญญาภายนอกเป็นปัญหาที่อยู่ภายใน ซึ่งลักษณะสำคัญสำหรับชีวิตจะค่อยๆ พัฒนาวิธีคิดที่อยู่ภายในจนถึงอนุบาล วัดกับที่ประถมศึกษาผลปรากฎว่า พวกปัญญาที่อยู่ภายในสอบตกทั้งชุดเลย พวกปัญญาภายนอกสอบผ่านทั้งหมดแต่พอติดตามไปเรื่อยๆ จนถึง ป.2 ถึง ป.3 พวกปัญญาภายนอกค่อยๆล้า เพราะเซลล์สมองใช้แค่นิดเดียวเพราะไม่ได้เปิดความคิดที่จะสร้างมีแต่รับอย่างเดียว แล้วก็จำ เรียนไปสักพักก็ไม่รอด ส่วนเด็กที่มีพัฒนาการจากด้านในมีพลังงานหล่อเลี้ยง อยากที่จะเรียนรู้ ใฝ่รู้พัฒนาตนเองไปเรื่อยๆ
ดร.เสรี พงศ์พิศ :
จากชีวิตจริงๆพ่อแม่มีลูก 14 คน นักศึกษาปริญญาโทถามพ่อผมว่า ทำไมจึงมีลูกเยอะจังเป็นเกษตรกรธรรมดา พ่อตอบว่าสมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าเลยนอนตั้งแต่หัวค่ำไม่มีอะไรทำก็เลยทำลูกเยอะ เวลาเล่านิทานที่ดีที่สุดคือก่อนนอนเด็กจะมีสมาธิ มันล้าสมัยแล้วที่คิดว่าเด็กเป็นดิน แล้วจะปั้นให้เป็นดาวเป็นผ้าขาวจะวาดให้สวยงามเป็นปรัชญาโบราณมาก ปรัชญาสมัยใหม่ต้องคิดว่าเด็กเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีศักยภาพ ขออย่างเดียวขอให้ ดินดี แดดดี น้ำดี ปุ๋ยดี มันจะโตเป็นต้นไม้ใหญ่และพึ่งตนเองได้ เราจะต้องสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับการเจริญเติบโตของเขา ทำอย่างไรถึงจะให้โอกาสกับเด็กๆของเรา นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลกคนหนึ่งที่ยังมีชีวิตอยู่ชื่อ สตีเฟน ฮอร์กกินส์ เขียนเรื่องประวัติศาสตร์โดยย่อของเวลา มีชื่อเสียงมากทั้งที่ตัวเขาเองเป็นคนพิการ เขาพูดว่าเด็กทุกคนมักมีคำถามกับสิ่งต่างๆที่พบเห็นอยู่รอบตัวแต่เมื่อพวก เขาเติบโตขึ้นกลับถูกสั่งสอนว่าคำถามพวกนี้เป็นคำถามที่โง่เขลาหรือไม่ก็ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน
การศึกษาบ้านเรามีแต่โรงสอนสอนให้คนตอบมากกว่าถาม จำมากกว่าคิด ถ้าสอนให้คนถามเป็น เขาจะได้คำตอบที่มีรูปแบบใหม่เสมอ เราต้องสร้างบรรยากาศที่ให้เด็กตั้งคำถามเป็น อย่าบังคับให้เขาเป็นไปอย่างที่เราอยากให้เป็น หนังสือชื่อว่า “โลกของโซฟี” บอกว่าคนเรามีคำถามเกี่ยวกับชีวิตมากมายและเบื่อหน่ายกับสังคมที่มีแต่คำตอบ ที่สำเร็จรูปเป็นอะไรที่เหมือนสินค้าสำเร็จรูปจากโรงงาน เหมือนอาหารจานด่วนเป็นอะไรที่คล้ายกันคือขยะมากกว่าอะไรที่ให้คุณค่ากับ ชีวิต ลอร์ดโบรอนพูดว่า อ่านหนังสือทำคนให้เป็นคน สิ่งสำคัญสำหรับเด็กก็คือการสร้างจินตนาการ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ บอกว่าจินตนาการสำคัญกว่าความรู้ ถ้าคนมีความฝันและจินตนาการก็สามารถที่จะสร้างโลกใหม่ได้ทุกเวลา
พญ. พรรณพิมล หล่อตระกูล:
นิทาน เรื่องเล่าและกิจกรรม เกิดขึ้นได้ไม่ยากเลยถ้าเข้าไปดูจะเห็นว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว เรื่องง่ายๆสามารถที่จะพัฒนาเด็กในช่วงวัยที่มีความสามารถของช่วงชีวิตช่วงหลังจากนี้ไม่ใช่ว่าจะไม่สำคัญ จริงๆแล้วมันมีความสำคัญต่อเนื่องของชีวิตทั้งหมด แต่ว่าถ้าฐานดีจะเป็นเหมือนขนมชั้น ถ้าชั้นล่างเละชั้นบนดียังไงก็เละ คงไปผสมกันดูยังไงก็ดูไม่ออกว่าอะไรเป็นอะไร การลงทุนในช่วงวัยเด็กเล็กจะเป็นการลงทุนที่มีคุณค่าอย่างมาก แต่นักจัดการต้องคิดเผื่อด้วยว่าจากเด็กเล็กไปเป็นเด็กโตจะทำยังไงต่อไปด้วย เชื่อว่าทุกคนที่มาอยู่ในที่นี้มีวิญญาณที่จะเชื่อมต่อพื้นที่การเรียนรู้ไปสู่เด็ก เชื่อมเด็กมาสู่กระบวนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ (คุณหมอพรรณพิมล) ได้ให้แนวทางไว้ 2 ข้อคือ
1.ช่วยกันจัดพื้นที่ของการเรียนรู้
2.ผู้ที่มีจิตวิญญาณที่จะเชื่อมต่อระหว่างเด็กกับสื่อแห่งการเรียนรู้หรือเด็กกับพื้นที่ของการเรียนรู้
ดร. เสรี พงศ์พิศ :
ทำอย่างไรจะให้ลูกหลานเรียนอย่างมีความสุข อย่างน้อยก็ตอนเด็ก สิ่งที่เราจะช่วยได้อย่างมากก็คือนิทาน ซึ่งเราก็คิดว่าเป็นเรื่องของคนที่มีเวลาว่าง แต่ไม่ใช่มันเป็นเรื่องที่ทุกคนที่มีลูกควรจะเล่าให้ลูกฟัง เป็นเพราะว่านิทานเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก มีความสำคัญขนาดไหน นิทานทำให้คนก้าวข้ามพรมแดนแห่งชีวิตซึ่งเติมไปด้วยข้อจำกัดตามธรรมชาติของ มนุษย์ ซึ่งเป็นผู้ที่อ่อนไหวบอบบางทางร่างกายและจิตใจ ข้อจำกัดทางสังคมที่ตนเองได้สร้างขึ้นมาเป็นกฏเกณฑ์ระเบียบต่างๆทางความคิด ทางวัฒนธรรม มีแต่ข้อจำกัด คนมีอำนาจมากกว่าเอาเปรียบคนมีอำนาจน้อยกว่า คนแข็งแรงกดขี่คนอ่อนแอ สร้างกรอบและกรงเอาไว้กักขังผู้คนให้อยู่ในใต้อาณัติของตน
นิทานทำให้คนก้าวข้ามเขตแดนและข้อจำกัดนี้ โบยบินออกไปสู่เสรีไปยังอีกโลกที่ไร้พรมแดน ไร้ข้อจำกัด ที่นี่ไม่มีความทุกข์ทรมาน ไม่มีความเจ็บปวด ไม่มีความหิวโหย ไม่มีน้ำตา ไม่มีความเจ็บป่วย และไม่มีความตาย เป็นโลกแห่งความถูกต้องและเป็นธรรม ความดีและความงาม โลกที่ความดีไม่มีวันแพ้ความเลว ความบริสุทธิ์และถูกต้องไม่มีวันถูกป้ายสีให้เป็นความมัวหมองและความผิด ที่สุดความดีที่ได้รับการตอบแทนที่ดี ความซื่อสัตย์สุจริตความอ่อนน้อมถ่อมตน ความขยันขันแข็งความเมตตาปราณีต่อผู้อื่นต่อสัตว์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ย่อมได้รับการตอบแทนเป็นร้อยเท่าพันทวี ในขณะที่คนไม่ดี คนใจร้าย คนขี้โกง คนเอาเปรียบผู้อื่น คนขี้เกียจ คนเหล่านี้ย่อมได้รับผลกรรมของตนเองในท้ายที่สุด นิทานทั้งหลายแทบทุกวัฒนธรรมล้วนยืนยันว่ากฎแห่งกรรมนั้นมีจริง
นิทานต่างๆ สร้างความหวังให้ผู้คนว่าชีวิตจะไม่เลวร้ายเช่นนี้ตลอดไป ชีวิตที่เลวร้ายเหมือนถูกสาปอาจจะได้ดีเหมือนเจ้าชายกบ ชีวิตที่อาภัพอับจนจะโชคดีเหมือนซิลเดอเรอล่า ปัญหาอุปสรรควันนี้จะหมดไป ทางตันวันนี้จะมีทางออกในวันหน้า นิทานเป็นเรื่องราวผจญภัย นิทานนำคนออกไปนอกโลกที่น่าเบื่อหน่าย จำเจ ไปสู่โลกที่สนุกสนานและตื่นเต้น มีอะไรใหม่ๆ คาดไม่ถึง พบเห็นผู้คน พืช สัตว์ สิ่งมีชีวิตในจินตนาการที่พูดได้ สื่อสารกับคนได้ ได้ร่วมเหตุการณ์อันระทึกใจ นิทานเป็นอะไรได้มากกว่าตัวหนังสือที่บรรยายเรื่องราวต่างๆ ประเภทภาพนิ่ง นิทานเป็นเครื่องมือเป็นพาหนะที่นำเราไปสู่อีกโลกหนึ่ง เป็นความจริงแบบหนึ่งที่เราสร้างขึ้นมาโดยอาศัยข้อมูลจากนิทานที่เราอ่าน เป็นคนละโลกกับโลก ตามตัวหนังสือของนิทานนั้นเป็นโลกแห่งความฝันและจินตนาการที่เราสร้างขึ้นมาเอง นี่คือความยิ่งใหญ่ของนิทาน ทำอย่างไรเราจะสร้างโลกใบนี้ให้กับลูกของเรา โลกที่ไม่มีขอบเขต โลกที่ไม่มีขอบจำกัด โลกที่ต่างออกไปจากโลกที่เจ็บปวด มีแต่ความทุกข์ อย่างที่เราทนอยู่ทุกวันนี้ เราทำได้และตัวนี้จะสร้างอารมณ์ ความรู้สึก สร้างความสมดุลให้กับลูกของเรา เด็กๆ มีวิญญาณที่บริสุทธิ์และละเอียดอ่อน เด็กๆ มีอะไรที่ดีๆ แต่ผู้ใหญ่สั่งสมความรุนแรงให้กับตัวเอง เด็กมีวิญญาณที่อ่อนหวาน สดใส ทุกวันนี้เด็กดูฉากในทีวีที่มีความรุนแรงปีละ 1,250 ครั้ง พ่อแม่ต้องช่วยลูกในการแยกแยะสิ่งต่างๆ เหล่านี้ สิ่งที่เราควรจะมีให้ลูกมากที่สุดคือทำให้เขามีจินตนาการ ให้เขาแสวงหาความรู้ด้วยตัวของเขาเอง เขาจะได้มีพลังทางปัญญาและพึ่งพาตนเองได้